แนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยต่อยอดจากแนวคิดการพัฒนาคุณภาพ(3)(ต่อ)


ทบทวนการสร้างเสริมสุขภาพแบบง่ายไม่เป็นภาระ

(ต่อ) 

11. การทบทวนการใช้ทรัพยากร (Utilization Review)          

จากปัญหาพบว่า โรงพยาบาลต้องมีค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น DM HT ที่ OPD เป็นจำนวนมากและค่าใช้จ่ายค่ายารักษาผู้ป่วยสูงมาก

ท่านจะมีวิธีการทบทวนอย่างไร

          ถ้าสามารถ Empower ป่วยและ จนท. PCU /สอ ให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ดีพอสมควรจะลดค่าใช้จ่าย ?

          การใช้งบประมาณในการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่ชุมชน (Empowerment , Lift Style , Prevention)  จะทำให้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอ ทำให้เกิดผลระยะยาวที่ดีกว่าเดิม ?

 12. การติดตามเครื่องชี้วัดสำคัญ

          กำหนดเครื่องชี้วัดที่สะท้อนคุณภาพของงานสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งอาจจะเป็นคุณภาพและประสิทธิภาพของ health intervention, ผลลัพธ์ด้าน health outcome ในแต่ละกลุ่มผู้ป่วย, ผลลัพธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย, ผลลัพธ์ด้านศักยภาพของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเอง

          การกระตุ้นให้มีการนำเสนอผลงาน/ผลลัพธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ จะช่วยให้หน่วยงานมีกำลังใจและนำมาต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากขึ้น

          การที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจเรื่องเดียวกันมาทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (KM) จะสนับสนุนให้มีการต่อยอดและเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างยั่งยืน         

 จากนำเสนอตัวอย่างและแนวทางการทบทวนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้แนวคิดง่าย ๆ ไม่ยึดติดกรอบ ทำให้ง่ายต่อการทบทวนและทีมงานจะไม่รู้สึกเป็นภาระและเกิดความท้อแท้  ที่สำคัญผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทบทวนดังกล่าวจะเห็นเป็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั้งคุณภาพ และการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม

จะนำเสนอผลงานและผลลัพธ์ของ HPH อย่างไรดี

ผลลัพธ์ที่ตอบตามมาตรฐานต้องนำเสนอ (ในภาพใหญ่) องค์ประกอบที่ 7 เป็นส่วนที่โรงพยาบาล (ทีมนำต้องตอบ)

          ถ้าเป็นแบบประเมินแบบเดิม (บูรณาการ) ส่วนของการดำเนินงาน / กิจกรรม สามารถเติมในทุกส่วนที่ Integrate หรือใส่ในกระบวนทำงาน ข้อ 2.1 ส่วนผลลัพธ์ที่ดีควรลงในผลงานเด่น สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ข้อ 3.1 และ 3.2  ระดับ PCT อาจแยกผลงานในองค์ประกอบที่ 3-6 ออกมาจากแบบประเมิน ?

          ถ้าเป็นมาตรฐานใหม่ผลลัพธ์จะตอบใน Part ที่ 

          ถ้ามีผลงานเด่น ๆ หลายเรื่องจากหลายหน่วยงานอาจรวบรวมกิจกรรมเป็นเล่ม เหมือนรวบรวม CQI Story เป็น HPH Story ก็ได้

เฉลิมพงษ์ สุคนธผล

หมายเลขบันทึก: 83016เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท