การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม


พัฒนาแบบมีส่วนร่วม

การทำงานในชุมชนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีศักยภาพ  มีการจัดการกับปัญหาร่วมกัน ซึ่งในชุมชนมีความแตกต่าง หลากหลายทั้งด้านฐานะ เพศ วัย สถานะทางสังคม การสร้างโอกาสเปิดพื้นที่ทางสังคมอย่างเท่าเทียมในการให้ทุกส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด ศักยภาพ ความรู้ และร่วมมีบทบาทดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้งานที่ดำเนินไปนั้นไม่ไปกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และส่งผลกระจายไปสู่คนทุกส่วนในชุมชนในสังคมอย่างทั่วถึง             การดำเนินงานพัฒนาตามโครงการพัฒนาหนึ่งๆ นั้น มีกระบวนการขั้นตอนที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หลายครั้งที่พบว่าโครงการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเมื่อถึงการดำเนินงานแล้วมักเกิดปัญหาและขาดความเข้าใจที่ตรงกัน โดยความคิดส่วนใหญ่จะเป็นความคิดของเจ้าหน้าที่ จึงทำให้การพัฒนาไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน ดังนั้น  การมีส่วนร่วมที่แท้จริงจึงควรให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผน กำหนดเป้าหมาย การตัดสินใจ การปฏิบัติ การตรวจสอบ ติดตามประเมินผล การสรุป แก้ไขปรับปรุง และรวมทั้งการขยายผลและเผยแพร่ผลสู่สาธารณะ           จากบทความดังกล่าวในฐานะผู้เขียนเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน มีบทบาทในการพัฒนาสุขภาพชุมชน จึงควรมีหลักในการคิดเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน อย่างเป็นระบบ และนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ                              รุ่งกานต์  ปราชญ์ศรีภูมิ สม.4

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77448เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท