KM Together


KM ในรายวิชาการผลิตผัก อ.อัตถ์ อัจฉริยมนตรี

                การจัดการความรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือ หรือวิธีการเพิ่มมูลค่าหรือคุณค่าของกิจการในองค์กร กลุ่ม หรือเครือข่ายของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ การจัดการความรู้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การนำ ความรู้ มา จัดการ แต่มีความหมายที่จำเพาะเจาะจงมาก โดยการจัดการความรู้ประกอบด้วยกิจกรรมและกระบวนการต่างๆ เช่น การขุดค้นและรวบรวมความรู้ คัดเลือกเอาไว้เฉพาะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ ทั้งจากภายในองค์กรและจากภายนอกองค์กร นำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมกับบริบทของสังคม หากไม่เหมาะสมต้องดำเนินการปรับปรุง รวมถึงการจัดหมวดหมู่ของความรู้ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน การจัดเก็บความรู้เพื่อให้ค้นหาได้ง่าย ตลอดจนสามารถสื่อสาร สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และยกระดับความรู้ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้น

จากการสรรค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนางานด้านการจัดองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในรายวิชาต่าง ๆ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในการเรียนการสอนของอาจารย์นั้น จำเป็นต้องผนวกแผนการดำเนินการจัดองค์ความรู้ ซึ่งวิธีการที่สร้างขึ้นนั้นอาจแตกต่างกันตามเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนในอาจารย์แต่ละท่าน ในการเริ่มต้นสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สนับสนุนการสร้างสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังต้องผลักดันให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรูอย่างสม่ำเสมอ และจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรูในด้านต่างๆ เพื่อนํามาประยุกตใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนไดอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณรวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรูความสามารถ สร้างวิสัยทัศนและปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในคณะฯ ใหเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีสังคมแห่งการเรียนรูร่วมกัน การนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ของงานตามที่คาดหวังอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงไดกําหนดแนวทางการดําเนินงานพัฒนาระบบการจัดการความรูให้เกิดขึ้นกับคณะเทคโนโลยีการเกษตรอย่างเป็นลําดับไวดังนี้

 ·       ในปงบประมาณ พ.. 2549 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้เริ่มต้นเรียนรูเกี่ยวกับการจัดการความรู้ร่วมกัน

·       จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในงานด้านการจัดการความรู้ และร่วมกันกำหนดเกณฑ์การประเมินตนเองภายในคณะเทคโนโลยีการเกษตร

·       พัฒนาเกณฑ์การประเมินตนเองภายในคณะเทคโนโลยีการเกษตรในหัวข้อ การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนทั้งหมด 7 องค์ประกอบ รวมถึงการอธิบายความสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับทั้งหมด 5 ระดับ

·       การเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีส่วนร่วมกับอาจารย์ในแต่ละคณะ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวมถึงการช่วยเหลือกันพัฒนางานด้านการจัดการความรู้ของแต่ละคณะ ถือว่าเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

·       การจัดการความรู้สู่รายวิชา ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระ และข้อมูลในแต่ละรายวิชาที่อาจารย์ได้รับผิดชอบงานสอน ตลอดจนนำไปสู่ แผนการปฏิบัติงาน (passion plan) 

อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ ควรเริ่มจากปณิธานความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นในสมาชิกขององค์กรที่ทำงานร่วมกันใช้การดำเนินการจัดการความรู้ ด้วยวิธีการและยุทธศาสตร์ที่หลากหลาย การนำหลักและวิธีการจัดการความรู้มาใช้ในระบบการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา และจัดระบบองค์ความรู้ในแต่ละรายวิชา ซึ่งได้นำการจัดการความรู้มาใช้ในรายวิชาการผลิตผัก รหัสวิชา 5032201 เพื่อพัฒนาการจัดระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป

 
คำสำคัญ (Tags): #km together
หมายเลขบันทึก: 84942เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์อัตต์  เข้าใจทำKMให้เป็นMK(น่าสนใจและอยากทาน) การจัดการความรู้เป้าหมายอยู่ที่งานจะทำให้งานเป็นเรื่องที่ทำแล้วสนุกและอยากทำอยู่เสมอโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ...แล้วอาจารย์นำมาให้ดูอีกนะ จากเครือข่ายในเมืองหลวง

              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท