เรื่องเล่าจากดงหลวง 17 เรื่องทฤษฎี Triage


Iain A Craig อธิบายไว้ว่า คำนี้มาจากสงครามที่หมอต้องเข้าไปดูแลทหารที่บาดเจ็บมาจากการสู้รบ ซึ่งมีมากมายจนล้นมือหมอ รักษาคนไข้ไม่ทัน ก็มีการประชุมและหาทางออกกันว่าจะทำอย่างไรดี ในที่สุดมีข้อสรุปว่า ให้แบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม

1.        ทฤษฎีงานพัฒนาที่มาจากประสบการณ์ในโรงพยาบาล : ผู้เขียนเคยทำงานที่สำนักงานเกษตรภาคอีสาน ท่าพระ ขอนแก่น เป็นโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนกับ USAID มีผู้เชี่ยวชาญจาก Kentucky University อเมริกามาประจำหลายคน เป็นช่วงเวลาที่ RRA (Rapid Rural Appraisal) เข้ามาในเมืองไทยและมาโตที่ขอนแก่น AEA (Agro-ecology Analysis)ก็มาโตที่นี่ เทคนิคงานพัฒนาต่างๆมากมายนับสิบนับร้อย ต่อมาเทคนิคเหล่านี้ก็ถูกนักวิชาการพัฒนาไปจนแพร่ขยายไปทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับกันในวงการปัจจุบัน ที่สำคัญคือ เทคนิค PRA (Participatory Rapid Appraisal)  มีอยู่ตัวหนึ่งที่ผู้เขียนนึกขึ้นมาได้เมื่อพาลูกสาวเข้าไปโรงพยาบาล คือ ทฤษฎี Triage” คุณ Iain A Craig ผู้เชี่ยวชาญ USAID เป็นผู้แนะนำ

 

2.        Triage มาจากเรื่องหมอกับคนไข้: ไปเปิด Dictionary ไม่พบคำนี้ ต้องไปเปิด “Webster’s

New World Dictionary หรือ Encyclopedia เขาอธิบายว่า...a system of assigning priorities of medical treatment to battlefield casualties on the basis of urgency, chance for survival, etc” ซึ่งคุณ Iain A Craig อธิบายไว้ว่า คำนี้มาจากสงครามที่หมอต้องเข้าไปดูแลทหารที่บาดเจ็บมาจากการสู้รบ ซึ่งมีมากมายจนล้นมือหมอ รักษาคนไข้ไม่ทัน ก็มีการประชุมและหาทางออกกันว่าจะทำอย่างไรดี  ในที่สุดมีข้อสรุปว่า  ให้แบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

·       กลุ่มที่หนึ่ง เป็นผู้ที่บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่เป็นอะไรมากและรอดชีวิตแน่นอน

·       กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มีอาการบาดเจ็บค่อนข้างมาก  แต่บาดแผลนั้นสามารถรักษาให้หายได้ สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ 

·       กลุ่มที่สามนั้น เป็นพวกบาดเจ็บมากที่สุด โอกาสรอดชีวิตมีน้อยมาก

 เมื่อแบ่งคนไข้ออกเป็นสามกลุ่มแล้วในช่วงสงครามนั้นต้องตัดสินใจเอากลุ่มที่มีศักยภาพรอดชีวิตมากที่สุดไว้ก่อน คือให้ทำการรักษา เยียวยากลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองให้รอดชีวิตให้ได้ หรือ ให้เวลา ให้การเยียวยา ให้การดูแลรักษา ทุ่มเทเครื่องไม้เครื่องมือมาที่สองกลุ่มแรกให้มากที่สุดเพราะเมื่อมีสงครามต้องตัดสินใจเช่นนั้น มิเช่นนั้น ไปให้เวลากับกลุ่มสามมากทั้งๆที่รู้ว่าโอกาสรอดมีน้อยมากก็อาจจะพากลุ่มสองมาเป็นกลุ่มสามและกลุ่มหนึ่งมาเป็นกลุ่มสองได้ 

3.        การตัดสินใจเลือกการพัฒนาองค์กรชุมชน: ทีนี้พอเข้าใจแล้วใช่ไหมล่ะว่าทำไมผู้เขียนจึงเสนอใช้ทฤษฎี Triage กับการคัดเลือกการพัฒนาองค์กรในชุมชน เมื่อคราวที่เราต้องเลือกพัฒนา  อย่างที่เรารู้กันว่าองค์กรในชุมชนมีมากมาย มีทั้งดีและอ่อนแอ บางองค์กรมีแต่ชื่อ แต่ไม่มีคณะกรรมการ ไม่มีการประชุมเป็นปีแล้ว และเมื่อเวลาโครงการเรามีจำกัด จำนวนคนของเรามีจำกัด จะไปเที่ยวตระเวนพัฒนาร้อยแปดพันเก้าองค์กรนั้นจะพากันตายหมด  จึงเลือกเอาเฉาะองค์กรที่มีศักยภาพเท่านั้น 

 

ในทางปฏิบัติเราก็สร้างดัชนีของแต่ละกลุ่มขึ้นมาเพื่อนำไปวัดว่าองค์กรใดในชุมชนควรจะจัดอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มสอง หรือตกไปอยู่กลุ่มสาม ก็แล้วแต่ดัชนีที่เราสร้างขึ้นนั้น  แล้วเราก็ตัดทิ้งกลุ่มที่สามไป เลือกเอาเฉพาะกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองเท่านั้น  หรือเลือกเฉพาะกลุ่มที่หนึ่งก็แล้วแต่เงื่อนไขของเรา  การทำเช่นนี้เพื่อให้เรามีหลักในการพิจารณาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลมากกว่า 

     

ในทางปฏิบัติอีกเช่นกัน  มีกลุ่มที่เป็นภาคบังคับที่จะต้องเอาเข้ามาอยู่ในแผนงานพัฒนา  ซึ่งหากเข้าเกณฑ์การพิจารณาแบบ Triage อาจจะตกไปอยู่กลุ่มที่สองหรือที่สามก็ได้ แต่ภาคบังคับต้องหยิบมาพัฒนาด้วย อย่างไรก็ต้องเอามาพัฒนา แม้การพิจารณาเข้าเกณฑ์จะตกต่ำมากก็ตามก็ต้องเอามาพัฒนา นั่นหมายความว่าโครงการจะต้องทุ่มเทเยียวยารักษา พัฒนากันมากเป็นพิเศษ  ต้องใช้หมอ ใช้พยาบาล ใช้หยูกยามากกว่าปกติ และใช้เวลามากกว่าปกติ เปรียบเสมือนคนไข้ ครูจูหลิน  อย่างไรก็ต้องรักษาครับ แน่นอนจะต้องใช้เวลานานมากกว่าปกติ  ซึ่งในทางหลักการพัฒนาคน เราก็ยอมรับกันว่า คนพัฒนาได้ แต่ขอให้เราเข้าใจเขา  และเราต้องมีเทคนิค วิธีการต่างๆในการพัฒนาคน  
คำสำคัญ (Tags): #triage
หมายเลขบันทึก: 76995เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท