ทำไมเราทำงานหนักและเหนื่อย : สมพร เพชรสงค์


ทำไมเราทำงานหนักและเหนื่อย

“ทำไมมันเหนื่อยมันวุ่นวายอย่างนี้นะ...”
“อะไร...เอาอีกแล้วหรือ...รู้กันบ้างไหมว่าโรงเรียนเขาก็ทำของเขาอยู่ ยุ่งจริง...”
มักได้ยินเสียงบ่นที่คล้าย ๆ กันระหว่างเพื่อนฝูง ผู้บริหารด้วยกัน...นั่นหมายถึงการทำงานวันนี้ที่สถานศึกษาคล้าย ๆ กันกับเสียงของครูที่พึมพำทำนองว่า...
“ผู้บริหารก็จะเอา จะเอา เอานั่นเอานี่อยู่เรื่อย นี่เด็กก็จะสอบ ธุรการชั้น ปพ.5 ปพ.6 ปพ.8 ก็ยังทำไม่เสร็จ ลูกเสือเนตรนารีก็จะไปเข้าค่ายกันอีกแล้ว อ่านออกเขียนได้ก็จะเร่งเอา ๆ แล้วนี่ลูกจะเข้าม.1, ม.4 ปีนี้ ที่ไหนดีโรงเรียนดัง ๆ แน่ะ”
น่าเห็นใจมาก...จริง ๆ ผู้บริหารและครูวันนี้เสียงบ่นกับเสียงถอนหายใจยังคงท้าทายตนเองไปเรื่อย ๆ ล้วนเป็นความทุกข์ความกังวลทั้งส่วนตนและราชการ นี่คือส่วนหนึ่ง เกิดอะไรขึ้นหรือ เห็นควรตั้งหลัก (สติ) ใหม่อีกนิด ต้องยอมรับว่าวันนี้ผู้บริหารและครูเราเหนื่อย พื้นฐานง่ายๆ ปัจจัยป้อนล้วนจำกัดไปหมด นักวิชาการกลับค้านว่าคน เงิน วัสดุ เครื่องมือ น่าจะใช่แต่การบริหารจัดการไม่ใช่เป็นข้อจำกัดของนักบริหารมืออาชีพ ถ้าทุกอย่างพร้อมแล้วใครก็ได้มาบริหาร ไม่จำเป็นต้อง  คัดสรรมืออาชีพมาทำงาน จากบางส่วนของเสียงบ่นข้างต้น มันยังไม่กระหึ่มพอ แต่ก็มากพอที่บุคคลในวงการเรากำลังเป็นทุกข์
หลักง่ายๆ เกือบทุกโรงเรียนอยู่ในโครงการวิถีพุทธ ธรรมะ ศีล สมาธิและปัญญา สิ่งดีที่ต้องวิเคราะห์ตีความลงสู่การปฏิบัติ แต่ถ้าจดจ้อง (Focus) ลงไปที่อริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะร้องอ๋อ ใช่เลย ความจริงแท้แห่งหลักการแก้ปัญหา
ปราชญ์แห่งวงการศึกษาไทย ศ.ดร.สาโรช บัวศรี เคยนำธรรมะที่ทรงคุณค่านี้มาเป็นทฤษฎีการบริหารจัดการและการทำงานในองค์การ ปฏิบัติได้ทั้งส่วนงานและส่วนตนทุกอย่างมันเกิดและมีมาจากเหตุ หนทางบำบัดเหตุล้วนมีทางเลือกให้ดำเนินการมากกว่าหนึ่ง สิ่งพึงคำนึงคือ มีงานแบบเห่อ ๆ “เบอร์ห้า” ไหม อันไหนงานจริง อันไหนงานรอง   ไหนงานร้อน อะไรคือแก่นแท้แห่งภารกิจ ทุกเรื่องที่เข้ามาให้ทำกับอำนาจตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จเอื้ออำนวยให แต่ทั้งนี้  การตัดสินใจต้องอยู่บนข้อมูลที่มีคุณภาพ มิใช่เจตคติหรือความรู้สึกส่วนตัวหรือถูกสั่งมา มิเช่นนั้นก็คือการเดินไปสู่กับดัก
พบว่าส่วนใหญ่ยังมีอุดมการณ์มุ่งมั่นเสมอต้นเสมอปลาย เหนื่อยและหนัก แต่พอดูผลลัพธ์เหมือนกับว่าไม่ได้การได้งาน ทั้งด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน ทั้งที่มีจุดวัดคุณภาพตั้งไว้ให้เห็นจะจะอยู่แล้ว 18 มาตรฐาน นั้นคือผลแห่งการกระทำสู่ความเชื่อมั่นที่ยอมรับในปัจจุบัน
ดังนั้น งานอะไรที่พึงทำนำไปสู่อย่างถูกทิศทางก็นี่แหละ ลองคลี่ออกดูให้เห็นแท้ ๆ แล้วเชื่อมโยงบูรณาการ (Integrate) จะพบว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ ที่ใช่ให้ความสำคัญมันจริง ๆ ที่ไม่ใช่ไว้อันดับหลัง ๆ ลองตั้งหลักวิธีคิดใหม่ ปฏิบัติเสียใหม่ ถ้าทำแบบเดิมก็ได้ผลเดิม ๆ ถ้าทำแบบใหม่อาจได้ผลใหม่ที่เปลี่ยนไป ยังได้กำไรใช้เป็นวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้เป็นผลงานตัวเอง ได้ความสุขก็มี และมูลค่าเพิ่มก็เกิด
เคยอ่านผลงานแปลของนิดดา หงส์วิวัฒน์ (2532) จากเรื่อง The Winner and the Loser ความหนึ่งว่า
ผู้แพ้  :  ยุ่งอยู่ตลอดเวลากับสิ่งที่เรียกว่าจำเป็นแต่ไม่ได้งานได้การ
ผู้ชนะ  :  ทำงานหนักได้งานมีเวลาเหลือ
จะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะดีล่ะ มีทางเลือกหลายทางถ้านึกไม่ออกบอกอีกที อริยสัจสี่ และมีเป้าหมายรออยู่แล้วที่มาตรฐานการศึกษาไงเล่าครับ งานเรา
ขอให้ทุกคนหลบหลีกกับดัก โดยไม่หนักและเหนื่อยได้อย่างปลอดภัยก็แล้วกัน

คำสำคัญ (Tags): #สมพร เพชรสงค์
หมายเลขบันทึก: 82854เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

    ชอบตรงที่สรุปตอนสุดท้ายค่ะ  ความแตกต่างระหว่างผู้แพ้กับผู้ชนะ

    เห็นใจค่ะว่างานมาก เคยมาเยี่ยม สพท.สุราษฏร์ และอีกไม่นาน ดร.สุวัฒน์ก็จะมาเยี่ยมชมกิจการในโครงการจัดการความรู้ค่ะ

ขอบคุณครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น หากมีเวลาเข้าเยี่ยมชมหัวข้อ "ผู้บริหารบูรณาการถึงผู้เรียน...ก็ได้" ซึ่งได้ลงไว้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 และหากมีข้อเสนอแนะบอกกล่าวกันได้นะครับ... สมพร เพชรสงค์
ครูสุณี บ้านใหม่สามัคคี

ท่านมีสิ่งสาระใหอ่านให้คิด ก็จริงๆนั่นแหละ ทำและก้ต้องปล่อยวาง จัดการในสิ่งจำเป็นก่อน แต่ต้องขอโทษเข้ายุควิกฟติ เพิ่งปรากฎให้เขตทวงงาน กำลังปรับปรุง ใช่เลยข้อความของท่านที่โพสต์ลงเยี่ยมจริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท