จะรัก...หนู....ดีไหม ????
สัตว์เลี้ยงชนิดใหม่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ คือ
เจอร์บัว (Jerboa)
คนไทยได้ตั้งชื่อให้ว่า หนูจิงโจ้...
เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2548 นี้ ได้อ่านหนังสือพิมพ์ ฉบับหนึ่ง คอลัมภ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงสวยงาม ซึ่งลงเรื่อง สัตว์เลี้ยงชนิดใหม่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ คือ เจอร์บัว (Jerboa) คนไทยได้ตั้งชื่อให้ว่า หนูจิงโจ้...เนื่องจากลักษณะการเคลื่อนไหวคล้ายจิงโจ้ เมื่อมันตกใจสามารถกระโดดได้สูงและไกลถึง 2 เมตร
เจอร์บัว (Jerboa) เป็นหนูชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 100-200 กรัม หน้าตาก็คล้ายๆ กับหนูบ้านเรา อาหารก็เป็นเมล็ดธัญพืชและผลไม้เหมือนหนูบ้านเรา เป็นสัตว์ที่แปลกและน่ารัก เหมือนหนูน่ารักอื่นๆ ที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่น หนูแกสบี้ หนูถีบจักร เป็นต้น การนำเข้าเจอร์บัว ผู้เลี้ยงบอกว่าได้ขออนุญาตกรมป่าไม้แล้ว
ทำให้นึกถึงการนำเข้าสัตว์หรือพืชต่างประเทศหลายชนิดที่เข้ามาทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น หอยเชอรี่ นากหญ้า ผักตบชวา เป็นต้น ไม่ว่าการนำเข้าอย่างถูกต้องโดยการขออนุญาตหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือลักลอบนำเข้ามา
ควรศึกษาข้อมูลหรือ
หาความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ๆ ให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่ดูแค่ความสวยงาม
น่ารัก
เพราะสัตว์หรือพืชบางชนิดอยู่ในท้องที่หนึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตธรรมดา
ๆ
แต่เมื่อไปอยู่ในอีกท้องที่หนึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมได้
ดังนั้น หากจะนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาเลี้ยง
หรือนำพืชต่างถิ่นเข้ามาปลูก
ก็ควรจะมีการดูแลอย่างถูกต้องและไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ซึ่งต้องแก้ไขกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนที่แล้วมา
ข้อมูล : ปิยาณี หนูกาฬ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อ.สวี จ.ชุมพร
บริโภค มะพร้าว อันตราย จริงหรือ ???
จากผลการศึกษาผลของมันมะพร้าวต่อสุขภาพของมนุษย์
ของประเทศ อินเดีย มาเลเซีย
ปรากฏผลดังนี้
v น้ำมันมะพร้าว
ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ระดับของโคเลสเตอรอลในเลือด
v
รับประทานเนื้อมะพร้าวร่วมกับน้ำมัน ลด
ระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ
v น้ำมันมะพร้าว
เพิ่ม ปริมาณของ
HDL
v
น้ำมันมะพร้าว เพิ่ม ปริมาณของ HDL ได้สูงกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคน้ำมันถั่วลิสง
v น้ำมันมะพร้าว ไม่เพิ่ม
อัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของ
ไตรกลีเซอร์ไรด์
v v v v v
น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้าย.....อย่างที่ถูกกล่าวหา
โดยเฉพาะหากนำเอาความจริงที่ว่า
คนทั่วไปบริโภคอาหารอื่นๆซึ่งมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
ที่จะชดเชยในส่วนที่น้ำมันมะพร้าวขาดไป
จึงสรุปได้ว่า
แทนที่จะห้ามบริโภคน้ำมันมะพร้าว
เราควรส่งเสริมให้ประชากรของเรากลับมาบริโภคมะพร้าว
ตามเดิม ดังที่บรรพบุรุษของเราปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน
และยังมีผลพลอยได้คือ
เราจะได้ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศโดยการปลูกมะพร้าว
ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของเราที่เราปลูกได้ดีให้มากยิ่งขึ้น
“ ทำไมมะพร้าวจึง หัวหงอก ” ???
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในประเทศไทย
พบว่าต้นมะพร้าวในสวนที่เคยสุขสบายดีมีอาการใบแห้งเป็นสีน้ำตาล
โดยจะเห็น ใบมะพร้าวเป็นสีน้ำตาลจากยอดก่อน
เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นยอดมะพร้าวเป็น สีขาวโพลน
ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า
“ มะพร้าวเป็นโรคหัวหงอก ”
มะพร้าวเป็นโรคหัวหงอก
มีที่มาอย่างไร
โรคหัวหงอกของมะพร้าว เกิดจาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูมะพร้าวจากต่างประเทศ แมลงชนิดนี้เป็นด้วงในวงศ์ Chrysomelidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brontispa longissima Gestro ซึ่งเราเรียกว่า “ แมลงดำหนามมะพร้าว ” แมลงชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะบิสมาร์ค ปัจจุบันแมลงชนิดนี้ระบาดเข้าสู่ประเทศจีน เวียดนาม มัลดีฟส์ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า โดยสันนิษฐานว่าเกิดจากการเคลื่อนย้ายนำเข้าพืชตระกูลปาล์มที่มีแมลงชนิดนี้อาศัยอยู่ สำหรับประเทศไทย พบแมลงชนิดนี้ในปี 2543 ที่จังหวัดนราธิวาส และต่อมามีการร้องเรียนว่ามีการระบาดทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงในต้นปี 2547
กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสำรวจพื้นที่ระบาด และระดับความเสียหายในแหล่งปลูกมะพร้าว 43 จังหวัด ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2547 พบว่า จังหวัดที่มีการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวถูกทำลายมากกว่าร้อยละ 50 มี 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์
ในตอนหน้า ท่านจะได้ทราบว่า แมลงดำหนามมะพร้าวมีรูปร่างลักษณะอย่างไร มีวิธีการเข้าทำลายมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มโดยวิธีไหน ? ? ? ?
ข้อมูล : สุภาพร ชุมพงษ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อ.สวี จ.ชุมพร