GotoKnow

การกำหนดน้ำหนักความสำคัญ สมศ. (รอบ 2)

ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร
เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2548 11:42 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2556 17:12 น. ()
มน. ได้กำหนดค่าน้ำหนักโดยเน้นไปที่คุณภาพบัณฑิตและงานวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

         ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบต่อไป (พ.ศ. 2549-2553) สมศ. ควรกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกระตุ้นการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาและระบบอุดมศึกษาของไทย โดยการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานเป็นรายมาตรฐาน เป็นกลุ่มสาขาวิชา และเป็นรายสถาบัน โดยใช้รูปแบบกัลยาณมิตรประเมินภายนอกต่อไป ในการประเมินควรมีการกำหนดเป็นกลุ่มสถาบัน มีการกำหนดเกณฑ์ประเมินในตัวบ่งชี้ต่าง ๆ แบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ และอิงสถาบันทั้งเชิงการบรรลุแผนของสถาบันและพัฒนาการของสถาบันในช่วงการประเมินรอบแรกและรอบสอง อีกทั้งจากประสบการณ์ประเมินในรอบแรกพบว่าสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความหลากวัตถุประสงค์และหลายรูปแบบอย่างมาก จึงเห็นสมควรออกแบบระบบประเมินให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ปณิธาน และเอกลักษณ์ของสถาบันให้มากที่สุด ดังต่อไปนี้

  

         มน. ได้กำหนดค่าน้ำหนักโดยเน้นไปที่คุณภาพบัณฑิตและงานวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

         1. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต                        (35)

         2. มาตรฐานด้านงานวิจัยและสร้างสรรค์               (35)

         3. มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ                     (20)

         4. มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (10)

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย