"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข":อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (IV)


โครงการอื่นปากบอกว่าสร้างคน แต่จริงๆ แล้วไปสนับสนุนกิจกรรม แต่เราพยายายามสร้างคน ให้คนไปสร้างงาน เราสร้างความรู้ แล้วก็ยังไม่พอ สร้างกลไกใหม่ทางสังคมด้วย เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็ง เมื่อเอามาเทียบกับชุมชนแล้วจะเห็นว่า ชุมชนไม่เปลี่ยนเพราะว่าโครงสร้างความสัมพันธ์ลึกๆ จริงๆ แล้วไม่เปลี่ยน เราต้องทำให้โครงสร้างเปลี่ยน ผลก็จะออกมายั่งยืน

จาก AAR สู่ BAR
(from After Action Review  to Before Action Review)
“อานิสงส์ของการเหลียวหลัง สู่พลังของการแลหน้า”
เพื่อมุ่งไปสู่การจัดงาน
"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข"

โดย สมโภชน์ นาคกล่อม

ตอนที่ ๑  “อานิสงส์ของการเหลียวหลัง” (IV)

(ต่อจาก อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (III))

“เกิดผลอะไร...ในการจัดการความรู้ของ สรส.”

การจัดการความรู้กับสถาบันการศึกษา
มี มทร.ศรีวิชัย (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช) ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องนัวเนียมากที่สุด เช่น การพยายามชูจุดเด่น วางเป้าหมายของตัวเอง เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนอย่างไร เขาใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นการเรียนรู้ ยกระดับผลผลิตคือนักศึกษาของเขาอย่างไร เขาเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างไร เราบ่มเพาะอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราไปชวนเขาทำอะไรใหม่ๆ เราต้องอธิบายว่าแต่ละจุดไปถึงขั้นไหน  ส่วนของวิทยาลัยเกษตรภาคกลาง เราอยู่ระหว่างการทำงานและขายความคิด แต่ในเชิงแผนที่การทำงานของวิทยาลัยเกษตรถือว่าเกิดแล้ว

การจัดการความรู้ของ สรส.กับแหล่งทุน
มีคำถามสำคัญว่า เราสามารถ “ทำใหม่” (reproduce) ได้หรือไม่ หากสามารถขยายผลได้ ก็เป็นการคุ้มค่าของแหล่งทุน เป็นคำถามที่อยู่ในใจของแหล่งทุน คุณไปทำแล้วมีสิ่งที่ดีและไม่เคยมีขึ้นในชุมชนอะไรเกิดขึ้นบ้าง และทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร (นวัตกรรมในชุมชน) จะยั่งยืนหรือไม่ แค่ไหน และนวัตกรรมนี้สามารถขยายผลได้อย่างไร

โครงการของเราแตกต่างจากโครงการอื่นๆ อย่างไร โครงการอื่นปากบอกว่าสร้างคน แต่จริงๆ แล้วไปสนับสนุนกิจกรรม แต่เราพยายายามสร้างคน ให้คนไปสร้างงาน เราสร้างความรู้ แล้วก็ยังไม่พอ สร้างกลไกใหม่ทางสังคมด้วย เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็ง เมื่อเอามาเทียบกับชุมชนแล้วจะเห็นว่า ชุมชนไม่เปลี่ยนเพราะว่าโครงสร้างความสัมพันธ์ลึกๆ จริงๆ แล้วไม่เปลี่ยน เราต้องทำให้โครงสร้างเปลี่ยน ผลก็จะออกมายั่งยืน


โครงสร้างดังกล่าว ได้แก่ วิธีคิด วิธีปฏิบัติของตัวละครสำคัญๆ ในท้องถิ่น เช่น นายก รัฐมนตรี (แกนนำชุมชน) หากแกนนำชุมชนความคิดเปลี่ยน ก็ทำให้โครงสร้างความสัมพันธ์ภายในชุมชนเปลี่ยน รัฐมนตรีถึง ๙ คนเปลี่ยน ชุมชนก็เปลี่ยนได้  หากไปสนับสนุนเป็นกิจกรรม โครงสร้างไม่เปลี่ยน พอกิจกรรมหมด โครงสร้างเก่าก็จะสำแดงอิทธิฤทธิ์ขึ้นมา  หากรัฐมนตรีหัวเชื้อคิดได้ คิดเป็น รู้บทบาท และออกแบบการเรียนรู้แก่กลุ่มต่างๆ ได้ ก็จะเคลื่อนไปหมดทั้งชุมชน  เป็นทั้งประชาธิปไตย เศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนสังคมฐานความรู้ระดับฐานราก หากเรามาปลุกกระแสกันแต่ด้านบน ฐานรากไม่เปลี่ยนก็ไม่มีความหมาย (ฐานล่างของเจดีย์ไม่เปลี่ยน)


นอกจากความยั่งยืนในเชิงโครงสร้างแล้ว ความยั่งยืนในระดับบุคคล เช่น นายกมีการจัดการความรู้ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ ก็จะกระเทือนต่อโครงสร้างเยอะ เพราะเขาเป็นคนหลัก คนสำคัญของชุมชน คนเหล่านี้เปลี่ยนแล้ว ก็เป็นจุดคานงัดให้ชุมชนเปลี่ยนได้  สิ่งที่เราเห็นจากการทำงานคือ การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับโครงสร้างจนถึงตัวบุคคลข้างล่าง

สิ่งที่เราทำได้ดี
สิ่งที่เราทำได้ดี คือ สามารถจับ อบต.ได้มั่นอย่างน้อย ๒ อบต.ในภาคกลาง ส่วนพื้นที่อื่นใช้กลไกในพื้นที่ติดตามและสนับสนุน  และเราจับหมู่บ้าน ๑ หมู่บ้าน เพื่อเป็น Social Lap เราจึงเน้นให้ สกว.แม่โจ้ เฝ้าดูปางจำปีให้ดี เพื่อสร้างความรู้ เอาไปใช้กับตำบลอื่นๆ


สิ่งที่เราทำได้ดีอีกอย่างคือ การสร้างคน ให้โอกาสคนในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นระดับพี่เลี้ยง และตัวแกนนำชุมชน


เรื่องเครือข่ายจะมีตัววัดกันอยู่ที่เวทีตลาดนัดความรู้กำแพงแสน  หากเขาดึงความรู้จากกรณีเด่น (best practice) ในกลุ่มเรียนรู้ไปใช้ ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ

สิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดี
การทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เราทำได้ดี (เรามีความคิด ความเชื่อ และเป้าหมายบางอย่างซึ่งเป็นนามธรรมอยู่ และเราก็มีรูปธรรมที่ไปขับเคลื่อนความคิด ความเชื่อ และเป้าหมาย ในพื้นที่ต่างๆ)  แต่การทำรูปธรรมให้เป็นนามธรรม เรายังทำได้ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการชี้ให้เห็น หรือดึงออกมาเป็นเรื่องเล่า วีซีดี โปสเตอร์ คู่มือ หนังสือเชิงสังเคราะห์หรือตำราซึ่งเป็นการถอดประสบการณ์ออกมา มีทั้งหลักการ ทฤษฎี และกรณีตัวอย่างที่เป็นการประยุกต์ใช้หลักนี้  ซึ่งจะบอกได้ว่าสิ่งที่แหล่งทุนทั้งหลายทุ่มทุนสร้างกับเรา มันคุ้มค่า

สิ่งที่ขยายผลได้และกลายเป็น bran name คือ ใครอยากจะเอาการจัดการความรู้ไปใช้ต้องวิ่งมาหาเราอยู่เรื่อย ทำให้เราต้องสร้างคนให้เป็นนักฝึกอบรมให้ทัน

หมายเลขบันทึก: 84097เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท