เพลงพระราชนิพนธ์ “มหาจุฬาลงกรณ์”


เพลงประจำมหาวิทยาลัยของกระผมเองคร้าบ....!

ประวัติของ เพลงพระราชนิพนธ์ “มหาจุฬาลงกรณ์”

เนื่องจากเพลงพระราชนิพนธ์ในระยะแรก ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ทรงใช้ Scale แบบสิบสองเสียง (Chromatic Scale) ทรงใช้คอร์ดอย่างสลับซับซ้อนและพัฒนาออกไปไกลมาก ซึ่งทำให้เป็นเพลงที่จำยาก เมื่อทรงราบเช่นนี้ จึงมีพระราชปรารภว่า แม้แต่เพลงที่ใช้เสียงเพียง 5 เสียง (Pentatonic Scale) ก็สามารถแต่งให้ดีให้ไพเราะได้เช่นกัน จึงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เริ่มวรรคแรก โดยใช้ Scale 5 เสียงขึ้นก่อน จากนั้นจึงทรงต่อจนจบเพลง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2492 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้ขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยมา จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงแบบใช้ Pentatonic Scale คือ 5 เสียง ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ก่อนแล้ว พระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโปรดเกล้าฯให้ใส่คำร้องเอง ภายหลังท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา กับนายสุภร ผลชีวิน จึงได้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย
เมื่อต้น พ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นำทำนองเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” ในแนวสากลมาแต่งทำให้เป็นแนวไทยเดิม นายเทวาประสิทธิ์ รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์ถึงสองครั้งด้วยกัน

ต่อมาเมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำเพลงนี้มาปรับปรุงให้เป็นเพลงโหมโรง สำหรับใช้โหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม

เนื้อเพลงมีดังนี้ครับ

 

น้ำใจน้องพี่สีชมพู
พระคุณของแหล่งเรียนมา
ขอทูนขอเทิดพระนามไท
ขอองค์พระเอื้ออาทร
นิสิตพร้อมหน้า
ความดีทุกอย่างต่างปอง
ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง
ถาวรยศอยู่คู่ไทย

ฟังได้ที่นี่ครับ http://www.supremeartist.org/thai/music/song_list.html

มีการร้องสลับท่อน ชาย- หญิง และชาวจุฬา จะยืนตรงทุกครั้งที่ได้ยืนเพลงนี้

ประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับเพลงนี้

จำได้ว่าได้ยินเพลงนี้ครั้งแรกเพราะคุณแม่ฮับเพลงนี้เสมอ แต่คุณแม่จบจาก มอชอ ครับ ไม่ได้จบจุฬาแต่อย่างใด แต่ที่ร้องได้เพราะกิ๊กเก่าของท่านเรียนจุฬา แล้วส่งเทปเพลงมหาวิทยาลัยมาให้ท่านฟัง เลยร้องได้ไปโดยปริยาย

บางท่านอ่านได้อ่านเกี่ยวกับเพลงนี้จากบันทึกของอาจารย์ BeeMan แล้วนะครับ หวังว่าคงยังไม่เบื่อ และต้องสวัสดีรุ่นพี่ทุกคน ทั้งอาจารย์ BeeMan และท่านอื่นๆด้วยนะครับ

คราวหน้าจะนำเพลงอื่นมาเล่าให้ฟังกันอีก แต่ท่านใดมีความรู้น่าสนใจช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันนะครับ

เกล็คความรู้แนบท้าย

ถ้าความจำของผมไม่ผิดเพี้ยน จำได้ว่า คำว่า "นิสิต" เป็นคำที่พระราชทานเพื่อใช้เรียกนักศึกษาที่เรียนและพักอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย ใน 3 มหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ 3.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และนิสิตหญิงให้ใช้คำเรียกว่า นิสิตตา แต่ปัจจุบันไม่พบว่ามีการใช้กันแล้ว

พบแต่ในเพลงประจำหอพักของจุฬา ในเพลง "หอพักรักของข้า"  (ช) เรานิสิต (ญ) นิสิตตา (พร้อม) ชีวิตชีวาร่าเริงเร้า เรารักหอ หอรักเรา แดนไหนเล่าสุขเท่าจุฬา"

เขียนแล้วอยากกลับไปเป็นวัยรุ่นอีกครั้งจัง คิดถึงพี่น้องชาวหอซีมะโด่งทุกคนครับ

ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา
จุฬาลงกรณ์
พระคุณแนบไว้นิรันดร
หลั่งพรคุ้มครอง
สัญญาประคอง
ผยองพระเกียรติเกริกไกร
นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
เชิดชัยชโย
 

 

 

 
หมายเลขบันทึก: 79982เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท