เคมีกับปัญหาความยากจน


วันก่อนพูดคุยกับผู้ร่วมอาชีพถึงมาตรฐานโรงพยาบาลยุคใหม่ ทำให้ฉุกคิดถึงเรื่องการให้บริการยาเคมีบำบัด ที่กลายเป็นบริการภาคบังคับมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความนิยม

การพูดคุยนี้ ทำให้นึกถึงบทความเล็ก ๆ บทหนึ่ง ที่ผมหยิบยกแผ่นออกจากจากหนังสือพิมพ์โพสต์ TODAY ที่เคยเก็บไว้ในกองเอกสารรออ่าน เลยกลับไปคุ้ยดู

เป็นหน้าในของหนังสือพิมพ์ที่ตอนนั้นดูผ่าน ๆ เห็นมีเรื่องน่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาตั้งไว้กับกองเอกสาร  ตอนหยิบขึ้นมา คิดเพียงว่าเอาไว้อ่านละเอียดวันหลัง  อยู่หน้า A8 คงเป็นหน้าพิเศษ เพราะไม่มีเขียนวันที่ไว้ข้างล่าง ก็เลยบอกไม่ถุกว่าเป็นฉบับวันไหน แต่คาดว่าเป็นฉบับประมาณกลางตุลาคม 2549 (เดาจากเนื้อข่าวข้างเคียง บทบรรณาธิการวันนั้น เขียนว่า ห้ามเหล้า ที่ต้นเหตุ)

บทความดังกล่าว เขียนโดย ดร. ลีลาภรณ์ บัวสาย  ในคอลัมน์ พลังปัญญา พูดถึงเรื่อง เคมีกับปัญหาความยากจน

ในคอลัมน์ดังกล่าว มีประเด็นชวนคิด ซึ่งผมขอสรุปย่อไว้สั้น ๆ ดังนี้

จากข้อมูลวิจัยค่าใช้จ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ และด้านการเกษตร/เลี้ยงสัตว์ มีข้อมูลว่า ค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงของครัวเรือน ข้อมุล 7 จังหวัด 2549 ตามจังหวัดต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของค่าใช้จ่ายเพื่อการผลิต มีตัวเลขดังนี้

  • อุตรดิตถ์ 24.00 %
  • นครปฐม 27.41 %
  • นครพนม 14.68 %
  • กาฬสินธุิ์ 38.33 %
  • ยโสธร 13.31 %
  • อุบลราชธานี 35.74 %
  • ตรัง 29.92 %

และผู้วิจัยวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง ค่าใช้จ่ายสารเคมีเพื่อการเกษตร กับ ค่ารักษาพยาบาลของครัวเรือน พบว่า ค่าสหสัมพันธ์สูงมากถึง 0.93 (จำนวนครัวเรือน 146,429 ครัวเรือน) สะท้อนให้เห็นว่า ยิ่งใช้สารเคมีมาก ยิ่งมีการเจ็บป่วยมาก

ต้นทุนที่สูงลิ่วนี้ บอกว่าใช้สารเคมีกันดุเดือดขนาดไหน ทั้งปุ๋ย และยาฆ่าแมลง

และยังสะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนด้วย

จึงเห็นการเหลื่อมล้ำโครงสร้างต้นทุนในภาคการเกษตรอย่างมหาศาล อย่างนี้ (ซึ่งจะส่งผลถึงกำไรเลี้ยงตัวด้วยในที่สุด)

ต้นทุนสูงเกิน ไม่ขาดทุนก็แปลกแล้ว ที่หนักกว่านั้นคือ คนขาดทุนไม่ได้มีเพียงคนทำ แต่กระทบไปถึงต้นทุนสุขภาพคนอื่นด้วย (คนทำอาจบอกว่า ...'ของฟรี !')

ข้อมูลนี้ ช่วยให้เราเห็นภาพว่า การบริการเคมีบำบัด คงจะเฟื่องฟูต่อไปในเมืองไทย เพื่อตอบสนองกับการเป็นโรคยอดนิยมอันดับหนึ่งของประเทศ  และคงไม่เปลี่ยนแนวโน้มกันง่ายนัก

ดูแล้วถอนใจครับ

 

หมายเลขบันทึก: 84223เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณครับ...

  • นี่เป็นการศึกษาวิจัยที่ทรงคุณค่ามากๆ เลย
  • และถ้านับความป่วยไข้ของคนกินพืชผักเหล่านี้เข้าไป ยิ่งน่ากลัวใหญ่

ขอบคุณนพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ครับ..

  • สำหรับความเห็น
  • และสำหรับการประชาสัมพันธ์

มีเรื่องเล่า.. 

ผมเคยไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง กำลังมีตลาดนัดลานบ้าน แม่ค้าสูงวัยชวนให้ซื้อผัก ฟังแล้วซึ้งใจ เพราะจริงใจมาก

"หมู่บ้านนี้เขาไม่ใช้สารเคมีรดผัก มันบาปมันกรรม..

ถ้าเป็นหมู่บ้านข้าง ๆ น่ะ เขารดยาเยอะ ถั่วฝักยาวเก็บไว้ได้สองเดือน ไม่รู้จักเหี่ยวรู้จักเน่า..."

โอ้..สวรรค์..สองเดือนเชียวหรือครับ

นั่นน่ะ...ผักซอมบี้แล้วครับ...

(ใครกินก็ได้เป็นซอมบี้ไปด้วยก็คราวนี้แหละ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท