เครือข่ายกะเหรี่ยง


ชาติพันธ์กะเหรี่ยง
 กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อีกกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณด้านตะวันออกประเทศธิเบต ก่อนจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่จีนเมื่อประมาณ ๓,๒๓๘ ปีที่ผ่านมา (บุญช่วย,๒๕๔๕ :๕๐) ต่อมาถูกกษัตริย์จีนรุกราน จนต้องถอยร่นเข้ามาในแคว้นสุวรรณภูมิบริเวณน้ำโขงและน้ำสาละวินในเขตพม่า จนสามารถสร้างรัฐของตนเอง ๒ รัฐ คือรัฐกะยา (ดินแดงของกะเหรี่ยงแดง) และรัฐก่อทูเล (ดินแดนกะเหรี่ยงขาว) แต่ต้องเสียดินแดนให้กับพม่าหลังจากได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
สำหรับประเทศไทย ชาวกะเหรี่ยงเข้ามาในบริเวณหัวเมืองล้านนาเป็นกลุ่มที่ ๒ (ภายหลังชาวลัวะ) และเข้ามาก่อนชนชาติไต-ไท โดยเข้ามาจำนวนมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอลองพญาทำศึกกับพวกมอญและตอนอังกฤษยึดครองประเทศพม่าเป็นประเทศอาณานิคม (..๒๔๒๘)
ชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ สะกอ โปว์ และ บวอย นักมนุษยวิทยาได้จัดชาวกะเหรี่ยงอยู่ในกลุ่มภาษาพม่า ธิเบต ที่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง การแต่งกายนิยมทอผ้าใช้เอง ตัดเย็บแบบง่ายๆ เพียงนำผ้าสองชิ้นเย็บติดกัน แต่จะให้ความสำคัญกับสีของชุด เพื่อใช้ในการจัดสถานภาพของคนในชุมชน เช่น สีขาวสำหรับหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน สีดำหรือน้ำเงินสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว และสีแดงสำหรับชายทุกวัย กะเหรี่ยงมักตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณหุบเขา ในระดับความสูงประมาณ ๕๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล นิยมสร้างบ้านยกพื้นสูง ตัวบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็ง ค่อนข้างถาวร ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เพียงไม่กี่กลุ่มที่มีการสืบสกุลทางฝ่ายมารดา หลังการแต่งงานฝ่ายชายต้องย้ายเข้ามาเป็นแรงงานในบ้านของฝ่ายหญิง ชาวกะเหรี่ยงไม่นิยมการหย่าร้าง ยึดถือระบบผัวเดียวเมียเดียว การปกครองของชาวกะเหรี่ยงจะมีผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และฮิโข่หรือ ผู้นำศาสนา เป็นผู้ค่อยดูแลทุกข์สุขภายในหมู่บ้าน

การทำมาหากิน ชาวกะเหรี่ยงเป็นชนชาติที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ที่มีการใช้พื้นที่เพียง ๕-๗ แปลงหมุนเวียนใช้ประโยชน์แปลงละ ๑ ปี และปล่อยทิ้งพักฟื้นที่ดินไว้ประมาณ ๗-๑๐ ปีจึงกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการทำนาดำ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้บริโภคและเลี้ยงวัว ควาย ช้างไว้ใช้งาน

หมายเลขบันทึก: 78536เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท