ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะแขนบวมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้


ณัฐมา ทองธีรธรรม
(การพยาบาลผู้ใหญ่) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์
- ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะแขนบวมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมแบบตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้ในระยะ 1 เดือนแรก

วิธีการวิจัย
- เป็นการศึกษาแบบติดตามผลไปข้างหน้า  ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิงซึ่งเข้ารับการผ่าตัดเต้านมแบบตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้ออกเป็นครั้งแรก จำนวน 105 ราย โดยติดตามประเมินการเกิดภาวะแขนบวมในระยะ 1 เดือนหลังผ่าตัดด้วยวิธีการวัดเส้นรอบวงแขนที่ระดับ 10 ซม.เหนือและใต้จากปุ่มกระดุกข้อศอกโดยช้าสายวัด ประเมินอย่างต่อเนื่องใน 3 ระยะ คือ ระยะก่อนผ่าตัด ระยะ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด และระยะ 1 เดือนหลังผ่าตัด ร่วมกันตอบแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการดูแลแขนและการใช้แขนในระยะ 1 เดือนหลังผ่าตัด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติแบบบรรยายและการทดลองไคสแควร์

ผลการศึกษา
- ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในระยะ 1 เดือนแรก ได้แก่น้ำเหลืองคั่งภายในแผลและอาการชาแขนข้างที่ผ่าตัด พบภาวะแขนบวมทั้งในระยะ 2 สัปดาห์ และระยะ 1 เดือนหลังผ่าตัด โดยเป็นภาวะแขนบวมในระดับเล็กน้อยเท่านั้น ปัญหาทางกายภาพของผู้ป่วยซึ่งเกิดภาวะแขนบวมหลังผ่าตัด คือรู้สึกหนักแขนและปวดแขน  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะแขนบวมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านม แบบตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้ในระยะ 1 เดือนแรก ได้แก่ ระยะเวลาหลังผ่าตัด และพฤติกรรมการใช้แขนและการดูแลแขนหลังผ่าตัดทั้ง 3 ด้าน  คือ ด้านการใช้แขนในกิจวัตรประจำวัน,  ด้านการดูแลแขนเมื่อเวลาปกติ และด้านการดูแลแขนเมื่อบาดเจ็บ

สรุป
- พฤติกรรมการใช้แขนและการดูแลแขนที่ถูกต้องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้ออกเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยทีมสุขภาพควรเริ่มวางแผนดูแลตลอดจนวางระบบบริหารจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยเข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลและการติดตามอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแขนบวมหลังผ่าตัดได้ทั้งในระยะแรกและระยะยาว  โดยแผนการดูแลต้องมุ่งเน้นในเรื่องของพฤติกรรมการดูแล และการใช้แขนหลังผ่าตัดให้ถูกต้อง ตามช่วงระยะเวลาหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง

 

 

จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550  ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 76833เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
วิจัยฉบับเต็ม เข้าห้องสมุดคณะยังคะ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท