การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทุนทางสังคม


การจัดการสิ่งแวดล้อม

กว่าสองทศวรรษที่โลกได้เผชิญกับวิกฤติการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง มาตรการต่างๆที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาส่วนใหญ่จะละเลยมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผ่านขาดความยั่งยืน ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง ทุนทางสังคม” (Social Capital) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลักษณะของความร่วมมือร่วมใจ และความเอื้ออาทรต่อกันของคน มาใช้เป็นมาตรการในการจัดการกับปัญหาต่างๆของสิ่งแวดล้อม การศึกษาได้เสนอ แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และแนวคิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้นำเสนอองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน

กว่าสองทศวรรษที่โลกได้เผชิญกับวิกฤติการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกส่วนของสังคมโลกได้พยายามหาแนวคิดแนวทางต่างๆมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่แนวคิด และมาตรการต่างๆที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในมิติทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสำคัญ ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ยังไม่ประสบความสำเร็จแบบยั่งยืน จากปรากฏการณ์ทำให้ทราบว่า วิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และสถานการณ์ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นภาวะที่คุกคามสันติสุขและการดำเนินวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับโลก ระดับประเทศ หรือแม้แต่สังคมระดับท้องถิ่น อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เน้นมิติทางด้านเศรษฐกิจ และการเมืองมากจนเกินไป โดยละเลยมิติทางด้านสังคมวัฒนธรรม น่าจะเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ให้ความสำคัญแก่แนวคิดและแนวทางที่เป็นมิติทางสังคมและวัฒนธรรม โดยได้พิจารณานำแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง “ทุนทางสังคม” (Social Capital) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่ทุกๆสังคมมีอยู่มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและจัดการกับสิ่งแวดล้อม และมีความเชื่อมั่นว่า การได้นำเอาพลังที่เกิดจากทุนทางสังคมมาใช้เป็นมาตรการในการจัดการกับปัญหาต่างๆของสิ่งแวดล้อม จะช่วยเสริมมาตรการเดิมที่เน้นมิติทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองให้มีพลัง และมีประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากยิ่งขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/file/teppalit

หมายเลขบันทึก: 85531เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2016 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท