ความฉลาดทางอารมณ์ 2


กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก ๓ ด้าน คือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน
1. การควบคุมตนเอง
2. การเห็นใจผู้อื่น
3. ความรับผิดชอบ
4. การมีแรงจูงใจ
5. การตัดสินใจแก้ปัญหา
6. สัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น
7. ความภูมิใจในตนเอง
8. ความพอใจในชีวิต
9. ความสุขสงบทางใจ
เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับไอคิวมาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่            ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะเพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเอง

คนที่มีอีคิวสูงแตกต่างจากคนที่มีไอคิวสูงอย่างไร
แดเนียล โกลแมน ผู้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีอีคิวสูงหรือมีความฉลาดทางอารมณ์สูงไว้ดังนี้
- เป็นคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
- มีการตัดสินใจที่ดี
- สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
- มีความอดทน อดกลั้น
- ไม่หุนหันพลันแล่น
- สามารถทนต่อความผิดหวังได้
- มีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น
- มีความเข้าใจในสถานการณ์ทางสังคม
- ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่าย
- มีพลังใจที่จะฝ่าฟันต่อสู้กับปัญหาชีวิตได้
- สามารถจัดการกับความเครียดได้ ไม่ปล่อยให้ความเครียดเกาะกุมจิตใจ จนทำอะไรไม่ถูก


ไอคิวและอีคิว ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็เป็นความสามารถที่จะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เช่น คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงมักจะมีภาวะอารมณ์ที่สงบ    ปลอดโปร่ง    ไม่ตึงเครียด จึงสามารถนำความสามารถทางเชาวน์ปัญญามาใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามคนที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ตรงกันข้ามคนที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง หากอยู่ในภาวะที่มีความเครียดมากและไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ ก็อาจนึกคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถพึงความฉลาดทางเชาวน์ปัญญามาใช้ได้อย่างน่าเสียดาย

ลักษณะนิสัย ๑๐ ประการของผู้มีระดับคุณภาพอารมณ์สูง
๑.รับรู้อารมณ์ของตนเองมากกว่าจะกล่าวโทษผู้อื่นหรือสถานการณ์เช่นพูดว่า
      "ฉันรู้สึกทนไม่ได้" แทน "นี่เป็นเรื่องเหลวไหล"
      "ฉันรู้สึกเสียใจมาก" แทน "คุณนี่เป็นคนไม่ได้เรื่องจริงๆ"
      "ฉันรู้สึกกลัว" แทน "คุณขับรถเร็วอย่างกับคนโง่"
๒.สามารถแยกแยะระหว่างความคิดและความรู้สึกได้ เช่น
     ความคิด "ฉันรู้สึกคล้ายกับว่า" "ฉันรู้สึกราวกับว่า" "ฉันรู้สึกว่า" ความรู้สึก "ฉันรู้สึก"
๓.มีความรับผิดชอบต่อความรู้สึกของตนเอง ไม่โทษโน่น โทษนี่ เช่น
      "ฉันรู้สึกอิจฉา" แทน "คุณทำให้ฉันรู้สึกอิจฉา
๔.รู้จักใช้ความรู้สึกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น
      "ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าทำสิ่งนี้" แทน "ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าฉันไม่ทำ"
๕.นับถือในความรู้สึกของผู้อื่น ตัวอย่างเช่น ใช้การถามว่า
     "คุณรู้สึกอย่างไรถ้าฉันทำสิ่งนี้" แทน "คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าฉันไม่ทำสิ่งนี้"
๖.เมื่อถูกกระตุ้นให้โกรธ จะสามารถควบคุมจิตใจไม่ให้โกรธได้ และสามารถแปรความโกรธให้เป็นพลังในทางสร้างสรรค์ได้
๗.เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และยอมรับในความรู้สึกของผู้อื่น
๘.รู้จักฝึกหาคุณค่าในทางบวกจากอารมณ์ในทางลบ ยกตัวอย่างเช่น มักถามตนเองว่า "ฉันรู้สึกอย่างไร" หรือ "อะไรจะทำให้ฉันรู้สึกดีขึ้น"
๙.ไม่ชอบแนะนำ สั่ง ควบคุม วิพากษ์วิจารณ์ ตัดสินหรือสั่งสอนผู้อี่นเพราะเข้าใจดีว่าผู้ที่ได้รับการกระทำดังกล่าวจะรู้สึกไม่ดีอย่างไร
๑๐.หลีกเลี่ยงการปะทะอารมณ์กับคนที่ไม่ยอมรับ หรือไม่เคารพความรู้สึกของผู้อื่น

คำสำคัญ (Tags): #อีคิว
หมายเลขบันทึก: 7676เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2005 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท