ทำไมท่านต้องรู้จัก KM ในการประชุมวิชาการครั้งนี้


ผมได้รับการคัดเลือกให้ร่วมเวที Knowledge Management (KM) จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ภายใต้การนำของสภาการวิจัยแห่งชาติ จึงสนใจที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ลปรร) ผ่านองค์ประกอบของการประเมินและสร้างโปรแกรมการรักษาครับ

หลักการที่แท้จริงของการสร้างโปรแกรมใดๆ คือ การจัดระบบองค์ความรู้ที่ท่านมีอยู่แล้วกับความรู้ใหม่ที่มีการวิจัยแบบประเมินตรวจสอบอย่างมีระบบ

ประสบการณ์การรักษาและฝึกเด็กพิเศษในรูปแบบต่างๆ ท่านลองถามตัวเองซิครับว่า ปัญหาหนึ่งๆของเด็กพิเศษที่เราต้องแก้ไข จะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นการให้โปรแกรมการรักษาที่ดีที่สุด เราต้องคิดและสร้างโปรแกรมเองทั้งหมด หรือต้องให้ผู้ปกครองหรือบุคคลากรทางการแพทย์และการศึกษาพิเศษช่วยระดมความคิด หรือต้องสร้าง Clinical Practice Guideline (CPG) ที่อิงกรอบและหลักการต่างๆที่เป็นสากล ท่านจะทราบอย่างไรว่าสิ่งที่ท่านเลือกทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การจะตอบคำถามดังกล่าวได้ ผมอยากแนะหลักการให้ท่านได้คิดพอสมควรคือ

โปรแกรมคือการนำความคิดลงสู่การปฏิบัติ แต่บางครั้งผลของการปฏิบัติไม่เป็นไปตามความคิดที่กำหนดไว้ แม้ว่าจะผ่านการกลั่นกรองจากความคิดนั้นอย่างเป็นระบบก็ตาม

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้มากจากประสบการณ์การปฏิบัติที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล แล้วลองคิดว่าถ้าลองปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ท่านคิดด้วยสาระของการแลกเปลี่ยนความรู้ดังกล่าว น่าจะเกิดอะไรขึ้น หลักการเหล่านี้เป็นกระบวนการจาก KM Input & Output for Community of Practice (CoP) ซึ่งกำลังเป็นที่น่าจับตาว่ากระบวนการนี้สามารถนำไปใช้ในหลักการปฏิบัติมากมายในหลากหลายวิชาชีพ

คณะผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง ๖๔ ท่านและทีมวิทยากรอีก ๗ ท่านจะร่วมกันแนะนำความรู้ที่ผ่านการประเมินอย่างเป็นระบบ จากนั้นมีการฝึกการประเมินระบบดังกล่าวว่าน่าจะเสริมกับโปรแกรมที่ท่านปฏิบัติอยู่ได้อย่างไร โดยมีการเสวนาผ่านเวที KM เพื่อให้ได้สาระที่น่าจะออกมาเป็นแนวทาง CoP ได้ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ครับ

สองโจทย์ที่เราจะให้ทุกท่านได้เสวนาคือ

๑. ท่านได้รับความรู้ใหม่อะไรบ้างที่ช่วยเสริมความรู้เดิมของท่านในการสร้างโปรแกรม

๒. ท่านคิดว่าจะสร้างโปรแกรมอย่างไรให้ได้ผลที่ดีที่สุด

ลิขิตก่อนจบ...เรากำลังจะเรียนรู้กฎกติกาของการเสวนาในครั้งนี้ คือ

๑. ใช้การฟังและคิดอย่างวิเคราะห์ตลอดการเสวนา ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

๒. ใช้การคิดและพูดในเชิงบวกและเสริมความคิดของผู้เสวนาในการตอบโจทย์ข้างต้น ห้ามถามคำถามซ้ำหรือติเตียนความคิดเห็นต่างๆ

๓. ใช้การฟังและบันทึก (ลิขิต) ประเด็นที่เป็นสาระ มีการตอบโจทย์และนำไปใช้ต่อได้

 

คำสำคัญ (Tags): #km#kmr
หมายเลขบันทึก: 84141เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท