เรื่องเล่าเปิดตัว... การจัดการความรู้ในตัวเอง (๑)


วิธีการเก่าที่เราเคยทำมาแล้วได้ผล บางอย่างก็ใช้ไม่ได้ผลกับเรื่องใหม่

การจัดการความรู้ในตัวเอง
โดย : นวลทิพย์  ชูศรีโฉม
สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส
.)

          

              ชีวิตประสบการณ์การทำงานของผู้เขียน ตั้งแต่เรียนจบมาได้เริ่มทำงานที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทฯ เอกชนแห่งหนึ่ง อยู่ฝ่ายสรรหาบุคลากร โดยหน้าที่คือสรรหากำลังคนให้กับบริษัทฯ ซึ่งมีกิจการอยู่ ๔ ภาคทั่วประเทศ ลักษณะงานที่ทำแต่ละวันคือ สัมภาษณ์คนที่มาสมัครงานเพื่อคัดเลือกเข้าทำงานในระดับต่าง ๆ ของบริษัทฯ ซึ่งตั้งแต่ระดับคนใช้แรงงานจนถึงระดับวิศวกรหรือผู้จัดการฝ่าย เรียกว่าวัน ๆ ก็มีแต่พูด ๆ คุย ๆ

           รวมถึงงานเสริมศักยภาพให้กับพนักงานบริษัทโดยเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้าฝึกอบรมให้ ตรงนี้เอง ทำให้ผู้เขียนรู้จัก “วิทยากร” ตัวเป็นๆ ดุ๊กดิ๊ก ๆ  เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ดูแล้วเท่ห์จัง วิทยากรนี่ ยังกับผู้ยิ่งใหญ่ ต้องต้อนรับดูแลเป็นอย่างดี  ลักษณะท่าทางการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก แหม! ดูแล้วช่างมากด้วยความสามารถจริง นายเท่ห์มากเลย ...นาย “วิทยากร” อยากเป็นอย่างนายจัง (เกิดความอยากแต่ยังไม่เห็นช่องทางว่ามันจะเป็นไปได้)

             เวลาผ่านไป ๕ ปี ผู้เขียนได้เปลี่ยนงานจากฝ่ายบริษัทฯ เอกชนเข้ามาทำงานในแวดวงองค์กรพัฒนาเอกชน จากวันนั้นถึงวันนี้สิบกว่าปีผ่านมา แรกเริ่มทำงานสำนักงานก่อนต่อมาเกิดเบื่อหน่ายอยากจะเปลี่ยนแนวการทำงานบ้าง (พูดเหมือนมีความรู้มากอยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนง่าย )

            ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของผู้เขียนที่ได้รับโอกาสจากผู้บังคัญชาที่ให้ผู้เขียนออกจากงานสำนักงานมาทำงานโครงการ (ตามความอยากของผู้เขียนเอง) นอกจากให้โอกาสแล้ว ท่านยังให้การเรียนรู้และเป็นที่ปรึกษาที่วิเศษที่สุด หากเป็นภาษาการจัดการความรู้ก็ประมาณว่า “เป็นพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาเป็นกัลยาณมิตร” ว่างั้น      

         ความเป็นจริงการเปลี่ยนจากสิ่งเก่าสู่สิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ยากพอสมควรสำหรับผู้เขียน เพราะต้องเรียนรู้และจัดการหลาย ๆ เรื่องที่ยังไม่เคยเป็นไม่เคยรู้มาก่อน งานสำนักงานสู่การทำงานในโครงการ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการทำงานเป็นอย่างมาก  วิธีการเก่าที่เราเคยทำมาแล้วได้ผล บางอย่างก็ใช้ไม่ได้ผลกับเรื่องใหม่  การทำงานโครงการต้องพบปะกับคนจำนวนมาก  มีการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่เราต้องประสาน ดังนั้น เราต้องจัดการตัวเองพอสมควร จัดการด้านความรู้ ต้องมีความรู้ในเรื่องที่เราทำ ต้องตอบคำถามได้และต้องคิดงานเป็น วางแผนเป็น ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

              ในด้านการจัดการตัวเองจากคนที่ไม่ค่อยพูด เราก็ต้องหัดพูดและพูดให้คนอื่นรู้เรื่องพูดให้คนอื่นเข้าใจ  บุคลิกก็ต้องปรับตามงาน  หากเราทำอะไรที่ไม่เข้าท่าเข้าที่ คนที่เราทำงานด้วยนั่นเองที่มีส่วนทำให้เราปรับเปลี่ยน ดังเช่นที่อาจารย์ ทรงพล เคยพูดว่า “คนทุกคนล้วนเป็นศิษย์ เป็นครู ซึ่งกันและกัน”  ตัวอย่างเช่น หากเราพูดจาไม่เข้าที หรือทำอะไรไม่เข้าท่า เขาก็จะช่วยสะท้อนและให้คำแนะนำกับเรา  ซึ่งตรงนี้เรื่องที่เราต้องปรับคือ “การเปิดใจ” เปิดใจน้อมรับ เปิดใจฟังเพื่อการเรียนรู้ เรียนรู้กับเรื่องรอบข้างและคนรอบข้าง

 

หมายเลขบันทึก: 73495เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เป็นเรื่องเล่า ที่ดีมากค่ะ...คุณuraiman  ขอบคุณค่ะ....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท