อาหารปลอดภัย ..ในแง่มุมมาตรฐานของผู้ขาย..


เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าได้กินอาการที่สะอาดปลอดภัย

การดำเนินงานอาหารปลอดภัยในบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขนั้นในช่วงแรกนั้น ในส่วนของผู้บริโภคเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ด้านของผู้ผลิตนั้นในส่วนของผู้ขายอาหารก็ต้องควบคุมคุณภาพเช่นกัน เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตสู่ตลาด จนถึงร้านอาหารหรือแผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าได้กินอาการที่สะอาดปลอดภัย วันนี้ผมจะขอแนะนำการตรวจรับรองร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 ว่ามีเกณฑ์อะไรบ้าง ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับร้านอาหาร และ แผงลอยจำหน่ายอาหารเสียก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร

ร้านอาหาร หมายถึง อาคารที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารสำเร็จ และจำหน่าย ให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ซึ่งครอบคลุมถึงภัตตาคาร สวนอาหาร ห้องอาหารในโรงแรม ศูนย์อาหาร

แผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ หมายถึง มีข้อใดข้อหนึ่ง หรือ หลายข้อรวมกัน ดังนี้

1. มีสถานที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ทางสาธารณะ

2.มีการขายเป็นประจำในบริเวณที่แน่นอน

3. มีการเตรียม ปรุง ประกอบจำหน่ายอาหาร ณ บริเวณ

ที่ตั้งแผง

4. เป็นการจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภค

5. แผงลอยหน้าบริเวณโรงเรียน

***ไม่รวมแผงลอยขายขนม หรืออาหารถุงที่ไม่มีการล้าง เตรียม ปรุง บริเวณที่ขาย

กลุ่มเป้าหมายร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ จะต้องเปิดดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ใน 1 ปี นี่ว่ากันเฉพาะความหมายก็ชักสับสนแล้วนะครับว่าอันไหนคือร้านอาหาร อันไหนคือแผงลอยจำหน่าย อาหาร ซึ่งจะต้องมีการควบคุมให้ได้คุณภาพทั้งนั้นซึ่งมีเกณฑ์แตกต่างกัน ไม่ว่าอยู่ในเมืองหรือชนบท ช่วงหน้า จะมาเล่าต่อถึงเป้าหมายการพัฒนาให้เป็นที่ขายอาหารปลอดภัยต่อไป …

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 78293เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท