การประเมินผลการให้ยากระตุ้นการหดตัวของมดลูกในระยะสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 2 กับระยะหลังรกคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม


ศิริรัตน์ มุทาพร
โรงพยาบาลมหาสารคาม

วัตถุประสงค์
- เพื่อประเมินผลของการให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในระยะสุดท้ายของการ คลอดระยะที่ 2 เมื่อไหล่หน้าคลอดและเมื่อทารกคลอดกับระยะหลังรกคลอด

- วิธีวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ANOVA และ Chi-square test ทำการศึกษาในผู้คลอดที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน – 7 พฤศจิกายน 2548 ในกลุ่มผู้คลอดทั้งหมด 189 ราย ใช้การสุ่มอย่างมีระบบเข้ากลุ่ม 3 กลุ่มๆ ละ 63 คน โดยให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกในแต่ละกลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับยาเมื่อไหล่หน้าคลอด กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับยาเมื่อทารกคลอด และกลุ่มควบคุมได้รับยาหลังรกคลอด ทำการประเมินผลการให้ยา โดยตัวแปรในการศึกษา คือ ระยะเวลาเฉลี่ยของค่าฮีมาโตคริตก่อนคลอดและหลังคลอดใน 24 ชั่วโมง และอาการแทรกซ้อนหลังคลอด

ผลการวิจัย
- พบว่า กลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มมีระยะเวลาเฉลี่ยของการคลอดระยะที่ 3 ปริมาณการสูญเสียเลือดเฉลี่ยจากการคลอดระยะที่ 3 และอาการแทรกซ้อนหลังคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.91) ของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม กับกลุ่มควบคุมในค่าเฉลี่ยของฮีมาโตคริตก่อนคลอดและหลังคลอด 24 ชั่วโมง กลุ่มทดลองที่ 1 มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 ที่ได้รับยาหลังทารกคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.001)

สรุปได้ว่า การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกได้ผลดีในระยะสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 2

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 74749เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท