การจัดการ "สมอง" ของชาติ


สมองของชาติ
เรื่องของ สมอง ของชาติเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยประมาณ 8 แสนคน เด็กเหล่านี้ประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 8,000 คน มีสติปัญญาเลิศระดับอัจฉริยะ อีกประมาณร้อยละ 10 หรือ หรือ 80,000 คน เป็นเด็กที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด หากประเทศไทยมีการจัดการ สมอง เหล่านี้ เพื่อให้เติบโตมาทำงานสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเต็ม ซึ่งในสภาพสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ประเทศต่างๆ แข่งขันและร่วมมือกันโดยใช้ความรู้เป็นพลังผลักดันการจัดการ สมอง เพื่อพัฒนาให้มีความรู้และจิตนาการสร้างสรรค์ นวัตกรรม จึงเป็นเรื่องที่ความสำคัญยิ่ง และถ้าหากเรามองประเด็นเหล่านี้ให้ลึกซึ้ง การส่งเสริมจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญกว่าการส่งเสริมความรู้ ดังคำของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ว่า “Imagination is more important than knoweldge”  ซึ่งค่นอข้างจะเกี่ยวเนื่องกับลักษณะการเรียนในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning: BBL)” ซึ่งเป็นการความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับการเรียนรู้ของเด็ก โดยเน้นให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติและมีปฏิสัมพันธ์เชิงกายภาพกับสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการ ใช้ดนตรี ศิลปะ การคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นต้น เพื่อเป็นการฝึกฝนการใช้ปัญญาทั้ง 8 ด้านตามทฤษฏี พหุปัญญา ได้แก่ 1. ปัญญาด้านภาษา 2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ 3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5. ปัญญาด้านดนตรี 6.ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ 7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง และ 8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา เหล่านี้ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางการเรียนรู้ ซึ่งคงจะต้องการพัฒนา สมอง ของคนทั้งประเทศไปพร้อมๆกันด้วย โดยประเทศจะต้องมีการจัดการความรู้ จัดการเรียนสำหรับคน 63 ล้านคน เพื่อให้เป็น สมอง เป็น หัวใจ และเป็น มือ ของชาติต่อไป 
คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 83617เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท