AAR กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ PCU ลำปางหลวง อ.เกาะคา


กิจกรรม Peer asist ควรอยู่ที่ 1 วันครึ่ง - 2 วัน เพื่อความครอบคลุม ไม่เร่งรีบในการทำกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่เหมาะสมในการที่ เพื่อน จะสนิทคุ้นเคยกัน

       วันที่ 10 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานธาตุพนม ได้ใช้เวลา 1 วันที่ PCU ลำปางหลวง (คลิกบันทึกกิจกรรม)

เพื่อขอเรียนรู้การทำงานของ PCU ที่มีเจ้าหน้าที่ 3 ท่าน คือ
1. คุณวิชัย      แปงแก้ว  เจ้าหน้าที่บริหาร (หัวหน้า PCU)
2.  คุณสันติพงษ์  ศิลปสมบูรณ์  นักวิชาการสาธารณสุข
3. คุณอินทิรัตน์  เรืองสาย   พยาบาลวิชาชีพ

      และมีกิจกรรมและโครงการพิเศษมากมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย การทำงานในชุมชน จนได้รับรางวัล PCU ในฝัน รวมทั้งร่วมถอดบทเรียนในการทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย อย่างกว้างขวาง

      ผมได้มีโอกาศพบกับอ้ายตุ้ย (คุณสันติพงษ์  ศิลปสมบูรณ์  ) ในการประชุมที่ สปสช. เมื่อกลางปีที่แล้ว เห็นกิจกรรมที่ PCU ลำปางหลวงนำเสนอ แล้วเกิดความประทับใจ จึงบอกไว้ว่าถ้ามีโอกาศจะพาทีม ทีธาตุพนมไปเยี่ยมดูการทำงานถึงพื้นที่ ซึ่งอ้ายตุ้ยก็ยินดี

      จนเมื่อมีโอกาศได้ไปถึงพื้นที่จริง นอกจากอาหารที่อร่อย ทั้งก๋วยเตียวสูตรมะนาวที่หน้า PCU และอาหารที่ทาง ลำปางหลวงทำเลี้ยง (เรื่องกินเรื่องใหญ่) ยังพบว่าที่นี่สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับทีมผมหลายคน รวมทั้งผมด้วยที่สรุปได้คือ

 วัตถุประสงค์/ความคาดหวังในการไปที่ ลำปางหลวง
1. เรียนรู้กิจกรรมเชิงรุกในการดูแลผู้ปวยเบาหวาน
2. กระตุ้นทีม จุด เติมไฟพลัง ในการทำงานของทีมเชิงรุก ที่มาจาก PCU สอ.ทั้งอำเภอ
3. นำกิจกรรม Peer assist มาใช้ในการศึกษาดูงาน(ให้ต่างจากเดิมๆ)

สิ่งที่ได้เกินความคาดหวัง
1. เห็นศักยภาพของ เจ้าหน้าที่ ที่ลำปางหลวง ที่มีแค่ 3 คน แต่สามารถทำงานจนมีผลงานระดับประเทศ จนมีชื่อเสียง ด้วยการประสานงานกับชุมชน และการทำงานเป็น
ทีมที่ดีเยี่ยม
2. พบจุดกำเนิดของ กระติ๊บข้าวเหนียว ที่สานจากมือผู้สูงอายุในชุมชน พร้อมคำนวนหน่วยบริโภคไว้เรียนร้อยจากนักโภชนาการ จนทำให้ทีมเบาหวานเกาะคา ชนะเลิศทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ของ TERUMO  ในปีนี้
3. เรียนรู้แนวคิดของการทำงานแบบ นอกกรอบงบประมาณ กรอบนโยบายเดิมๆ ทำให้เห็นมุมมองการทำงาน และนวัตกรรม มากมาย

สิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง
1. ทีมธาตุพนม ยังไม่ได้แสดงศักยภาพอย่างเติมที่ ในการดึงความรู้มาถ่ายทอด หรือแลกเปรี่ยเรียนรู้
2. ไม่ได้พบกับการทำงานจริงๆของทีมกับ กลุ่มผู้ป่วย หรือ กับชุมชน เนื่องจากความจำกัดด้านเวลา

สิ่งที่ต้องปรับปรุงในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
1. การประสานงาน ก่อนการทำกิจกรรมน้อย ทำให้ทางทีมลำปางหลวงไม่ได้เตรียมสถานที่จริง หรือกลุ่มผู้ป่วย หรือชุมชน ในการทำครั้งหน้าต้องแจ้งอย่างชัดเจนขึ้น
2. กิจกรรม ควรอยู่ที่ 1 วันครึ่ง - 2 วัน เพื่อความครอบคลุม ไม่เร่งรีบในการทำกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่เหมาะสมในการที่ เพื่อน จะสนิทคุ้นเคยกัน

สิ่งที่จะนำไปทำหลังจากกลับไปที่หน่วยงาน
1. กิจกรรม"มหกรรมสุขภาพ" เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆ และเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่เราทำให้ทราบไปในตัว
2. โครงการพิเศษต่าง ต้องนำเสนอเพื่อใช้งบประมาณจากแหล่งต่าง เช่น สปสช. อบต. และสรุปผลให้ทราบทั้งทางงบประมาณ และผลลัพท์ด้านสุขภาพให้เจ้าของเงินทราบด้วย

ภก.เอนก ทนงหาญ เล่าเรื่อง

   

 รูปหมู่ที่ ระลึก

 อาหารแสนอร่อย

   
 มอบ องค์พระธาตุพนม ไว้ที่ ลำปางหลวง  ผลัดกัน เล่าเรื่อง ผ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง

   
 บรรยากาศ ร่มรื่นของ PCU ลำปางหลวง   บอร์ด เล่าเรื่อง โครงการกระติ๊บข้าเหนียว
หมายเลขบันทึก: 84251เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท