เศรษฐกิจพอเพียงกับซอฟท์แวร์เสรี


เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยี                มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่                                              เนื่องจากเทคโนโลยีก่อให้เกิดความก้าวหน้า การถ่ายโอนเทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการหนึ่งของการพัฒนาประเทศ  แล้วจะต้องนำไปสู่ความสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นๆได้อย่างเหมาะสม                             ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ โดยเน้นแนวทางการดำเนินทางสายกลางจะมีส่วนเสริมการถ่ายโอนเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะคือ                                        -          ความพอประมาณ โดยให้คำนึงถึงระดับของเทคโนโลยีก็จะถ่ายโอนให้พอเหมาะกับการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด                                                                  -            ความมีเหตุผล โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ และโทษของเทคโนโลยีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว                               -          การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ทำให้การพัฒนาในเชิงการลงทุนทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างพอดีไม่น้อยเกินไป จนต้องพึ่งภายนอกตลอดเวลา หรือไม่มากเกินไปจนก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือหนี้สินและเตรียมพร้อมถึงกระทบทางลบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนอกจากนี้เศรษฐกิจพอเพียง ยังมีเงื่อนไขด้านความรู้ และคุณธรรม จึงทำให้การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ต้องทำด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง มุ่งประโยชน์กับคนหมู่มาก และประเทศ เพื่อให้การต่อโอนเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และพอเหมาะต่อการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระดับของการพัฒนาประเทศ                                                                       หลักการเศรษฐกิจพอเพียง   มี 3 หลักการ ได้แก่                       1. ความพอประมาณ                2. ความมีเหตุผล                3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว                                                                                                        มี 2 เงื่อนไข ได้แก่1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้  ความรอบคอบ และ ความระมัดระวัง2. เงื่อนไขคุณธรรม                                                                      หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกับกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะในเรื่องแนวคิดการพัฒนาซอฟท์แวร์เสรี(Free Software) และซอฟท์แวร์ โอเพนซอส ( Open Source Software )  ซึ่งในประเทศไทย การใช้ซอฟท์แวร์ต่างๆ ใช้จากต่างประเทศเป็นหลัก  ทั้งในที่เป็นโปรแกรมใช้กันในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตามบ้านเรือน หรือโปรแกรมที่ใช้กันในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวง  กรม หรือโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน                ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ในประเทศไทย1. ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์กับต่างประเทศ2. ปัญหาการใช้งบประมาณจำนวนมากในการนำเข้าซอฟท์แวร์3. ปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านซอฟท์แวร์ในประเทศไทย ไม่สามารถผลิตขึ้นใช้ในประเทศ                                               จากปัญหาหลักประการที่ 3 ประการข้างต้นทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ติดตามมา ดังนี้                                                             เนื่องจากซอฟท์แวร์ถูกกฎหมายมีราคาแพงจึงทำให้เกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์                                                        -          การเกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์เกิดจากสามารถนำซอฟแวร์มาคัดลอกซ้ำได้อย่างง่ายๆ                                        -       จากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทำได้อย่างง่ายดายทำให้ไม่มีใครคิดค้นหรือพัฒนาซอฟท์แวร์เนื่องจากไม่มีกฎหมายมาเข้มงวดอย่างจริงจัง ทำให้ไม่มีใครคิดหรือพัฒนาซอฟท์แวร์เพราะไม่ได้รัลตอบแทนที่คุ้มค่า                         -          ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดซื้อซอฟท์แวร์เข้ามาใช้ทำให้ขาดโอกาสที่จะนำเงินในส่วนนี้ไปให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์ไทย-                                                                                                                           แนวทางการพัฒนาซอฟท์แวร์เสรี และซอฟท์แวร์ โอเพนซอร์ส แบบยั่งยืน                                                                                            -          ลดการใช้ซอฟท์แวร์ต่างประเทศเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยอาจจะต้องยอมลดความสะดวกสบายในการใช้ซอฟท์แวร์ที่เคยชิน ซึ่งอาจเริ่มจากหน่วยงานของรัฐก่อนเพื่อเป็นแนวทางให้กับภาคเอกชนต่อไป                             -          จัดหางบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านซอฟท์แวร์ ในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่มีผลงานในการค้นคิดผลิตภัณฑ์ต่างๆ                                                       -          ให้หน่วยงานของรัฐมีการจัดอบรมส่งเสริม เพื่อพัฒนากับบุคคลที่มีความรู้ตามความเข้าใจ ความสนใจ เพื่อต่อยอดความรู้ทางด้านนี้ให้ก้าวหน้าต่อไป                      ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ความจำเป็นของประเทศไทยที่จะต้องมีการสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย และช่วยทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ได้มีทางเลือกเพิ่มเติมในการจัดหาระบบเซิร์ฟเวอร์ ในราคาที่ต่ำกว่า ดังนั้นเนคเทคได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (กระทรวงศึกษาธิการ) และภาคเอกชน ซึ่งได้แก่ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงผู้ผลิต และจำหน่าย เซิร์ฟเวอร์ ได้มีการพัฒนาเครือข่ายเพื่อใช้ลีนุกซ์ (Linux) และสร้างเครือข่ายการให้บริการ จัดจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ ที่สามารถรองรับการบริการจัดการของธุรกิจเอสเอ็มอี   เนคเทคระบุสัดส่วนการใช้งานโอเพ่นซอร์สลีนุกซ์ของไทยว่าหากเทียบในมุมของผู้ใช้ทั่วไป (End User) มีสัดส่วน การใช้งานเพียง 0.08% เป็นผลจากความไม่คุ้นเคย และไม่แพร่หลายของการใช้งาน ทั้งนี้เชื่อว่าใน 4-5 ปีข้างหน้า โอเพ่นซอร์สจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ต มาแล้ว-          บรรณานุกรม                                                                              สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. คณะกรรมการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.   นานาคำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง.2547                  ธีรภัทร  มนตรีศาสตร์. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาโอเพนซอร์สของไทย                        http://www.itdestination.com/articles/economic/  http://www.tentc.com/tentc/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=3&Itemid=  46&limit =9&limitstart=0

คำสำคัญ (Tags): #ซอฟท์แวร์เสรี
หมายเลขบันทึก: 77583เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ความหมายสอดคล้องและดีมากเลยค่ะ  สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างแน่นอน

หลักการพัฒนาในด้านต่างๆ นั้น ควรพัฒนาตามพื้นฐานของความเป็นจริง  เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

 

อ่านแล้วเข้าใจความพอเพียงขึ้นนะครับ

ถ้าทำได้จริงก็ดีสิครับ 

ปล. รูปหล่อน่าดู

ถูกต้อง  ต้องนำไปใช้ด้วยถึงจะเกิดผล

ครับต้องนำไปใช้ในทางที่ถูกต้องด้วยครับ

เป็นบทความที่ดีมาก ที่เข้าใจในหลักของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะไม่ขัด ต่อกระแสโลก ยังเป็นปรัชญาที่ทำให้ประเทศ ดำเนินอยู่ได้ด้วยความยั่งยืน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
นี่ถือเป็นหลักที่คนบนโลกทุกคนน่าจะได้รับทราบและอย่างน้อยถ้าเข้าใจและหากได้นำไปใช้กับตัวเอง มลภาวะในโลกก็คงลดลงน่ะ ว่ามั้ย

ถ้าทำได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็ดีค่ะ

เป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจค่ะ เราสามารถนำแนวคิดพอเพียงมาปรับใช้ได้ อยากให้นำไปใช้กันมาก ๆ นะคะ

อยากรู้จักจังเลยค่ะ ไม่ทราบว่าคนเขียนนี่ยังโสดอยู่หรือเปล่า น่าตาน่ารักดี ถ้าอยากติดต่อพอจะมีเบอร์มั๊ยค่ะ อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวได้มั๊ยค่ะ เพราะเราสนใจเรื่องนี้มาก ถ้าอยากติดต่อเราจิงๆ ฝากข้อความไว้ที่นี่ แล้วเราจะให้เบอร์ติดต่อคุณภายหลังนะค่ะ
น.ส.ญาณิศา รัตนสกุล

แนวคิดใหม่ของการพัฒนนาประเทศ  เราเชื่อว่า การนำแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาผสมผสานเข้ากับกลไกตลาดและการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศอย่างยั่งยืน  และเชื่อว่าจะดีกว่าการใช้นโยบายและแผนโดยบทบาทของภาครัฐ หรือภาคเอกชนก็ตาม ก็ไม่อาจนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ เพราะนโยบายและแผนดังกล่าวเหล่านั้น ยังไม่ใช่ นโยบายสาธารณะแท้จริง (หลักเศรษฐกิจพอเพียง) ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกกิจกรรมและทุกระดับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท