การเรียนรู้แบบทวิภาคี


การศึกษาหมาหางด้วน

           อาทิตย์ที่ผ่านมา  ได้ดูทีวีช่องหนึ่งเขาได้นำเสนอรูปแบบการศึกษาที่กำลังอยู่ระหว่างการทดลองนำร่องอยู่ในเมืองไทย คือ  การเรียนรู้แบบทวิภาคี  ซึ่งมีรูปแบบคือการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน  ซึ่งจัดโดยศูนย์การศึกษาปัญญาภิวัฒน์  ( ของ เซเว่น) ได้เปิดเมื่อ  2549ที่ผ่านมา  โดยผู้เรียนไม่เสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด  ซำยังได้ทำงานไปควบคู่กับการเรียนไปด้วย  ในส่วนของรูปแบบนั้น  ในรอบหนึ่งปี .... จะมีการเรียนในภาคทฤษฎี  2.5  เดือน ถ่ายทอดผ่านทางสื่อโทรทัศน์ระบบอินฟาเรนพร้อมกันทุกศูนย์ทั้งประเทศ  ผู้เรียนสามารถซักถามกับครูผู้สอนได้   ในส่วนภาคปฏิบัติ  3  เดือน  นั้นจะปฏิบัติการจริงที่ร้านเซเว่น โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย  สำหรับรายวิชาที่เปิดสอนได้แก่  คือ วิชาการตลาด  ด้านธุรกิจการค้าปลีก  นอกจากนี้ยังมีระบบการนิเทศและติดตามของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ ฯ  เป็นระยะ  ... ทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  ที่สำคัญก็คือ     ผู้เรียนได้เรียนอยู่สภาพความเป็นจริง  ใช้ได้จริง  ไม่ใช่การท่องจำเพื่อให้สอบได้หรือสอบผ่าน .......  แต่นี่คือการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ    จนผู้เรียนเกิดเป็นทักษะความรู้ที่อยู่ติดกับตัวตน   .... ซึ่งระบบการศึกษาแบบนี้การศึกษานอกโรงเรียน  หรือ แม้นกระทั่งการศึกษในระบบ  ควรที่เบิ่งตาดูแล้วนำไปประยุกต์ปรับใช้ในการจัดการศึกษา ณ วันนี้  .... เพื่อจะได้ผลิตคน  ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ  ออกมาป้อนตลาดทางสังคม    ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ  ความรู้ควบคู่คุณธรรม

              เมื่อเปรียนเทียบกับ ระบบการศึกษาในปัจจุบันแล้วนั้น  หลายฝ่ายพยายามมุ่งเน้นให้เด็กต้องเก่ง  สามารถสอบได้ ( ด้วยการท่องจำ ) ค่าคะแนนที่ดี ๆ    ... แต่ไม่ได้เน้นการคิดวิเคราะห์ได้... คุณธรรมศีลธรรมก็เกือบจะไม่หลงเหลืออยู่  คงจะไม่ผิดนักหารจะเรียนว่า   การศึกษาหมาหางด้วน  ดั้งที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้

           ฉะนั้นรัฐ หรือ กระทรวงศึกษาควรที่จะเร่งสรุปบทเรียนลักษณะการดำเนินอย่างนี้  แล้วเผยแพร่ให้สังคมนี้ได้รับรู้  ... พร้อม ควรสร้างความตระหนักต่อบุคลากรผู้จัดการ  การศึกษาของไทย  ให้    เป็น เรือจ้างที่ขนส่งผู้โดยสารข้ามฝั่งไปด้วยปลอดภัยอย่างมีคุณภาพ  และ  การปฏิรูประบบการศึกษาอย่างจริง ๆ จัง ๆ  ให้เข้าถึงแก่น  มิใช่ เปลือก อย่างปัจจุบัน....

           

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 85000เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
การเรียนอย่างที่ว่านี้ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2542  โดยได้ต้นแบบจากเยอรมัน  ผมก็เคยไปศึกษาดูงาน เมื่อปี 43  ผลปรากฏว่าของเราฐานยังไม่ปูให้แน่น ฝ่ายเอกชนเขาทำได้ดีหลายแห่งนะครับ โรงแรมดุสิตธานี โตโยต้า  เป็นต้น

    ขอบคุณคุณวรรชัย .... ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม  เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ  ซึ่งจะมีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของไทย  และจะเป็นช่องทางหนึ่งที่พัฒนาไปสู่การศึกษาทางเลือก  ...

          ทวีวัตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท