คิดไป เล่าไป เรื่อง บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


การเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่จบมาเพื่อเป็นบัณฑิตอาสา จึงเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า อย่างยิ่งในการช่วยเหลือสังคม เรียนรู้จากชุมชนนอกเหนือจากตำราเรียน ซึมซับวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น และภูมิปัญญาชุมชน

             เมื่อวันที่ 15  มีนาคม  2550 ช่วงบ่าย    อาตมารับนิมนต์ไป  เป็นพระวิทยากร  บรรยาย ประสบการณ์การเป็นอาสาสมัคร  ให้กับผู้ที่จะไปเป็นบัณฑิตอาสารุ่นที่ 3  จำนวน 27  คน(หญิง 18  ชาย 9 )  ที่ศูนย์ประชุม  สนามกีฬาพรุค้างคาว  ต.บ้านพรุ  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา  โดยมีวิทยากร ร่วมอีก 2 ท่าน คือ อ.จรินทร์ บุญมัธยะ  และคุณโยม สุภาพสตรี อีกท่านชื่อ คุณดุษฎี

         อาตมามีความตั้งใจอยากเล่าเรื่องนี้ เพื่อให้ข้อมูลแก่คุณโยมที่เป็นสมาชิก ประชาสังคมชุมพร  ในการให้ความร่วมที่จะรับอาสาสมัครมาร่วมงาน 1 ปี ในกิจกรรมที่เป็นการร่วมพัฒนาสังคม อาตมาอ่านในเอกสาร และนั่งฟังการบรรยายแนะนำในช่วงเช้า ตอนเปิดงานของ ศ.นพ.วีระศักดิ์  จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ในกรอบ วัตถุประสงค์ของโครงการอาสาสมัครว่า เป็นการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต     พัฒนาคุณภาพของประชาชนในชุมชน  และเชื่อม โยงโจทย์วิจัยจากชุมชนกับนักวิชาการ

           พื้นที่ที่อาสาสมัครจะลงทำงานครอบคลุมทั่วภาคใต้  และได้แบ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาเป็น 3 โซน เป็นใต้ตอนบน  ตอนกลาง และตอนล่าง  เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะนี้ จึงสร้างความกังวลให้กับผู้รับผิดชอบของโครงการ และมีพื้นที่ทำงานบางแห่งเลื่อนการตอบรับ การรับอาสาสมัคร เพราะเหตุผลว่า เกรงว่าอาสาสมัครไปทำงานแล้วจะไม่ปลอดภัย แม้ว่าอาสาสมัครทั้ง 27 คน เป็นมุสลิม 24 คน และเป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดเป็นส่วนใหญ่  ส่วนหนึ่งทำงานประสานกับโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่  และบางส่วนพำนักอยู่กับครอบครัวชาวบ้านในหมู่บ้าน

           ในช่วงของการบรรยายแลกเปลี่ยน ทั้งบ่าย และช่วงค่ำ และมีการตั้งคำถาม อาตมาได้เปรียบเทียบการเข้าไปทำงานในพื้นที่ในช่วงที่พื้นที่ทำงานในภาคอีสาน ในขณะที่เป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (รุ่นที่ 1) ในพื้นที่ขณะนั้นก็มีความขัดแย้ง และมีอุปสรรคในเรื่องความเป็นอยู่  ความสะดวกสบายอีกหลายอย่าง การติดต่อทางโทรศัพท์ ก็ยาก ต่างกับทุกวันนี้อาสาสมัครเกือบทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือ ความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และทักษะ ความสามารถในการทำงาน ที่จะได้จากการอบรม จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง 

         อาตมาเกิดและเติบโตในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้  บ้านเดิมอยู่ที่อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา  มีเพื่อนเป็นมุสลิมที่สนิทกันหลายคน หลายคนทำงานเพื่อการพัฒนาสังคมชุมชน เพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีสันติสุข ในโอกาสมาพบกับบัณฑิตอาสาซึ่งเป็นมุสลิมเสียส่วนใหญ่ทั้งอาสาสมัครปัจจุบัน และรุ่นพี่ที่มาทำหน้าที่พี่เลี้ยง ต่างก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และแสดงเจตจำนงร่วมกันว่าอยากให้เกิดความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทุกคนต้องมีความเสียสละ ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะต้องร่วมมือกัน

       การเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่จบมาเพื่อเป็นบัณฑิตอาสา จึงเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า อย่างยิ่งในการช่วยเหลือสังคม เรียนรู้จากชุมชนนอกเหนือจากตำราเรียน ซึมซับวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น และภูมิปัญญาชุมชน บทเรียนจากบัณฑิตอาสาสมัครของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยอาจารย์จรินทร์ บุญมัทยะ   เป็นผู้นำมาเสนอ และ มูลนิธิสาสมัครเพื่อสังคม  โดยอาตมาเป็นผู้นำมาเสนอล้วนเป็นช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตที่เป็นความภาคภูมิใจ  เราได้เพื่อนที่ดี  ได้ทักษะความสามารถที่ก่อประโยชน์  ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ต่อการดำเนินชีวิต   ให้มีจิตอาสา อาตามจึงเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เป็นข้อมูลและขอความร่วมมือจากประชาสังคมชุมพร หรือผู้สนใจทั้งหลายให้ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมโครงการบัณฑิตอาสานี้ด้วย  ขอเจริญพร

 ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โครงการบัณฑิต มอ.    สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้  (วพส.)ชั้น 6 อาคารบริหาร คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาสงขลานครินทร์  อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110  โทรผู้ประสานงาน คุณวัลภา ฐาน์กาญจน์  081-7382203
หมายเลขบันทึก: 85228เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นมัสการท่านอาจารย์ครับ

  • ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า ความแตกต่างทางศาสนาไม่ใช่อุปสรรค
  • บอ.มอ. รุ่นก่อนๆ มีทั้ง อิสลาม พุทธ และคริสต์ แต่ผมเห็นเขาก็กลมกลืนกัน ช่วยเหลือกันดีนะครับ
  •  ผมเขียนถึงน้องๆเขา ที่นี่ เรียนเชิญท่านอาจารย์ช่วยเข้าไปแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
  • โครงการบัณฑิตอาสาเป็นโครงการที่รัฐควรสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น เพราะการหล่อหลอมให้คนจบปริญญามีประสบการณ์การทำงานในสนามจริงๆนั้นมีคุณค่ามาก
  • แม้ว่าเขาจบแล้วจะไปประกอบอาชีพอื่นก็ตาม ประสบการณ์ติดตัวเขาไปจนตาย
  • กราบนมัสการพระคุณเจ้า
  • ผมชอบโครงการนี้เหมือนกัน ตอนนั้น อ.จาก มธ. มาแนะนำ ผมชอบมาก แต่เราไปไม่ได้ครับ ต้องทำงานสอนต่อไปครับ
  • แต่ทำงานสอน ก็ออกพื้นที่ได้ครับ ช่วยในสายด้านอื่นครับ
  • กราบขอบพระคุณมากๆ นะครับ

 

พระอาจารย์พูลไท

         เมื่อปีที่ผ่านมา ...ผมได้มีโอกาสช่วยเหลือให้น้องบัณฑิต มอ. รุ่นที่  2    มาเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตที่บ้านผมสองคน โดยให้เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนผ่านกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ( การเลี้ยงหมูและเลี้ยงปลา) และกลุ่มอนุรักษ์พันธืพืชบ้านสระขาว  จัดการเรียนการสอน  หลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

         น้อง  ๆ  สอง ( พัช  เหลียว   ) คิดว่าคงได้เรียนรู้อะไรจากการอยู่ร่วมกับชุมชนตลอด  ปีครึ่งพอสมควร..... และในปีนี้  รุ่นนี้จากที่ได้พูดคุยกับน้องผู้ประสานงานภาคใต้โซนบน  เห็นว่ากำลังมองหาพื้นที่ในเขตชุมพรอยู่เหมือนกัน  .... อย่างไรเสียคงที่จะได้ร่วมกิจกรรมกับพี่น้องข่ายประชาสังคมชุมพร  .....หากใครสนใจก็อาจติดต่อผ่านเบอร์ที่พระอาจารย์ให้ไว้ก็ได้   หรือประสานตรงเลยก็ได้

    ทวีวัตร

พระอาจารย์พูลไท

กราบขอบคุณท่านที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับ บอ.มอ. น้อง ๆ บอ.มอ. อยากคุยกับท่านอีกเยอะค่ะ...โดยเฉพาะ น้อง ๆ บอ.มอ. ที่มาจาก สาม จังหวัด ได้เรียนวัฒนธรรมของชาวพุทธที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน..

ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าเมล็ดพันธุ์นี้ จะไปงอกที่ชุมชนอย่างไร...

 

นมัสการครับ

ม.จิตอาสา น่าจะสามารถทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายกับ บัณฑิตอาสาได้นะครับ

 

ขอบพระคุณครับ

 

ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย มหา'ลัยจิตอาสาแห่งแรกของประเทศไทย!!


ขอเชิญชวนพี่น้องบัณฑิตอาสาสมัคร 

และกัลยาณมิตร มาร่วมกันก่อตั้งม.จิตอาสา

ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะขยายวงงานจิตอาสาให้เต็มแผ่นดินไท 

ใช้ฐานประสบการณ์ องค์ความรู้ที่ได้จากบอ. มาต่อยอดพัฒนา เป็นมหา'ลัย จิตอาสาครับ 



ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย 

มหา'ลัยจิตอาสาแห่งแรกของประเทศไทย!! 

http://www.moralproject.com/allnetwork/home/space.php?uid=12&do=blog&id=31

เรามาร่วมกันพลิกฟื้นแผ่นดินนี้ด้วยศาสตร์ของพระราชาเถิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท