เครือข่ายประชาสังคมสตูล


เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสตูล ร่วมกันพัฒนาจังหวัดบูรณาการ เพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
สตูล เมืองสงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ ได้เริ่มปฏิบัติการแล้ว...การสร้างกลไกและกระบวนการเชื่อมประสานการพัฒนาจังหวัดบูรณาการ ของจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ศูนย์อำนวยการยุทธศาสตร์สังคมอยู่เย็นเป็นสุขด้านสาธารณสุข (ศอ.สส.) ได้ร่วมกับเครือข่ายประชาสังคมในจังหวัดสตูล ประกอบไปด้วยกลุ่มองค์กรทางสังคมและเครือข่ายต่างๆ รวม 12  เครือข่าย/กลุ่ม อาทิ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน   เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค  เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ  เครือข่ายถักทอพลังชุมชนพลังแผ่นดิน   เครือข่ายองค์กรท้องถิ่น  เครือข่ายภาคีพัฒนาภาครัฐและเอกชน  เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดสตูล  เครือข่าย อพม.  ชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดสตูล  กลุ่มศิลปินพื้นบ้าน   มูลนิธิธรรมรังสี  ศูนย์ประสานงานองค์กรภาคเอกชน จังหวัดสตูล  และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูล สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสตูล  ได้ร่วมกันจัดเวทีประชาสังคมเพื่อระดมความคิดในการสร้างกลไกและกระบวนการพัฒนา จังหวัดบูรณาการ ของจังหวัดสตูล โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อพัฒนาให้เกิดจังหวัดบูรณาการเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ควบคู่กับการประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมอยู่เย็นเป็นสุขในระดับประเทศ  ทั้งการพัฒนากลไกและกระบวนการต่างๆ  เพื่อส่งเสริมสังคมเข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูลและมีคุณธรรม การพัฒนางานชี้วัดความสุขในพื้นที่ของจังหวัด การสนับสนุนการพัฒนาในด้านต่างๆ  ในพื้นที่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง                  จังหวะการขับเคลื่อนกระบวนการในพื้นที่ ได้เริ่มตั้งแต่ปฏิบัติการค้นหาและชักชวนคนคิดดี  คนทำความดีในพื้นที่ ที่หลากหลายรูปแบบ มานั่งคิด นั่งคุยกันอย่างเป็นธรรมชาติ สิ่งที่เราได้คือ แผนที่ทางสังคมของกลุ่ม/องค์กรเครือข่าย (Social Mapping) ที่มีในจังหวัดสตูล และทราบด้วยว่าเครือข่ายต่างๆ กำลังทำอะไรกันอยู่บ้าง? และได้ช่วยกันประสานงานชักชวนกัน  จากกลุ่มต่อกลุ่ม บุคคลต่อบุคคล และระหว่างเครือข่ายต่างๆ มาร่วมงานกันมากขึ้น               ก่อนการเริ่มเปิดเวทีเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่  เราได้มีการประสานงานและแลกเปลี่ยนและให้ข้อมูลกับหลายๆ ภาคส่วนในจังหวัด เพื่อให้ทราบบริบทของจังหวัดสตูล รวมไปถึงบทปฏิบัติการของเราในครั้งนี้ และเพื่อให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนที่มีพลังมากยิ่งขึ้น   อาทิ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  นายขวัญชัย   วงศ์นิติกร  กล่าวว่า ยินดีสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม ให้สามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องต่างๆ ในจังหวัด รวมทั้งสนใจร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ  เช่น ปัญหายาเสพติด  ปัญหาขยะ ที่มีร่วมกันได้  และได้เสนอว่า อย่างน้อยควรมีการสรุปและแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าเดือนละครั้ง  ผู้ว่าฯ ยินดีร่วมรับฟังด้วย อย่างน้อยจะได้นำตัวอย่างที่ดีทั้งหลายไปช่วยสื่อสารและขยายผล ผ่านรายการวิทยุ ผู้ว่าพบประชาชน ซึ่งมีทุกอาทิตย์และหากสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งและชัดเจนได้ ก็ยินดีที่จะตั้งให้เป็นที่ปรึกษา ดูแลช่วยผู้ว่าฯ ในงานภาคประชาสังคมได้  การระดมความคิดในเวทีได้เริ่มจากการเล่าเรื่องที่ดีๆ (Story telling) ของเครือข่าย จากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ ถึงการพัฒนาในจังหวัดสตูล  ได้มีการพูดคุยถึงการรวมกลุ่มคนในลักษณะต่างๆ    ตลอดจนมีการนำเสนอถึงบทบาทและกิจกรรมที่แตกต่างและหลากหลายในสังคมสตูล และมีการพูดคุยถึงเรื่องความเป็นชุมชน รวมทั้งความเป็นประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งมุมมองทางความคิดต่อการพัฒนาความอยู่เย็นเป็นสุขในพื้นที่                 เมื่อพูดถึงประเด็น  ความอยู่เย็นเป็นสุข ในมุมมองและแนวคิดของพี่น้องเครือข่ายต่างๆ    ในสตูล คุณมยุรี  จุ้ยพริก จากเครือข่ายถักทอพลังชุมชนพลังแผ่นดิน บอกกับเราว่า เมื่อได้มีการพูดและการนำเสนอถึงการพัฒนาไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขแล้วบอกได้ว่า ใช่เลย คือสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น และขณะเดียวกันก็ได้เสนอว่า ควรเน้นการป้องกันความไม่อยู่เย็นเป็นสุขที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย  นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่หลากหลาย  ก็พบว่า ได้มีการสะท้อนถึงความเป็นไปของเมืองสตูลได้อย่างน่าสนใจ เช่น สตูลดูเหมือน ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ ภาพรวมดูเหมือนดี พอเพียง ระยะหลังประชาชนตื่นตัวขึ้น ผลักดันให้องค์กรท้องถิ่นทำงาน เห็นความสำคัญมากขึ้น  ในส่วนของคนทำงานทางสังคมจะจัดกำลังให้หนุนเสริมกันอย่างไร ทั้งๆ ที่แต่ละส่วนต่างได้ทำงานเชื่อมประสานกันหลายฝ่าย ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง เอาใจอาสามาดูร่วมกัน ทำให้มีพลังมากขึ้น เมื่อทำมากขึ้นเกิดความสับสน หลายครั้งต้องกลับมาทบทวน ว่าไปถูกทางหรือเปล่า  เมื่อทำงานเรื่องเดียวกันนี้นานๆ ก็ เริ่มจะล้าลงไปบ้างคุณอาหริ่ม  เจ๊ะเมะ  จากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน เล่าให้ฟังตอนหนึ่งว่า ความอยู่เย็นเป็นสุข คือการอยู่แบบเดิมๆ ที่มีความสุข มีความพอเพียง  ทุกวันตื่นขึ้นมาได้พูดคุยกัน  ได้ไปเยี่ยมเยือนคนอื่นๆ  ได้ทำหน้าที่ตามบทบาททางสังคมที่มี และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นๆ ก็ทำให้มีความสุขได้·        ความสุข ส่วนหนึ่ง มาจาก การหารือร่วมกันของคนในชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายที่ยังขาดการให้ความสำคัญ เพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ         การที่ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี         ควรคำนึงถึงคนฐานล่าง ที่ทำมาหากิน ดิ้นรนเพื่อชีวิต มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย แทนที่จะเอาเฉพาะระดับหัวหน้างาน         ในอนาคตองค์กรท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้น         ควรเตรียมคนในชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง         ทำอย่างไรให้การทำงานเกิดการมีส่วนร่วมจริงๆ มีความเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วม มิใช่มีเพียงความร่วมมือ         เห็นด้วยที่ให้ทางส่วนกลางมากระตุ้นก่อนในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ         การแก้ปัญหา ต้องทำร่วมกันทั้งคนข้างล่างและคนข้างบน         เริ่มจากคิดดี หาต้นแบบที่ดีให้พบ สร้างกระบวนการดูแลกันให้ได้ ทำอย่างไรดึงกระแสพอเพียงกลับมาให้ได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์  หนุนให้ชุมชนให้แข็งแรงให้ได้         แต่ละคนค้นหาให้พบว่า ความสุขของตนเองอยู่ที่ไหน(ส่วนตัว ส่วนรวม)         จะยกระดับการสนทนาให้มีคุณภาพ นำไปสู่ความสุขได้อย่างไร จากเรื่องไร้สาระ ไปสู่เรื่องที่มีสาระ  เพื่อร่วมกันสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมากกว่าคอยรับอย่างเดียว         ควรมองไปยังคลื่นลูกใหม่ ทำอย่างไรจึงจะปลูกสำนึกให้เด็กรุ่นใหม่ เพื่อให้เขาเกิดสำนึก ในท่ามกลางกระแสทุนนิยม  เรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความกล้าหาญ เพื่ออนาคตของชาติ          คนสตูลควรสร้างธรรมนูญของตนเองขึ้นมา มิใช่วิสัยทัศน์สำนึกนโยบายที่สั่งมาจากข้างบน เพื่อให้ฝ่ายนโยบายเดินตาม         คนสตูลควรเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง         กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่หลากหลายในสตูลเป็นส่วนหนึ่งของความอยู่เย็นเป็นสุข         (ด้านการพัฒนาทางกาย  จิต  สังคม)         นโยบายให้ความสำคัญกับวันครอบครัวมีส่วนทำให้ครอบครัวในสตูลมีสุข           การสร้างหรือการมีความผูกพันร่วมกันของประชาชนในชุมชนโดยมี  กลไกและกระบวนการ ในการรวมตัวของกลุ่ม และองค์กรประเภทต่างๆ ของชุมชน ในลักษณะพหุภาคี   เพื่อร่วมคิดและกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนร่วมกัน   เพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนในชุมชนเอง    โดยองค์ประกอบตามแนวคิดนี้ มุ่งให้หลายฝ่าย ที่เคยทำงาน ต่างคนต่างทำ หรือ ประสานกันไม่ติด ให้หันหน้าเข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ ลดความหวาดะแวงและลดความขัดแย้งลงได้            การรวมตัวที่ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ทางความคิด     นำเอาศักยภาพและจุดแข็งและประสบการณ์ของฝ่ายต่างๆ  มาประสานเข้าด้วยกัน   ก่อให้เกิดพลังทวีคูณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ไปสู่เป้าหมายอันพึงปรารถนาร่วมกันได้

           

คำสำคัญ (Tags): #ศอสส
หมายเลขบันทึก: 75325เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท