การจัดการความรู้กับคนพิการ


KM กับคนพิการ
หลังจากได้เขียนบทความเกี่ยวกับการจัดการความรู้ไปหลายบทความแล้ว ผู้เขียนมีโอกาสได้พบเห็นการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ของผู้พิการในการทำงานจริง ซึ่งสามารถเป็นตัวอย่างของผู้พิการที่ความประสงค์จะศึกษาหาความรู้อย่างไร้ขีดจำกัด กรณีศึกษา คือ นายอนุสรณ์ ทองโสภิต ชื่อเล่นว่า โอม โอมเป็นผู้พิการมีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถพูดได้เพียงบางคำ การสื่อสารส่วนมากเป็นการอ่านและการใช้ภาษามือ และเวลาพูดกับโอมนั้นจะต้องพูดช้าๆและเสียงดังเพื่อให้โอมสามารถอ่านริมฝีปากออกว่าต้องการสื่อสารอะไร นิสัยส่วนตัวโอมเป็นคนที่รักและใฝ่หาความรู้ให้ตนเองเพื่อพัฒนางานของตนเองอยู่เสมอ ความพิการดังกล่าวมิได้เป็นอุปสรรคกับการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของโอมเลย ซึ่งงานประจำของโอมเป็นเจ้าหน้าที่ให้บริการยืม-คืน สื่อวิดิทัศน์ , CD, VCD, CD-ROM ในฝ่ายผลิตและพัฒนามัลติมีเดีย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จากความตั้งใจทำงานดังกล่าวทำให้โอมได้รับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการความรู้ (Master of Science in Knowledge Management) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  ซึ่งการเรียนในวิชาแรกๆ ค่อนข้างมีปัญหาสำหรับโอมมาก เนื่องจากจะต้องอ่านข้อมูลจากสไลด์ของ PowerPoint ที่อาจารย์นำเสนอ โชคดีที่ได้รับความเมตตาจากเพื่อนๆในชั้นเรียนที่คอยช่วยเหลือโอม ในการอธิบายในบางครั้งในกรณีที่โอมไม่เข้าใจ ซึ่งในจุดนี้ก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในชั้นเรียนได้ในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าประทับใจมากกว่าเรียนในชั้นก็คือ โอมสามารถนำความรู้จากการเรียนมาพัฒนางานของตนเองที่ผนวกเอาความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างผลงานได้อย่างชัดเจนน่าชมเชยคือ อาทิตย์แรกหลังจากเรียนคร์อสแรก โอมก็กลับมาตัดสติ๊กเกอร์เป็นคำของเพื่อเรียงให้ CD ในหมวดต่างๆ เช่น ตัดและติดต่อสติกเกอร์จนเป็นคำว่า e-Learningลงบนสันของตลับ CD ที่เรียงกันเป็นแถว โอมบอกว่าวัตถุประสงค์ของการทำแบบนี้เนื่องจากความสวยงามและป้องการสูญหายของสื่อที่วางเรียงบนชั้น เพราะถ้า CD อันไหนหายไปจากทำให้ตัวอักษรเรียงแล้วไม่ได้ครบที่ติดเอาไว้ หลังจากนั้นอีกอาทิตย์ต่อมาหลังจากได้เรียนแล้วโอมได้พัฒนากระดาษและตารางการออกอากาศที่เป็นรูปการ์ตูนที่น่ารักๆและน่าสนใจเพื่อไว้ให้บริการสื่อแก่ผู้มาใช้บริการ โดยให้ตัวการ์ตูนเหล่านี้เป็นผู้ให้ข้อมูล สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการเรียนรู้ของผู้พิการ อยากให้โอมเป็นตัวแทนของผู้พิการแต่สามารถนำความรู้ไปใช้จัดการกับการงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนคนปกติทั่วไป    
คำสำคัญ (Tags): #km กับคนพิการ
หมายเลขบันทึก: 83616เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์  
  • แวะมาทิ้งรอยไว้ก่อน  เดี๋ยวกลับมาอ่านใหม่นะคะ   สนใจเรื่องน้องโอม ค่ะ  แต่คุณนายสายเสมอ  วันนี้ไม่อยากไปทำงานสายอ่ะค่ะ   ^__*

ค่ะ.....ด้วยความยินดีค่ะ...พอดีเรื่องของโอมได้ลงหนังสือด้วยค่ะ เลยอยากเอามาแชร์ให้เพื่อนได้อ่านกันค่ะ

เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากค่ะ สำหรับน้องโอม++

อาจารย์คะ ถ้าเราต้องการจะจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มากมายในประเทศ จะมีแนวทางใดบ้างคะที่จะทำได้ให้เหมาะสมกับคนพิการที่เขาจะสามารถเรียนรู้ได้และสามารถทำให้เขาใช้ประกอบอาชีพได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท