นโยบายและแผนกลยุทธ์จากเศรษฐกิจชุมชนสู่สากลโลก ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่


เศรษฐกิจพอเพียง

นโยบายและแผนกลยุทธ์จากเศรษฐกิจชุมชนสู่สากลโลก

ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่

บทคัดย่อการวิจัยนี้ศึกษาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยจากเศรษฐกิจชุมชนสู่สากลโลกที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในศึกษาคนและชุมชน โดยใช้ผลิตภัณฑ์เป็นตัวเดินเรื่อง คือนมโค สุราแช่ผลไม้หรือไวน์ผลไม้ และผักบุ้งจีน เปรียบเทียบชุมชนกรณีศึกษา 3 แห่ง ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาชุมชนการเกษตรในชนบทไทยให้ยั่งยืนต้องเป็นไปตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ แต่กรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีไม่สามารถบรรลุขั้นที่ 2 ตามทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต้องวางแผนกลยุทธ์และนโยบายบนพื้นฐานของการเชื่อมต่อเศรษฐกิจชุมชนกับเศรษฐกิจนอกชุมชน โดยเริ่มจากทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 พึ่งตนเองไปสู่ขั้นที่ 2 พึ่งพาอาศัยกัน และขั้นที่ 3 พึ่งพิงอิงกัน

ผลการศึกษา

แม้ว่าการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้ดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ทศวรรษ ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ภาคการเกษตรของไทยได้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเลี้ยงประชากรของประเทศอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังสามารถส่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศได้อีกด้วย แต่ภาคการเกษตรของไทยยังคงประสบปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ สินค้าจากภาคเกษตรจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศน้อย เนื่องจากสินค้าเกษตรของไทยส่งออกในรูปของวัตถุดิบ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยยังไม่มีความเชื่อมโยงกันมากเท่าที่ควร ปัจจัยการผลิตที่ใช้ในภาคการเกษตรในสัดส่วนที่ไม่น้อย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำมัน ยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพึ่งพาต่างประเทศในด้านการขนส่ง การจัดจำหน่าย และการตลาด ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของภาคการเกษตรยังน้อย ทำให้น่าสนใจที่จะศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตรของไทยในการแข่งขันการค้าในตลาดโลก และเพิ่มความเชื่อมโยงจากภาคการเกษตรผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไปสู่สากลโลกโดยให้มีความยั่งยืนและทำให้ชุมชนเข้มแข็ง คือไม่ใช่การแก้ปัญหาของเศรษฐกิจโดยละเลยสังคม เพราะได้เรียนรู้ในอดีตของการพัฒนาที่ผ่านมาว่า การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดกระแสวัตถุนิยม การบริโภคฟุ่มเฟือย การไม่ยึดมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเอง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ความโลภ ความรุนแรงในสังคม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสังคมอีกหลายประการ และความล่มสลายทางสังคมในที่สุด คณะผู้วิจัยเห็นว่า การแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจไม่ใช่การหาเงินอย่างเดียว ต้องพัฒนาคนและชุมชนให้ยึดมั่นในความเป็นจริง พึ่งตนเองให้ได้ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอาหาร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือพัฒนาครัวเรือน พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการผลิตอาหาร ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตให้ดีมีคุณภาพ เราใช้เองกินเอง ดีแล้วจึงขาย มีรายได้เสริม ที่จะ เอามาลงทุนพัฒนาสุขอนามัยที่ดี ผลิตสินค้าให้ดี มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยด้วยการผลิตให้มากขึ้น ประหยัดปัจจัยการผลิตให้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้น ใช้ปัจจัยการผลิตในชุมชนและในประเทศให้มากที่สุด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขยายตลาดและผู้บริโภคให้กว้างขวางขึ้น ก็จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ โดยที่หัวใจของการพัฒนาตามแนวความคิดนี้คือ คน การพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง คณะผู้วิจัยเห็นว่าการพัฒนาชุมชนควรพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดของการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน และควรเป็นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องทฤษฎีใหม่ ทุกฝ่ายอันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะครอบครัวและชุมชนเกษตรกรเอง ควรได้รับการส่งเสริมให้ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและบริหารการพัฒนาแบบผสมผสานบูรณาการ โดยมีการเชื่อมโยงประสานแผนทุกระดับ ตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่นจะต้องเป็นกลจักรสำคัญในการบริหารพัฒนาในระดับพื้นที่ ทั้งนี้โดยเริ่มจากพัฒนาชุมชนตามทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ให้พึ่งตนเองได้ และมีความพอเพียงก้าวไปสู่ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 การพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน จนกระทั่งอาศัยการประสานความ ร่วมมือจากองค์กรภายนอกภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการตามทฤษฎีใหม่ในขั้นที่ 3 โดยทุกฝ่ายต้องมีความพอเพียง และใช้กลยุทธ์การสร้างระบบแบบสอดประสาน ผ่านการใช้ระบบข้อมูล ข่าวสาร สร้าง กลยุทธ์ สร้างกระแสความต้องการสินค้าเกษตรไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และภายในประเทศพร้อมกันไปด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษาคนและชุมชน โดยใช้ผลิตภัณฑ์เป็นตัวเดินเรื่อง เปรียบเทียบชุมชนกรณีศึกษา 3 แห่ง คือนม ไวน์ผลไม้ และผักบุ้งจีน ศึกษาความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์การประกอบอาชีพ ต้นทุน ผลตอบแทน ของชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์ศักยภาพ จุดอ่อน จุดแข็ของชุมชน ตอบคำถามว่าชุมชนกรณีศึกษาอยู่ในขั้นใดของทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ผลิตภัณฑ์มีโอกาส(Opportunity)หรือไม่ มีขีดความสามารถระดับใด(Capability) ยั่งยืน(Sustainability)ในระดับใด และจะต่อเชื่อมถึงนโยบายและกลยุทธ(Strategies) จากเศรษฐกิจ ชุมชนสู่สากลโลกได้อย่างไร หาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยจากเศรษฐกิจชุมชนสู่สากลโลกที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษานโยบายและแผนกลยุทธ์นี้ศึกษาในสองลักษณะคือ การมองเข้ามาภายใน(Inward Looking) และการมองออกภายนอก(Outward Looking) การมองเข้ามาภายในหมายความว่าในประเทศมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรนั้น ๆ อยู่ และผู้ขายสินค้าเกษตรภายนอกพยายามเข้ามาให้ได้ โดยเฉพาะหลังจากความจำเป็นในการเปิดเสรีทางการค้าตามข้อตกลง WTO และ FTA เป็นการแข่งขันกับ ต่างประเทศภายในประเทศ การมองออกภายนอกหมายความว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์นี้ นอกประเทศ และผู้ขายในประเทศพยายามจะเข้าไปขายในตลาดต่างประเทศ ซึ่งก็ต้องเปิดเสรีภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน เป็นการแข่งขันกับต่างประเทศนอกประเทศ กรณีศึกษาโคนมชุมชนหนองย่างเสือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่ได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงโคนม และเนื่องจากภูมิอากาศเหมาะสมจึงมีการเลี้ยงโคนมมากที่สุดในเขตภาคกลาง ในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับโคนมจำนวนมากและมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมในเชิงพาณิชย์ของบริษัท 4 แห่งตั้งอยู่ในชุมชนหนองย่างเสือ เริ่มจากมีผู้เลี้ยงโคนมแล้วได้ผลดีจึงชักชวนกันเลี้ยงมากขึ้น สภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนหนองย่างเสือเป็นชุมชนทำการเกษตรเหมือนในชนบททั่ว ไป มีรายได้น้อย การศึกษาต่ำ มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคมในรูปสหกรณ์โคนมและกลุ่มต่าง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของตนเองในเขต สปก. มีวัฒนธรรม และปัญหาคล้ายคลึงกับชุมชนชนบทในภาคกลางทั่ว ไป

การวิเคราะห์จุดอ่อนของชุมชนพบว่า ชุมชนมีความรู้ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่อง เทคโนโลยีการเลี้ยง การรีดนมและการส่งนม แต่ไม่ถึงขั้นการแก้ปัญหาหรือตรวจสอบสาเหตุของปัญหาทั้งระบบได้ มีการพัฒนาคุณภาพและปริมาณการผลิตและโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมน้อย ไม่มีเทคโนโลยีในการแปรรูปในครัวเรือน การแปรรูปทั้งหมดจึงต้องพึ่งโรงรับ น้ำนมดิบและโรงงานแปรรูป ทำให้ยังไม่สามารถผลิตเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน ขาดอำนาจต่อรองในเรื่องคุณภาพ ราคา นโยบายรัฐบาลในการนำเข้านมต่าง ๆ จากต่างประเทศซึ่งเป็นปัญหาการตลาด การต่อสู้เชิงธุรกิจ และการตรวจสอบปัญหาทุจริตในกระบวนการผลิตและกำหนดนโยบาย

ชุมชนยังมองหาอาชีพอื่น ๆ ที่อาจให้รายได้สูงกว่า และพร้อมจะละทิ้งถิ่นเพื่อแสวงหาความ ก้าวหน้าและรายได้ ขณะนี้ทำเพราะรายได้ยังดีกว่าอาชีพอื่น ๆ ในท้องถิ่น ชุมชนมีความพอเพียงในระดับครัวเรือน แต่ยังมีความสับสนระหว่างคุณธรรมกับวัตถุนิยม คือเห็นคนอื่นได้กำไรมาก ก็อยากจะได้กำไรมาก ๆ เช่นเดียวกับทำให้ต้องการขยายไปเรื่อย ๆ ข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่อาจจะมีส่วนทำให้ชาวบ้านยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าจะเข้าใจและถือปฏิบัติจริงจัง มีการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อคุณภาพของนมดิบ และมีปัญหาในการรักษาแหล่งน้ำและ ที่ดินให้อยู่ในสภาพดีและพอเพียง

การรวมกลุ่มกันเองมีน้อยมาก ยังคงต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง รวมตัวเป็นสหกรณ์ ชุมชนไม่ค่อยสนใจเรื่องห่างไกลตัว หรือมีผลกระทบต่อตนเอง เมื่อมีสหกรณ์รองรับอาชีพที่เข้มแข็ง คนในชุมชนก็จะปล่อยให้สหกรณ์ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาแทนตัวเอง การรวมกลุ่มมักจะเป็นเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับในระยะสั้น เช่น การให้สินเชื่อ และตลาดน้ำนมดิบ เป็นต้น แม้ว่าผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า นม เป็นปัญหาของชุมชนคือ ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด ปัญหาราคาน้ำนมดิบต่ำ ปัญหาตลาดรับซื้อน้ำนมดิบ และเกือบทั้งหมดคิดว่าจะมีปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ไขเองได้ และต้องการให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขให้ เพราะเป็นหน่วยงานที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดกลไกทางการตลาด

จุดแข็งของชุมชนคือ ชุมชนพยายามผลิตน้ำนมดิบให้ได้คุณภาพตามกำหนดของโรงรับน้ำนมดิบและทำตามกฎระเบียบ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวางแผนและดูแลการเลี้ยงวัวและการรีดนมทุกขั้นตอน ชุมชนยังคงรักษาความเป็นเจ้าของที่ดินไว้ได้ และมีโรงรับซื้อน้ำนมดิบ โรงงานแปรรูปอยู่ในบริเวณใกล้เคียง การขนส่งสะดวกเพราะนมมีอายุการเก็บความสดสั้น

ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อเกินไป มีการดูแลช่วยเหลือกันดี มีความตั้งใจที่จะพัฒนาชุมชนให้เจริญก้าวหน้า ไม่มีการทะเลาะกันอยู่อย่างสงบสุข มีความภูมิใจในเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีของชุมชน มีการยึดถือวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งได้รับการยอมรับนับถือจาก ชาวบ้าน มีการรวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ในระดับครัวเรือน และบางเรื่องในระดับชุมชน

ผลการวิเคราะห์การพึ่งตนเองของชุมชนตามแนวคิด TERMS พบว่ามีการยอมรับการกระทำทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่อยู่ในระดับสูง ส่วนการใช้ความรู้ดั้งเดิมที่จัดว่าเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการยอมรับต่ำ มีการยอมรับการกระทำทางด้านเศรษฐกิจที่จะประหยัดทั้งทางด้านการผลิตและการครองชีพ แต่ก็ยังปรากฏลักษณะของการยอมรับการละทิ้งถิ่นเพื่อแสวงหาความ ก้าวหน้า มีการยอมรับการกระทำทางด้านทรัพยากรดี แต่การจัดการร่วมกันในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนยังอยู่ในระดับปานกลาง มีการยอมรับการกระทำทางด้านจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมของชุมชน แต่คนในชุมชนเกือบครึ่งหนึ่งมีความสับสนระหว่างคุณธรรมกับวัตถุและมีการยอมรับอย่างเต็มที่ในความภูมิใจในเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของคนในชุมชนชุมชน มีความเข้มแข็งของการยึดถือวิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณี ยกเว้นเรื่องการร่วมมือกันเพื่อการผลิต ทั้งนี้พบว่า ทุกขนาดฟาร์มแสดงผลการยอมรับการกระทำด้านTERMSของชุมชน สรุปผลการวิเคราะห์ชุมชนตาม TERMS Model สรุปได้ว่าชุมชนหนองย่างเสือมีการพึ่งพาตนเองได้

ผลการวิเคราะห์ชุมชนตามการพัฒนาเข้าสู่แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอนพบว่าการพัฒนาเข้าสู่แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่ 1 การพึ่งพาตนเอง(Sufficient Economy ; SE) ของชุมชนหนองย่างเสืออยู่ในระดับดี การพัฒนาเข้าสู่แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่ 2 การพึ่งพาอาศัยกัน(Co-operative Economy ; CE) การร่วมมือกันของชุมชนหนองย่างเสืออยู่ในระดับปานกลาง และการพัฒนาเข้าสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่ 3 การพึ่งพิงอิงกัน (Trade Economy ; TE) การร่วมมือกับองค์กร ภายนอกของชุมชนหนองย่างเสือตามสภาพของชุมชนหนองย่างเสือเองไม่สามารถก้าวเข้าสู่สากลใน ขั้นตอนที่ 3 ได้เพราะยังไม่สามารถสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในระดับสากลได้ในขณะนี้ ทั้งนี้ชุมชนหนองย่างเสือมีการพัฒนาถึงในระดับขั้นตอนที่ 2 ที่ระดับปานกลางเท่านั้น คือแค่ความ ร่วมมือภายในชุมชน และหยุดอยู่ที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ โดยยังไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่การสร้าง สวัสดิการในชุมชนครบถ้วน และมีองค์กรการแปรรูปได้ด้วยตนเองหรือแปรรูปเพื่อบริโภคในครัวเรือน การผลิตยังเป็นการผลิตเพื่อขายทั้งหมดและซื้อกลับมาบริโภค ยังไม่ถึงขั้นแปรรูปเพื่อบริโภคเองก่อน เหลือจึงขาย ชุมชนจึงมีปัญหานมโรงเรียนทั้ง ๆ ที่เป็นชุมชนที่ผลิตนมดิบเอง

โอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกของชุมชนหนองย่างเสือมาจากการมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพนี้หลายประการ ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ด้านกระบวนการผลิตที่มีอย่างครบวงจรในพื้นที่ เช่น แหล่งรับซื้อน้ำนมดิบ โรงแปรรูปทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เนื่องจากน้ำนมดิบเป็นสินค้าเกษตรเศรษฐกิจที่สำคัญทำให้ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทในกลไกตลาดค่อนข้างมาก เพราะมูลค่าและ ผลิตภัณฑ์นมทั้งระบบมีมากถึง 22,000 ล้านบาท สัมพันธ์กับกลุ่มผู้ประกอบการน้ำนมดิบมากมาย ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน อาทิเช่น นโยบายของภาครัฐจัดสรรงบประมาณโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนตั้งแต่ปี 2535-2545 เป็นเงิน 31,433 ล้านบาท นโยบายการตั้งราคากลางในการรับซื้อน้ำนมดิบ นโยบายรองรับการค้าเสรีและผลิตภัณฑ์นม มีหน่วยงานราชการและองค์กรต่าง ๆ ช่วยทำหน้าที่ ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคง อย่าง กรมปศุสัตว์ สหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ อสค. แม้แต่สถาบันการศึกษาก็เป็นทั้งสถานที่ในการศึกษา สาธิต มีโรงแปรรูปของสถาบันเอง มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับโคนมจำนวนมาก อีกทั้งมีต้นแบบที่เป็นระบบอย่างโรงนมจิตรลดาในโครงการพระราชดำริส่วนพระองค์ เพื่อศึกษาและหาแนวทางแก้ปัญหาแบบครบวงจรทั้งด้านการผลิตและการตลาด แม้ว่าตลาดของน้ำนมดิบจะต้องเป็นสมาชิกของกลุ่ม แต่ก็ให้ประโยชน์ในการมีตลาดน้ำนมดิบที่แน่นอน ได้รับสนับสนุนด้านสินเชื่อ และปัจจัยการผลิตที่จำเป็นในฟาร์ม เช่น อาหารสัตว์ การบริการด้านสัตวแพทย์ เป็นต้น อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมของชุมชนในด้านปัจจัยการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ซื้อหาลำบากเพราะขาดตลาด ขนส่งไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเกษตรกรเองขาดความรู้ในการผสมอาหาร และการบำรุงโคนมให้เพิ่มผลผลิต ผู้ให้ความรู้มักจะเป็นตัวแทนจำหน่ายปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มีการกระจุกตัวของจุดรับซื้อน้ำนมดิบในพื้นที่เดียวกัน ระหว่างสถาบันเกษตรกรประเภทเดียวกันด้วย ทำให้เกิดการ หดตัวและการตัดราคาของบางแหล่งรับซื้อ สภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจึงเป็นเพียงผู้เลี้ยงโค เพื่อจัดส่งน้ำนมดิบให้แก่ผู้แปรรูปได้ ไม่สามารถพัฒนาให้ครบวงจร เนื่องจากกระบวนการจัดเตรียมศูนย์พักน้ำนมดิบจำเป็นต้องมีต้นทุนการดำเนินการสูง และจะต้องมีความชำนาญในด้านการควบคุมดูแล สภาพน้ำนมดิบเพื่อให้คงคุณค่าของน้ำนมดิบไว้ให้คงที่ ทำให้โรงงานแปรรูปนมขนาดเล็กถูกครอบงำโดยโรงงานฯขนาดใหญ่ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง แม้แต่นโยบายภาครัฐที่มีก็กลายเป็นหนทางแห่งธุรกิจในวงราชการ ผู้ประกอบการนมพาสเจอร์ไรส์ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด ลงทุนโรงงานมี วัตถุประสงค์เพื่อผลิตเฉพาะนมโรงเรียน ต้องการส่วนแบ่งงบประมาณนมโรงเรียนเท่านั้น จึงเกิดเป็น ข้อสงสัยที่ว่านโยบายของทางราชการที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นั้น เพราะแนวทางในการจัดการปัญหาเรื่อง น้ำนมดิบมุ่งเน้นการประสานประโยชน์ หรือแก้ปัญหาประเด็นจุดเล็กจุดน้อยที่เกิดขึ้นตามเหตุการณ์ประจำวัน ทุกช่วงจึงขาดการยอมรับโดยกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการบริหารเชิงแก้ไขปัญหามากกว่าการมุ่งเน้นที่เป้าหมาย จึงไม่พัฒนาด้านอื่น ปัญหาจึงยังคงค้าง ภาพที่แสดงออกมาอยู่เนือง ๆ คือ ราคาน้ำนมดิบที่สูง ความต้องการบริโภคนมที่เพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้า ภาวะนมล้นตลาดในช่วงปิดภาคเรียน ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายต่าง ๆ ให้แก้ปัญหารับซื้อน้ำนมดิบน้อยลง เพื่อลดต้นทุน และ นำเข้านมผงจากต่างประเทศ เป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกันทั้งระบบ แล้วต่างฝ่ายต่างโยนความผิดให้พ้นตัว ไม่หันหน้าเข้าหากัน ทำให้ไม่เกิดสภาพความเป็นมิตรในสายอาชีพที่เกี่ยวโยงกัน ในที่สุดตกเป็น เครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายที่มีอำนาจในมือ ชุมชนผู้เลี้ยงโคนมหนองย่างเสือจึงมีโอกาสที่จะขยายและพัฒนาการเลี้ยงโคนมและการผลิต น้ำนมดิบ และมีศักยภาพในระดับปานกลาง ความยั่งยืนยังอยู่ในระดับไม่แน่ใจเพราะยังคงต้องพึ่งพาภายนอก และยังไม่สามารถไปถึงเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในขั้นที่ 3 หากปัจจัยภายนอกทำให้เกิดปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชน ชุมชนอาจไม่สามารถปรับตัวรองรับปัญหาได้ และต้องเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าช่วยดูแลแก้ปัญหาของชุมชน กรณีศึกษาไวน์ส้ม ชุมชนศรีปทุม จังหวัดสระบุรี ชุมชนศรีปทุมมีสภาพเป็นชุมชนชนบทคล้ายคลึงกับชุมชนหนองย่างเสือ มีอาชีพหลักคือการเกษตร เมื่อครั้งดั้งเดิมชุมชนปลูกข้าว ต่อมาได้เรียนรู้การปลูกส้มจากผู้มาจากถิ่นอื่นจึงได้ทดลองปลูก ได้ราคาดีทำให้มีการขยายการปลูกและกลายเป็นชุมชนปลูกส้มศรีปทุมต่อมามีปัญหาส้มร่วง ส้มลูกเล็ก ชุมชนจึงแก้ปัญหาด้วยการแปรรูปต่าง ๆ เนื่องจากส้มคุณภาพไม่ดี น้ำส้มมีอายุสั้นจึงได้ริเริ่มทำไวน์ส้มศรีปทุม ประกอบกับรัฐบาลให้การส่งเสริมการทำไวน์ในชุมชน และมีผู้มีความรู้การทำไวน์ในชุมชนจึงทดลองทำขึ้นได้ผลผลิตไวน์ส้ม มีการแลกเปลี่ยนความรู้และเข้าร่วมเครือข่ายทำไวน์ทำให้มีการพัฒนาผลผลิตขึ้นเรื่อย ๆ จนจำหน่ายได้ภายในและภายนอกชุมชน และมีความหวังว่าจะพัฒนาให้มีความนิยมแพร่หลายไปสู่สากล จุดอ่อนของชุมชนศรีปทุมได้แก่ ขาดความรู้และความเชี่ยวชาญในการผลิตไวน์ การแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพไวน์ ใช้วิธีลองถูกลองผิด ยังไม่มีสูตรมาตรฐานการผลิต คุณภาพไม่คงที่ บรรจุภัณฑ์ ป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้ผลทางการตลาด ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดไวน์อย่างแท้จริงที่มีการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตสูง ปัญหาสำคัญคือผลิตภัณฑ์ยังไม่ถูกกฎหมาย ไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่มีตลาด รับซื้อที่แน่นอน ขาดแหล่งทุนระยะยาวส่งผลให้ชุมชนไม่สามารถที่จะพัฒนากระบวนการผลิต การ แปรรูปของไวน์ศรีปทุมให้ได้มาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง การจัดการไม่ได้ดำเนินการในรูปของสหกรณ์ จึงไม่สามารถเชื่อมั่นได้ว่าการผลิตไวน์จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มยังไม่ได้ช่วยให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ขึ้นได้ ในขณะที่ไม่ได้รักษาความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีการใช้ปุ๋ยเคมี และถูกผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยอีกส่วน ส่งผลให้คุณภาพของวัตถุดิบลดลง และไม่สามารถแก้ปัญหาได้จึงต้องย้ายถิ่นปลูก จุดแข็งของชุมชนศรีปทุมคือ เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต ประมาณ 90% ของพื้นที่ทำสวนส้ม จึงมีความพยายามใช้วัตถุดิบภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ก่อนที่จะ ซื้อหาจากภายนอก ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการใช้ทรัพยากร/เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรที่เกิดขึ้น เพิ่มรายได้จากภาคการเกษตร ราคาส้มกิโลกรัมละ 5 บาท มาสู่ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นไวน์ขวดละ 150 บาท จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ของตำบลหนองโรง ถือได้ว่าเป็นชุมชนแห่งความเอื้ออาทร รักษาวิถีการดำเนินชีวิตที่สงบสุขและอยู่ร่วมกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกันทางศาสนาเพราะตั้งอยู่บนวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงมีความมั่นคง

ผลการวิเคราะห์การพึ่งพาตนเองของชุมชนศรีปทุมแนวคิด<span style="

หมายเลขบันทึก: 84181เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2016 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท