ความคืบหน้าในการทำ "Blog" ของโรงเรียน


โดย  ทิพภวัน   สายทอง

                หลังจากทีมแกนนำโรงเรียนดงตาลวิทยาซึ่งนำโดย  ผอ.โกศล  วาระนุช  ร่วมกับทีมของสำนักงานเขตการศึกษา ลพบุรี  เขต  1  ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้  (KM)  จัดประชุมปฏิบัติการให้กับบุคลากรทุกคนจำนวน  404  คน   โดยจัดเป็น  4  รุ่น  ซึ่งโรงเรียนดงตาลวิทยาเป็นรุ่นที่  2  ระหว่างวันที่ 3 - 4  สิงหาคม  2549    โรงเรียนจุฬาภรณ์วิทยาลัย   ทีมแกนนำเฉพาะโรงเรียนดงตาลวิทยา ได้จัดประชุมปฏิบัติการการจัดการความรู้  (KM)  อีกครั้งให้กับครูโรงเรียนดงตาลวิทยา  ในวันที่  16 - 18  พฤศจิกายน  2549    ห้องประชุมปาริชาติ  โรงเรียนดงตาลวิทยา  ซึ่งมีครูทิพภวัน  สายทอง  เป็นวิทยากรในการขยายผลจากการประชุมปฏิบัติการ  เราได้ลงมติกำหนดหัวปลาของโรงเรียน คือ  ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้  ลายมือสวย  วิเคราะห์และสังเคราะห์เป็น  ในการจัดกลุ่มครูเพื่อทำกิจกรรมในใบงานที่  1- 2   กิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง  และสกัดขุมความรู้  เราแบ่งครู  43  คน เป็น  6 กลุ่ม  กลุ่มละ  7 - 8 คน  โดยแต่ละกลุ่ม จะคละครูทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ  และเมื่อทำกิจกรรมที่ 3 - 4 การหาแก่นความรู้และจัดลำดับแก่นความรู้  ได้แก่นความรู้ทั้งหมด  5  แก่น  คือ

          1. การเตรียมการสอน

          2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

          3. การฝึกทักษะด้านการอ่าน

          4. การฝึกทักษะด้านการเขียน

          5.  การฝึกทักษะด้านการวิเคราะห์  สังเคราะห์  และเขียนสื่อความ

เมื่อได้แก่นความรู้และระดับความสำเร็จซึ่งมี  5 ระดับ  เราแบ่งกลุ่มครูเป็น  8  กลุ่มตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  เพื่อให้ทำใบงานที่  5  ประเมินตนเองตามตารางอิสรภาพแล้วสรุปในภาพรวมของกลุ่มสาระโดยดูจากฐานนิยม    ซึ่งทางทีมแกนนำ  (ครูทิพภวัน)   ได้สรุปเป็นภาพรวมของทุกกลุ่มสาระในรูปของกราฟ   และเอกสารให้ครูทุกคนได้รู้ทุกระดับปัจจุบันและเป้าหมายของตน  ของกลุ่มสาระฯ  และเพื่อนครูต่างกลุ่มสาระฯ                 หลังจากประชุมครั้งนั้นเสร็จสิ้น   สิ่งที่ครูทุกคนและครูทุกกลุ่มสาระฯ   ดำเนินการต่อคือ  การประชุมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อย่างน้อยเดือนละ  1  ครั้ง  และสรุปรายงานเสนอฝ่ายบริหาร  ซึ่งทางทีมแกนนำได้มอบหมายให้ครูทุกคนรับผิดชอบนักเรียน  3  ประเภท  ตามความเหมาะสม  ประมาณ  2 - 4 คน/ครู/ ท่าน  ดังนี้                ประเภทที่  1   อ่านหนังสือไม่ออก-เขียนหนังสือไม่ได้                ประเภทที่ 2    อ่านหนังสือ-เขียนหนังสือไม่คล่อง                ประเภทที่ 3    ลายมือไม่สวยหรือลายมือการ์ตูนโดยให้ครูในกลุ่มการเรียนรู้  ภาษาไทย  เป็นผู้จัดทำเอกสารค่ะ  สำหรับการนำเสนอครั้งนี้คงพอก่อน   เราจะนำเสนอข้อมูลอักครั้งหลังจากได้ดำเนินการไปแล้ว  1 เดือน

                                                                                    ทิพภวัน  สายทอง

 

หมายเลขบันทึก: 75457เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์คะ    วันนี้ทีมวิจัยกำลังประชุมที่ สพท.นครราชสีมา 1  ได้นำบล็อกของอาจารย์ขึ้นในที่ประชุมค่ะ   อยากทราบผลการดำเนินงาน หรือความก้าวหน้าของงานนี้ค่ะ  เพื่อจะได้เผยแพร่ต่อเพื่อว่านักเรียนไทยลายมือจะได้สวยมากขึ้น

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

สวัสดีค่าอาจารย์ จำฟางได้มั้ยคะ นางสาวเมย์ชาญา จันทรค่า

ถ้าอาจารย์ได้รับข้อความนี้แล้วโปรดติดต่อกลับมาทางเมลล์นี้ด้วยนะคะ

คิดถึงโรงเรียนดงตาลมากค่า ตอนนี้ฟางอยู่ที่จังหวัด กระบี่ นะคะ

มาทำงานกับพี่สาวค่า สนุกมากเลยค่าน้องสาวก้ออยู่ด้วย ศิริกร ธันยุภักษ์อ่ะค่ะ

จำได้มั้ยคะ เป็นศิษเก่า อาจารย์นิราวรรณค่า

อย่าลืมติดต่อมานะคะ

บายยยยค่า

นางสาวเมย์ชาญา จันทร ศิษ อาจารย์อมรศักดิ์ นนทวงศ์

จำได้มั้ยคะ

คิดถึงครู และนักเรียนดงตาลทุกคนค่ะ

เเนนบ้านแพรก

อิอิ55+

ร๊ากจารนร๊

 

คนเนี่ยโคตรสวยเลยอ่ะ   อิอิ   555555+

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท