อธิบายตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเพชรบูรณ์


ตัวชี้วัดอีกแล้วครับท่าน
ตัวชี้วัด คำอธิบาย
 1. ด้านการลดรายจ่าย

  

 1.1  ครัวเรือนทำสวนครัว       

1.2  ครัวเรือนปลอดอบายมุข
  1.1 ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน หรือใช้กระถาง/ภาชนะที่ทิ้งแล้วในการปลูกผักไว้กินเองในครอบครัว รวมทั้งการปลูกผักแบบแขวน ในกรณีพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกผักได้อาจมีกิจกรรมอื่นที่ทดแทนกันได้

1.2  สมาชิกทุกคนในครัวเรือน ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่เล่นการพนัน  ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
2. ด้านการเพิ่มรายได้

2.1 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม   

2.2 ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
 2.1 ครัวเรือนมีอาชีพอื่นนอกจากอาชีพหลักที่ทำประจำ ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

2.2 ครัวเรือนมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการประกอบอาชีพ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในครัวเรือนที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทำให้เกิดความคุ้มค่าและประหยัด เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูกและได้ผลผลิตคุ้มค่า การปลูกผักปลอดสารพิษ การใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ
3. ด้านการประหยัด

3.1 ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ 

3.2 ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ฯ- มีการเชื่อมโยงเครือข่าย
  3.1 สมาชิกในครัวเรือนมีการฝากเงินไว้กับธนาคาร/สถาบันการเงิน/กลุ่มออมทรัพย์ฯ/กลุ่มอื่น ๆ ที่มีการรับฝากเงินกับสมาชิก

3.2 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือกลุ่มออมทรัพย์อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์/กลุ่มออมทรัพย์สตรี/กลุ่มออมทรัพย์ของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น- การเชื่อมโยงกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่หรือพื้นที่อื่น
4. ด้านการเรียนรู้

4.1 ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.2 ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
 4.1 ชุมชนมีการบันทึกภูมิปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ มีการถ่ายทอดและนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

4.2 คนในครัวเรือนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดหรือจัดเวทีการเรียนรู้หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นำไปสู่ความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

5.1 ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ.   

5.2  ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นหมู่บ้านน่าอยู่ 
   5.1 ชุมชนมีการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่าและประหยัดในการประกอบอาชีพ โดยมีการวางแผนจัดหาทรัพยากรทดแทน  ควบคู่กับการอนุรักษ์ เช่น การปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ทดแทน การดูแลรักษาแหล่งน้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

5.2 ชุมชนส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้บริเวณที่สาธารณะ ถนนในหมู่บ้าน บริเวณบ้าน หรือที่ว่างในหมู่บ้าน ฯลฯ และมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน

6.1 ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจนด้อยโอกาสและคนประสบปัญหา    

6.2  ชุมชน รู้รัก สามัคคี
 6.1 ชุมชนมีการจัดสวัสดิการสำหรับคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา เช่น การจัดให้มีกองทุนประกอบอาชีพ กองทุนสงเคราะห์ต่าง ๆ การจัดสรรกำไรจากกองทุนชุมชน เพื่อเป็นสวัสดิการ การจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฏรประจำหมู่บ้าน ตลอดจนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบอื่น ๆ  ที่มิใช่เกี่ยวกับการเงิน เป็นต้น

6.2 ชุมชนมีการจัดทำแผนชุมชนและนำแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชน
หมายเลขบันทึก: 84697เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท