ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน


ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอนแต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้

การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่สองในบุคคลทั่วไป

 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ

  • ผู้ที่มีอาการเป็นโรคเบาหวาน
  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวาน
  • อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า25% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็น
  • อายุมากกว่า40 ปีหากปกติให้ตรวจทุก 3 ปี
  • ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก3ปี

วิธีการตรวจ

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด[FPG]สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L]
  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] วัดระดับน้ำตาลกลูโคส2ชั่วโมงหลังได้กินน้ำตาล75 กรัมจะให้การวินิจฉัยเมื่อวัดน้ำตาลสูงกว่า 200มก.%[11.1mmol/L]
  3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 160 มก.% เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยม
  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] ไม่นิยมเนื่องจากมีความไวและความแม่นยำต่ำ
  5. การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

ปกติ

IFG OR IGT

เบาหวาน

FPG<100 mg/dl

2-Hr PG<140 mg/dl

FPG>100mg/dl <126mg/dl   IFG

2-Hr PG>140mg/dl<200 mg/dl  IGT

  • FPG>126mg/dl

  • 2-hr PG>200 mg/dl

  • RPG>200 mg/dl with symtoms

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์[Gestational Diabetes:GDM] 

เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักพบความผิดปกติได้หลายแบบ เช่น เด็กตัวโตมีน้ำหนักมากกว่า4000กรัม [macrosomia] หรือพบความพิการแต่กำเนิด แบ่งผู้หญิงขณะตั้งครรภ์เป็น3กลุ่มดังนี้

  1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์[GDM]ได้แก่ ความอ้วน เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์[GDM] พบน้ำตาลในปัสสาวะ และมีประวัติเบาหวานในครอบครัว
  2. กลุ่มที่เสี่ยงปานกลาง
  3. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่
  • อายุน้อยกว่า25ปี
  • น้ำหนักของหญิงก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนปกติ
  • ไม่พบความผิดปกติในการตรวจน้ำตาล
  • ไม่พบผู้ป่วยเบาหวานในครอบครัวสายตรง
  • พบ[GDM]ในชุมชนต่ำ ในกลุ่มเสี่ยงสูงให้ตรวจหากลูโคสในเลือดให้เร็วที่สุด หากปกติให้ตรวจอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางให้ตรวจหากลูโคสเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ต้องตรวจหากลูโคส

วิธีการตรวจ ให้เจาะวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] >126มก.% หรือ การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร >200 มก.%ให้วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน หากน้ำตาลต่ำกว่านี้ให้ทดสอบว่าเป็น GDM หรือไม่ มีสองวิธี

  1. ทดสอบความทนทานกลูโคส [oral glucose tolerance test:OGTT] โดยการกินกลูโคส100กรัมแล้วเจาะหากลูโคสที่ 1 ,2,3 ชั่วโมง

มก.%

mmol/l

กลูโคสหลังงดอาหาร8-14 ชม.

95

5.3

1-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

180

10.0

2-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

155

8.6

3-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

140

7.8

 

ต้องงดอาหาร8-14ชั่วโมง และกินอาหารไม่จำกัด [glucose>150]gram/day]เป็นเวลา3วันผู้ป่วยนั่งและไม่สูบบุหรี่ตลอดการทดสอบและระดับน้ำตาลต้องเท่ากับหรือเกินค่าในตารางอย่างน้อย2ค่า

  1. การทดสอบความทนทานกลูโคส [glucose challenge test: GCT] โดยการกินกลูโคส 50กรัมแล้วเจาะหากลูโคสถ้าพบว่าสูงกว่า140 มก.%ให้ทำตามข้อ1ต่อไป
  2. การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งไม่นิยมเนื่องจากราคาแพงและยังไม่เป็นที่ยอมรับ
คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 81562เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท