งานชิ้นที่ 2 งานวิจัยกับบ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ
งานวิจัยเรื่องการลงโทษบุคคลซ้ำในความผิดกรรมเดียวตามาตรา 39 ( 4 ) ป.วิอาญา กับมาตรา 11 ป.อาญา กับบ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ
บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ได้แก่ หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม คือ
1. สนธิสัญญาหรืออนุสัญญา
2. จารีตประเพณีระหว่างประเทศ
3. หลักกฎหมายทั่วไป
4. แนวคำพิพากษาศาลระหว่างประเทศ และทฤษฎีของนักกฎหมายผู้ทรงคุณวุติ
การลงโทษบุคคลซ้ำในความผิดกรรมเดียวได้มีกำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966
ข้อ 14 อนุมาตรา 7 บุคคลย่อมไม่อาจถูกพิจารณา หรือลงโทษซ้ำในการกระทำผิดกรรมเดียวกัน ซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษหรือปล่อยตัวแล้วตามกฎหมาย และวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศ
จากบทบัญญัติดังกล่าวการที่จะลงโทษบุคคลนั้น ต้องเป็นการกระทำผิดที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิด เมื่อมีการกระทำที่เป็นความผิดแล้วศาลก็ลงโทษบุคคลได้ และหากศาลได้ลงโทษบุคคลนั้นแล้ว เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้รับโทษในการกระทำนั้นและไม่อาจถูกลงโทษได้อีกซึ่งตรงกับหลักการที่ว่า บุคคลหนึ่งคนไม่ควรถูกลงโทษในความผิดเดียวกันสองครั้ง
นอกจากนี้หลักกการดังกล่าวยังถือเป็นหลักสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสากล คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีมาแต่กำเนิดและไม่อาจโอนให้แก่กันได้[1] เช่น การมีเสรีและความเสมอภาคในศักดิ์ศรีและสิทธิพึงปฏิบัติต่อกันอย่างพี่น้อง , การมีสิทธิและเสรีภาพโดยไม่แบ่งแยกด้วยเชื้อชาติ ผิวสี เพศ ภาษา ศาสนา การเมือง หรือความคิด สัญชาติ หรือกำเนิดทางสังคม ทรัพย์สิน และอื่นๆ , การมีสิทธิในชีวิต เสรีพภาพและความมั่นคงของร่างกาย , การมีสิทธิที่จะไม่ถูกยึดถือเป็นทาส , การที่ไม่ต้องถูกทัฌฑ์ทรมานหรือการกระทำที่โหดร้ายหรือการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยมนุษยชนและการกระทำหรือการลงโทษที่เป็นการลบหลู่เกียรติ , การที่ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการนับถือโดยเท่าเทียมกันตามกฎหมาย , การเสมอกันตามกฎหมายและการมีสิทธิได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน , การได้รับการเยี่ยวยาจากศาลยุติธรรมแห่งชาติต่อการละเมิดสิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย , การที่จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง หรือเนรเทศโดยพลการ , การที่ถูกฟ้องในคดีอาญามีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในศาลยุติธรรม โดยเปิดเผย โดยศาลที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของเขาโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน , การที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ , การที่จะถือว่าบุคคลนั้นกระทำความผิดและรับโทษทางอาญานั้นต้องมีกฎหมายใช้บังคับอยู่ในระหว่างที่กระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่ลงจะลงงสูงกวี่กฎหมายกำหนดไม่ได้ , สิทธิที่จะไม่ถูกแทรกแซงในชีวิตส่วนตัว ครอบครัว[2] เป็นต้น
ซึ่งถือว่าสิทธิมนุษยชนสากลตามที่ได้กล่าวมาเป็นหลักกฎหมายจารีตประเพณีซึ่งเป็นบ่อเกิดในทางระหว่างประเทศ ที่ต่างประเทศหลายๆ ประเทศให้การยอมรับอีกด้วย ทั้งนี้บ่อเกิดแห่งกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องที่เป็นจารีตประเพณีนี้ ไม่จำเป็นต้องมีหรือไม่มีกฎหมายเขียนไว้เป็นลายลักษรอักษรก็ได้
เมื่อหลักการดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายที่หลายประเทศยอมรับแล้ว หลักการดังกล่าวเมื่อประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามในทางระหว่างประเทศจะทำให้ส่งผลลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร กล่าวคือ หากไม่ปฏิบัติตามประเทศไทยยังอาจถูกรัฐภาคี(รัฐอื่นๆ)ร้องเรียนกล่าวหาต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ( Human Rights Committee ) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกติกาฉบับนี้ว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการคุ้มครองตามกติกา และคณะกรรมการมีอำนาจสอบถามและทำรายงานตามขั้นตอน และหลักเกณฑ์วิธีการที่กติกากำหนดไว้ได้ด้วย การเข้าเป็นภาคีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้อาจมีผลกระทบต่อประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศไทยอาจจำต้องยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย รวมทั้งกฎข้อบังคับในบางฉบับที่ผิดหรือแย้งกับกติกาฉบับนี้หรืออาจต้องตรากฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อรองรับพันธกรณีอันเกิดจากการเข้าเป็นภาคี
ดังนั้นการลงโทษบุคคลในความผิดกรรมเดียวจึงมีบ่อเกิดแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ คือ สนธิสัญญา และจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย แอ็นท์ ใน การบ้านกฎหมายระหว่างประเทศชั้นสูงงานอ.เอ๋
คำสำคัญ (Tags)#2#การบ้านครั้งที่
หมายเลขบันทึก: 79726, เขียน: 20 Feb 2007 @ 20:52 (), แก้ไข: 14 Jun 2012 @ 07:35 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก