ครูสาโพธิ์เสด็จ


เล่าเรื่อง KM

           สวัสดีครับ ผมครูหรรสา ครูอาสาสมัครฯ ต.โพธิ์เสด็จ กศน.เมืองนครศรีธรรมราช วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ชาวบ้านได้รับ หลังจากที่ได้ผ่านการอบรมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กิจกรรมแก้จนแบบบูรณาการจัดการความรู้ (KM)เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งไปแล้ว ว่าเขามีความสภาพความเป็นอยู่อย่างไร มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลงกว่าเดิม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าก่อนที่เขาจะเข้าร่วมโครงการนี้เขามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ปรากฏว่าหลังจากที่ผมได้ติดตามผลความก้าวหน้าของโครงการนี้แล้ว ผมมีความรู้สึกดีใจ และตื้นตันใจมากที่ได้เห็น ชาวบ้านพระมงกุฎ หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะหลังจากที่เขาได้ผ่านการอบรมโครงการนี้แล้ว เขาก็รู้จักหันมาพึ่งตนเองใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยการร่วมกันแก้ปัญหาของหมู่บ้านพระมงกุฎในขั้นต้น โดยไม่ต้องรอขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ เช่น ปัญหาในการทำสวนผัก ผลไม้ที่ต้องใช้ต้นทุนสุงเพราะปุ๋ยเคมีราคาแพง เขาก็รู้จักแก้ปัญหาในขั้นต้น ด้วยการชักชวนสมาชิกที่ผ่านการอบรมโครงการนี้และบุคคลทั่วไปที่สนใจร่วมกันตั้งกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพบ้านพระมงกุฎขึ้น มีสามาชิกให้ความสนใจสมัครในวันแรกจำนวน 33 คน ค่าหุ้นคนละ 300 บาท และถือว่าเป็นกลุ่มปุ๋ยหมักกลุ่มแรกของตำบลโพธิ์เสด็จก็ว่าได้ ส่วนในการทำปุ๋ยหมักนั้นก็ก็ใช้ต้นทุนไม่มาก โดยการนำถุงก้อนเห็ดที่หมดสภาพแล้วชาวบ้านทิ้งในท้องถิ่นที่มีเยอะมาก มาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ใช้เองในหมู่สมาชิก แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างคุณลุงมนูญ เที่ยวแสวง ผู้รอบรู้ด้านการเกษตร และเป็นประธานกลุ่มปุ๋ยหมักกลุ่มนี้ด้วย อีกอย่างคุณลุงมนูญยังเป็นคุณกิจแกนนำที่บทบาทมากในโครงการนี้อีกด้วย คุณลุงมนูญมีการจัดการบริหารกลุ่มที่มดีมากสมาชิกให้ความยอมรับนับถือ ในการบริหารมีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจนและสมากชิกในกลุ่มก็มีรายได้ โดยการที่ลุงมนูญ ติดต่อรับซื้อูงก้อนเห็ดหมดสภาพแล้วจากสมาชิกกลุ่มปุ๋ยหมักที่มีอาชีพเสริมเพาะเห็ดขาย รถกะบะละ 200 บาท แล้วก็มาจ้างให้สมาชิกในกลุ่มให้ช่วยกันย่อยสลายถุงเห็ด และจ้างสมาชิกอีกทีมในการคลุกเคล้าและบรรจุกระสอบทำให้สมาชิกมีรายได้จุนเจือครอบครัว ส่วนปุ๋ยที่ผลิตมาแต่ละครั้งก็ยังไม่เพียงพอในหมู่สมาชิก ในการผลิตรอบแรกไม่ได้ขายแต่ให้สมาชิกในกลุ่มนำไปทดลองใช้ก่อนผลปรากฏว่าใช้ได้ผลดีมาก และน้ำหมักชีวภาพสูตรของคุณลุงมนูญยังให้พี่วสันต์ แก้วธวัชวิเศษ ผู้มีภูมิปัญญาด้านการเพาะเห็ดและเป็นคุณกิจแกนนำในโครงการที่มีบทบาทมากในโครงการนี้อีกคนหนึ่งเหมือนกัน นำไปใช้ในการเพาะเห็ดแถบยังใช้ได้ผลดีอีกด้วย เห็ดมีดอกโตน้ำหนักดีเป็นที่ต้องการของท้องตลาด

                 ด้วยเหตุนี้ท่าน ผอ.สมภาส จันทร์อุดม ผอ.ศบอ.เมืองนครศรีธรรมราช ผู้จุดประกายทางความคิดในการร่วมกับชาวบ้านพระมงกุฎ จัดตั้งศูนย์บูรณาการจัดการความรู้(KM)สู่ชุมชนเข้มแข็งเมืองนคร ขึ้น ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 131 ม.1 ต.โพธิ์เสด็จ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ประชุมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ ภูมิปัญญาและประสบการณ์ด้านอาชีพ โดยมีพี่วสันต์ แก้วธวัชวิเศษ ผู้มีภูมิปัญญาด้านการเพาะเห็ด เป็นประธานบริหารศูนย์บูรณาการฯ แห่งนี้ และสิ่งที่ผมกับทีมงานจัดการความรู้(KM)ดีใจและยินดีด้วยกับชาวบ้านพระมงกุฎ อีกเรื่องก็คือ ในวันที่มีการเปิดศูนย์บูรณาการจัดการความรู้(KM)สู่ชุมชนเข้มแข็งเมืองนคร ยังได้รับความอนุเคราะห์จากทีมงานถ่ายทำสารคดี ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี มาถ่ายทำข่าวในวันเปิดศูนย์ฯ ด้วย และได้นำมาออกอากาศให้ประชาชนทั่วไปได้ชมทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี ในวันที่ 7 ธันวาคม 2549 และทางช่อง 11 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2549ที่ผ่านมาอีกด้วย ในวันนั้นยังจัดให้มีการสาธิตอาชีพหลายอย่างล้วนแต่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งสิ้นให้ประชาชนที่มาร่วมงานเปิดศูนย์บูรณาการฯได้เรียนรู้และเกิดการนำไปใช้ เช่น การหมักน้ำชีวภาพและการทำปุ๋ยหมักสูตรต่าง ๆ การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ถุงเห็ดนางฟ้าที่ทิ้งแล้ว การทำน้ำยาเอนกประสงค์สามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะนำมาล้างจาน ล้างรถ ล้างห้องน้ำ ฯลฯ และไม่มีสารตกค้างและได้แจกจ่ายให้ผู้ร่วมงานไปทดลองใช้อีกด้วย และยังมีสาธิตการทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานจากยานลิเพาจากกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานย่านลิเพาบ้านยวนแหล ในวันเปิดศูนย์บูรณาการจัดการความรู้(KM)สู่ชุมชนเข้มแข็งเมืองนคร มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมพิธีเปิดทั้งหมดจำนวน 117 คน และสุดท้ายนี้สิ่งที่ประชาชนได้รับจากโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กิจกรรมแก้จนแบบบูรณาการจัดการความรู้ (KM)เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งในครั้งนี้ ผมครูสา ต้องขอขอบคุณทีมงานคุณอำนวยตำบลโพธิ์เสด็จเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะพี่วรรณไชย มากทอง จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครศรีรรมราชที่ให้ความร่วมมือและความเป็นกันเองทั้งกับทางทีมงานและชาวบ้าน และคงต้องได้ร่วมมือกันอีกครั้งในการดำเนินงานโครงการนี้ในพื้นที่ ต.โพธิ์เสด็จ หมู่ที่ 4,5,6,และ 7 ผมขอขอบคุณมาก ๆ ครับ และวันนี้ผมต้องขอจบการเล่าสู่กันฟังการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ (KM)ครั้งผ่านมาแค่นี้ก่อนครับ สวัสดีครับ

คำสำคัญ (Tags): #เล่าเรื่อง#km
หมายเลขบันทึก: 75917เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท