นวัตกรรมที่รองขา – ขาผู้ป่วย


ประพิศ ศรีฟ้า และคณะ
หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสุโขทัย

- การทำแผลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกับอวัยวะส่วนแขน- ขา ที่มีบาดแผลและไม่มีบาดแผลร่วมด้วย ได้รับการรักษาโดยใส่เฝือก หรือแพทย์อาจรักษาโดยผ่าตัดใส่ External Fixation และใส่ Slab ที่ต้องพันด้วย Elastic bandage มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้พยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลมากกว่า 1 คนต่อราย ทำให้ภาระงานอื่นต้องหยุดชะงัก เสียบุคลากรในการปฏิบัติการพยาบาลหรือหัตถการอื่นๆ

ดังนั้น จึงได้ค้นหาโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพ โดยคิดประดิษฐ์ “นวัตกรรมที่รองแขน – ขาผู้ป่วย” เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้การพัน Elastic bandage ง่ายขึ้น โดยนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ สามารรถปรับระดับความสูง –ต่ำ สั้น-ยาว ได้ตามขนาดแขนขาของผู้ป่วย

วิธีการศึกษา
1. ระดมสมองเพื่อกำหนดประเด็นความสำคัญของการบริหารการพยาบาลในหน่วยงาน
2. เลือดประเด็นสำคัญของการบริหารการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการบริการ
3. คิดค้นนวัตกรรม
4. ทดลองใช้นวัตกรรม
5. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล

ผลการศึกษา
ผู้ ป่วย 1. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ “นวัตกรรมที่รองแขน –ขาผู้ป่วย” มากกว่าร้อยละ 90 จากแบบประเมินความพึงพอใจ และ Pain Scale บุคลากร 1. ลดบุคลากรในการปฏิบัติการพยาบาล องค์กร 1. ลดต้นทุน (Unit cost) ต่อกิจกรรมการพยาบาล 1 กิจกรรม 2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นและ PCU


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 80873เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท