จัดชั้นวารสารทีไร...ทุกที


เมื่อชั้นวารสารมีปัญหา ก็ต้องมาคุยกัน..
     กิจกรรม T(uesday) Talk เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงาน วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ในหัวข้อที่ชื่อว่าจัดชั้นวารสารทีไร ….ทุกที โดยคุณน้องปุก คุณน้องตุ๋ย และคุณน้องน้ำตาล บรรยากาศของกิจกรรมในวันนี้ที่ดูจะซีเรียสกว่ากิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งหลับบ้างและตื่นบ้าง แต่ทุกคนก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดี  โดยคุณน้ำตาลซึ่งเป็นวิทยากรหนึ่งใน 3 ท่าน  ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ถามคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องวารสาร คำถามแรกที่ผู้ร่วมกิจกรรมได้ซักถามวิทยากร คือ “หลักของการจัดชั้นวารสาร” และอีกหลายคำถามที่ทุกคนอยากจะรู้
     แต่วันนี้ผู้ดำเนินการรายการของเราเปลี่ยนจากคุณสุดาคนสวยเป็นคุณพี่แอน ได้ ให้วิทยากรทั้ง 3 ท่านเล่าว่ามีอะไรบ้างที่
ชั้น 3 …
     ขึ้นบันไดเลี้ยวซ้ายจะเจอกับชั้นวารสารภาษาไทยได้รับบริจาค ซึ่งสามารถยืมได้ ไม่ได้ทำ index หากเก่ามากจะเก็บไว้บริจาคโรงเรียนหรือขาย
     ติดกับผนังทางเข้าห้องปริญญาโท จัดเก็บวารสารรายสัปดาห์เย็บเล่ม ซึ่งมีวารสารมติชน สยามรัฐ แม่และเด็ก เนชั่น Reader’s digest ซึ่งเก็บ 5 ปี ย้อนหลัง
     ต่อไปเป็นวารสาร Top ฮิต เป็นวารสารปีปัจจุบันที่ยังไม่เย็บเล่ม มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นวารสารกึ่งวิชาการ เช่น ใกล้หมอ ชีวจิต ยานยนต์ ฯลฯ  ในอนาคตจะมีป้าย Poppular ติดที่ชั้น  เกณฑ์เลือกวารสาร top ฮิตไปวางบริเวณนั้น เนื่องจากผู้ใช้บริการเยอะมาก
     ในห้อง มีวารสารภาษาต่างประเทศล่วงเวลา หนังสือพิมพ์ย้อนหลัง 3 วัน สยามจดหมายเหตุปีปัจจุบัน ซึ่งวางในตู้กระจกบริเวณเคาน์เตอร์ สยามจดหมายเหตุฉบับเก่าเย็บเล่มเก็บที่อาคาร 1 ชั้น 1  ด้านหลังชั้นหนังสืออ้างอิง
     เข้าไปในห้องทำงานมีราชกิจจานุเบกษาฉบับปัจจุบัน แต่ฉบับที่เย็บเล่มแล้ววางอยู่ชั้น 1 ตึกใหม่
     ออกมาหน้าห้องบริเวณห้องแอร์มีวารสารบริจาคฉบับภาษาอังกฤษ
     จากห้องทำงานเลี้ยวซ้ายด้านขวามือเป็นวารสารภาษาไทยฉบับปัจจุบันจัดเรียงตามตัวอักษร ก-ฮ เป็นวารสารวิชาการ ต่อจากวารสารที่มีชื่อเป็นภาษาไทย จะเป็นวารสารภาษาไทยที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น computer today โดยดูจากหน้าปกว่าพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย สมมุติว่าแต่ก่อนวารสารที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษเคยวางรวมกับชื่อภาษาไทย แต่ตอนนี้หน้าปกได้เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งขึ้นอยู่กับความความถี่ของชื่อที่เปลี่ยนไป ก็จะมีป้ายที่ชื่อภาษาไทยบอกไว้ว่าให้ไปดูที่ชื่อภาษาอังกฤษที่อยู่หลังสุดของชั้น
     ต่อจากนั้นเป็นวารสารภาษาไทยเย็บเล่ม ซึ่งอยู่หลังวารสารภาษาไทยเล่มปลีก ในสัปดาห์หน้าจะมีการขยายชั้นวารสารภาษาไทยเย็บเล่มใหม่ โดยเรียงเป็นหน้ากระดานยาวเลย เรียงจากซ้ายไปขวาจากขวาไปซ้ายเหมือนชั้นหนังสือภาษาไทย และจะมีชื่อติดอยู่ที่ชั้นและหัวชั้นเหมือนเดิม
     สุดท้ายคือวารสารภาษาอังกฤษ ฉบับใหม่ล่าสุดวางที่ชั้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้กับชั้นวารสารภาษาไทยฉบับปลีก ฉบับล่วงเวลาวางในห้อง ฉบับเย็บเล่มตอนนี้ได้จัดกลุ่มใหม่แล้ว โดยวารสาร Abtract วางติดริมหน้าต่างด้านทิศใต้  วารสารภาษาอังกฤษเย็บเล่มจัดเรียงตามตัวอักษร A-Z  โดยไม่นับ article (a, an, the)
     ในอนาคตจะติดหมายเลขสำหรับวารสารชื่อต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการตามตัวเล่ม
หมายเลขบันทึก: 83425เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • คนทำงานพิษณุโลก เข้ามาอ่านเก็บความรู้ จากคนทำงานสงขลาค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ที่มน. ก็มีการติดหมายเลขไว้ที่วารสาร ทั้งหมายเลขที่วางบนชั้น และหมายเลขหมู่ของวาสารด้วย 
  • แต่เวลาเย็บร่วมขึ้นชั้นแล้ว กลับหายาก ทุกที เพราะว่าการรวมคำว่า วารสาร ข่าวสาร
  • อยากทราบว่าที่นี่มีการเก็บสถิติการใช้วารสารฉบับปัจุบันบ้างหรือเปล่าค่ะ มีวิธีการอย่างไรบ้าง เพราะที่นี่เก็บแต่ สถิติล่วงเวลาเท่านั้น

ต่อไปนี้ ค้นหาวารสารทีไร...เจอจนได้ ทุกที

ดีใจจัง  วันนี้...ได้เรียนรู้เรื่อง Go Toknow  แถมได้สมัครสมาชิกด้วย

          ผู้ใช้บริการมักจะบ่นว่าหาวารสารเย็บเล่มยาก ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เท่าที่สังเกตดู วารสารทั้งสองประเภทจะมีจุดที่ทำความยุ่งยากให้ผู้ใช้อยู่พอสมควร สำหรับภาษาไทย ผู้ใช้สับสนเรื่องชื่อวารสาร เพราะมักจะติดอยู่กับความคิดว่า วารสารจะต้องมีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า วารสาร ก็เลยไปหาที่ตัวอักษร ว บางคนสงสัยว่าชื่อที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า จุลสารเป็นวารสารด้วยหรือเปล่า ยังมีชื่อที่ขึ้นต้นด้วยคำว่านิตยสารอีก แถมยังมีชื่อเป็นตัวย่ออีก เช่น วารสาร สสวท เป็นต้นจะเห็นว่าชื่อวารสารสร้างความสับสนให้ผู้ใช้ได้มากเอาการ แม้ตัวผู้ให้บริการเองก็ต้องลำดับความคิด เวลาไปหาวารสารให้ผู้ใช้ ทำคู่มือให้หน่อยได้ไม๊ค่ะ 

          สำหรับวารสารภาษาต่างประเทศก็ไม่น้อยหน้าค่ะ ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย a and the จะไม่เอามานับเป็นชื่อ เช่น The Analyst จะต้องไปดูที่ตัวอักษร A แต่ถ้า the ไปปรากฏอยู่ในส่วนอื่น เช่นอยู่ตรงกลางของชื่อ เช่น  Journal of the american........ อย่างนี้นับรวมเป็นชือด้วยต้องไปดูที่ตัว J  ยังมีอีกค่ะ บางชื่อคำเดียวกันค่ะ แต่แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น Electronic และ Electronics สองคำนี้แตกต่างเฉพาะตัว S ตัวสุดท้ายตัวเดียว แต่มันอาจจะถูกจัดวางบนชั้นที่ห่างกันมากก็ได้ ขึ้นอยู่กับคำต่อไป เช่น Electronic ; Electronics computer; Electronics world ต่างกันเพราะตัว S ตัวเดียวทำให้ผู้ใช้หาวารสารไม่เจอได้ค่ะเพราะตอนจำมาอาจจะไม่ได้ละเอียดถึงขนาดว่าจะสังเกตุเห็นว่ามีตัว S อยู่ด้วยนะ ในห้องสมุดที่มีวารสารเย็บเล่มเป็นจำนวนมาก ๆ มีชื่อวารสารที่คล้าย ๆ กันมาก ทำให้ผู้ใช้และผู้ให้บริการสับสนได้ ยังมีตัวอย่างอีกมากแต่ปวดหัวมาเลยค่ะถ้าต้องอธิบายทั้งหมด แล้วผู้ใช้จะไม่บ่นได้ไงค่ะ เวลาให้บริการใจเย็น ๆหน่อยนะค่ะ ตอนนี้กำลังจะทำคู่มือออกมาให้ใช้กันค่ะ คาดว่าผู้ใช้ และผู้ให้บริการวารสารของหอสมุดคุณหญิงหลงจะรู้สึกสดวกขึ้นกว่าเดิมค่ะ รอดูต่อไปนะค่ะ ไม่นานเกินรอ

                                         ขอบคุณค่ะ

                                              

สวัสดีค่ะ เป็นน้องใหม่คะที่ทำงานเกี่ยวกับวารสารในมหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง น้องมีข้อสงสัยอยากถามคะ

ทำไมเวลาติดหมายเลขที่วารสารและหมายที่วางบนชั้น เวลาผู้ใช้หยิบแล้วตั้งไม่ตรงกับชื่อเลขเรียกวารสาร มันดูมั่วไปหมดแล้ว แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรให้มันดูเรียบร้อย และค้นหาได้ง่าย ในความคิดของน้อง คิดว่าน่าจะเปลี่ยนชั้นวารสารใหม่ แยกเป็นหมวดหรือกลุ่ม เช่น หมวดเบ็ดเตล็ด หมวดสังคมศาสตร์ แล้วติดสีที่วารสาร และรายชื่อวารสารที่ชั้น พี่ๆคิดว่าวิธีนี้มันดีไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท