โรคติ๊ค


โรคติ๊ค

<p> โรคติ๊ค</p>ฟังชื่อโรคนี้แล้วอาจจะนึกในใจว่า  มีโรคประหลาดเกิดขึ้นใหม่หรือนี่ชื่อ TIC  ภาษาไทยอ่านว่า ติ๊ค ”  ดิฉันเคยเห็นพ่อแม่หลายคนทำหน้าฉงนแกมขำเมื่อดิฉันบอกว่า  ลูกเป็นติ๊ค  แล้วต่างก็ถามดิฉันซ้ำสองว่า  “ โรคอะไรนะ? ”  และ  “ มีโรคนี้ด้วยหรือ? ”TIC  คืออะไร          TIC  เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก  ประมาณกันว่าร้อยละ  2  ของเด็กทั่วไปจะเป็นโรคนี้โดยเฉพาะวัย  7-11 ขวบ  จะพบบ่อยที่สุดเด็กชายจะเป็นมากกว่าเด็กหญิง  และเด็กในเมืองจะเป็นมากกว่าเด็กในชนบท  ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความเครียดมากกว่า  อาการที่เป็นก็คือ  มีกล้ามเนื้อกระตุกเป็นพักๆ  กล้ามเนื้อที่กระตุกนี้  จะเป็นที่ใดก็ได้  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกล้มามเนื้อเล็กๆ  เช่นกล้ามเนื้อที่ตา  ที่มุมปาก  และต้นคอ  ทำให้เกิดเป็นอาการตาขยิบ  มุมปากกระตุก  หรือคอกระตุก  บางทีการกระตุกเกิดกับกล้ามเนื้อใหญ่หลายๆ มัดพร้อมกัน  เช่นที่แขน  ที่สะโพก  ทำให้เกิดอาการเหมือนแขนกระตุก  หรือสะบัดโดยแรง  และอาการยักไหล่  เป็นต้น  บางครั้ง TIC  อาจมาในรูปกิริยาแปลกๆ  เช่น  อาการจมูกฟุดฟิด  สูดจมูก  สูดปาก  กระแอม  ไอ  รวมทั้งส่งเสียงประหลาด  เช่น  เห่า  เป็นต้น        อันที่จริง  อาการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายนั้นมีหลายแบบ  แต่การเคลื่อนไหวแบบที่เป็น TIC นั้น  แตกต่างจากความผิดปกติแบบอื่นๆ  คือ จะเป็นการกระตุกอย่างรวดเร็ว  (กินเวลาไม่กี่วินาที)  ของกล้ามเนื้อและเป็นแบบเดียวซ้ำๆ  กัน  วันหนึ่งจะเป็นได้หลายครั้ง  จนอาจจะถึงร้อยครั้งก็ได้  ถ้าเป็นตาขยิบ  ปัญหาก็ไม่มากเท่าไร  แต่ถ้ากล้ามเนื้อใหญ่กระตุกละก็  ทั้งคนเป็นและใกล้เคียงคนที่มองเห็นอาการดังกล่าว  ก็อาจเหนือยไปตามๆ  กันTIC  เกิดจากอะไร         ทางการแพทย์เชื่อว่า  TIC  เกิดจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน  ทั้งพันธุกรรม  ชีวภาพและจิตใจรวมๆ กัน  ทำให้กล้ามเนื้อมีความ  “ไว ”  เป็นพิเศษ  และกล้ามเนื้อกระตุกได้ง่าย  ปัจจัยทางจิตใจนั้นสำคัญมาก  เพราะอาการมันเริ่มพร้อมๆ กับที่มีความตึงเครียดเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของเด็ก  บางครั้งพ่อแม่ก็ก่อให้เกิดความตึงเครียดโดยไม่รู้ตัว  โดยการดุลูก  ห้ามลูก  ตำหนิลูก  เช่นบอกว่า  “ อย่าทำอีกนะ ”  “ อ้าว  ขยิบตาอีกแล้ว เป็นต้น  ทำให้เด็กยิ่งเครียด  อาการก็ยังเป็นมากขึ้นเกิดเป็นวงจรที่ไม่รู้จบTIC  จะเป็นอยู่นานไหม         TIC  มักเป็นมากในช่วงที่เด็กเครียด  เช่น  เวลาท่องหนังสือ  ทำการบ้าน  หรือเวลาที่พ่อแม่คอยนั่งสังเกตลูกว่า  จะเป็นอีกหรือเปล่า  ลูกก็จะยิ่งมีอาการกระตุกมากขึ้น  เวลาที่เด็กเพลิดเพลินเช่นดูทีวี  อ่านการ์ตูน  อาการจะลดลง  และเวลาหลับ  อาจจะไม่มีอาการกระตุกเลย         อาการ  TIC  มักจะเป็นๆ  หายๆ  เด็กบางคนอาจจะเป็นอยู่  2-3 สัปดาห์  หรือ  2-3 เดือน  แล้วหายไป  ไม่เป็นอีกเลย  แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการกลับมาใหม่  สักระยะหนึ่งแล้วก็หายไปอีก  บางคนเป็นเฉพาะช่วงเครียด  เช่น  เป็นทุกครั้งที่สอบประจำภาค  แล้วพอสอบเสร็จอาการก็หายไป  เป็นต้น  เด็กบางคนเป็น  TIC  นานเป็นปีๆ  บางรายอาจมีอาการรุนแรงขึ้น  เช่น  มีกล้ามเนื้อกระตุกหลายมัด  และหลายที่  อย่างไรก็ตาม  กรณีส่วนใหญ่อาการมักดีขึ้นเมื่อโตขึ้น         เรื่องการใช้ยานี้  มีพ่อแม่บางคนตั้งคำถามว่าจำเป็นหรือไม่  หรือไม่ก็สงสัยว่า  เหตุใดหมอจึงไม่จ่ายยาให้เหมือนกรณีเด็กอื่น  ขอตอบว่า  เรื่องนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการและตัวเด็กเองด้วย         เด็กที่เป็น  TIC  โดยเฉพาะถ้าเป็นรุนแรงมักจะถูกเพื่อนล้อ  เกิดความอาย  เกิดปัญหาไม่กล้าเข้าสังคม  มีอารมณ์ซึมเศร้า  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  ดังนั้น  โรค TIC  นี้ไม่ใช่ปัญหาที่ง่ายเท่าไร   ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบแพทย์  เพื่อตรวจดูว่าเป็นอาการผิดปกติแบบ  TIC  แน่หรือไม่  และควรจะรักษาด้วยวิธีใด  เด็กบางคนเป็ฯน้อย  เพียงแต่ช่วยลดความเครียดในสภาพแวดล้อม  และไม่คอยดุ  คอยจับตามองเด็ก  อาการก็จะดีขึ้น  แต่บางคนอาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อช่วยให้อาการกระตุกน้อยลงพ่อแม่จะช่วยเด็กได้อย่างไรพ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยลูกให้มีอาการดีขึ้น  โดยปฏิบัติดังนี้

1.   อย่ากังวลมากเกินเหตุ  โดยทั่วไป  TIC  ที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรงและหายเองได้
2.   วิเคราะห์ดูว่า  มีอะไรที่ทำให้ลูกตึงเครียดเกินไป  และพยายามหาทางแก้ไขหรือลดความตึงเครียดนั้นลง3.   การเฝ้ามองลูกจะทำให้ลูกยิ่งเครียดและเกิดอาการกระตุกมากขึ้น  ทางที่ดีก็คือต้องเฉยๆ  อย่าไปสนใจอาการดังกล่าว  ชวนลูกทำอะไรให้เพลิดเพลินดีกว่า4.   อย่าตำหนิลูกที่มีอาการแบบนี้  เพราะลูกไม่ได้แกล้งทำ  บางครั้งเด็กพยายามควบคุมหรือ “ กลั้น ”  ไม่ให้กระตุกแต่ก็ทำได้แค่ช่วงสั้นๆ  เท่านั้น  อย่าไปสั่งลูกให้พยายามหยุด  เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเครียด  ทางที่ดีควรจะพูดให้กำลังใจลูกมากๆ5.   สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้ลูกพยายามให้ลูกได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ  ที่เหมาะสมกับวัย  สร้างความรู้สึกว่า  ตนเองก็เป็นคนที่น่ารัก  น่าสมาคม  มีความสามารถทำอะไรได้ดีเหมือนเด็กคนอื่นๆ  ความรู้สึกนี้จะช่วยต้านความรู้สึกแย่  อันเกิดจากการเป็นโรคเรื้อรังนี้ได้         อาการโรค  TIC  ของเด็กๆ  อาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป  จะใช่กรด  TIC  ที่แท้จริงหรือไม่ แพทย์จะให้คำตอบได้ดีที่สุด  ข้อเขียนนี้จะเป็นส่วนเสริมความเข้าใจให้กับบรรดาพ่อแม่ที่มีต่ออาการต่างๆ  ที่ลูกก่อนวัยรุ่นของเราอาจเป็นได้......................................................................................................................................ขอขอบคุณที่มาบทความ :  นิตยสาร  LIFE & FAMILY  ฉบับที่ 10  ปีที่มกราคม 2540

คำสำคัญ (Tags): #โรคติ๊ค
หมายเลขบันทึก: 84828เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท