208082509


ลปรร.วงเรียนรู้ “คุณเอื้อจังหวัด” นอกเหนือจากข้อสรุปตามประเด็นที่กำหนดแล้ว
ความรู้สึกดี ๆ จากวันวานมาถึงวันนี้ ที่เป็นแรงขับในวันต่อไป  หลังการจัดวงเรียนรู้ทุก ๆ ครั้ง ผอ.วิมล วัฒนา จะมีคำถามที่ติดปากอยู่เสมอว่า ที่ผ่านมาวันนี้มีอะไร  ดี ๆ บ้าง และเราจะต้องทำอะไรต่อบ้าง เป็นคำถามที่ทีมงานต้องตอบ และหากไม่มีคำตอบ แต่ภาพที่เห็นคือใบหน้ายิ้ม ๆ ของคณะทำงาน  ผอ.ก็จะต้องถามใหม่อีกว่า ว่าอย่างไรวันนี้จัดแล้วดีมั้ย ๆ  เพื่อให้ได้คำตอบ เป็นเช่นนี้ตลอดมา หลังจากวงเรียนรู้คุณเอื้อได้กล่าวลากันแล้ว ผอ.วิมลก็จะถามคำถามเดิมอีกว่า วันนี้มีอะไรดีบ้าง ทีมงานก็บอกว่า บรรยากาศดี  คำตอบเพียงสั้น ๆ   แต่ในใจดิฉันความรู้สึกดีที่อยากจะเล่าใน Blog  ว่า ตนเองนึกถึงคำว่า กัลยาณมิตรเพราะเป็นการพูดคุยที่ให้ความรู้สึกว่า  เรามีเพื่อน เราไม่โดดเดี่ยว   ด้วยว่าทุกหน่วยงานจะคลี่งานหน้าตักของตนเองมาพูดแบบเปิดเผย เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้รับรู้งานซึ่งกันและกัน มีการเชื่อมโยงงาน ให้คำแนะนำ  มีการเปิดใจกันมากขึ้น  โดยมีเป้าหมายดำเนินงานร่วมกันในหมู่บ้านที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น 400 หมู่บ้าน 600 หมู่บ้าน และมองไปถึง 551 หมู่บ้านที่จะทำต่อไป             โดยใน 1,000 หมู่บ้าน ได้ร่วมกันบูรณาการงานของ เกษตร. พช. ปกครอง สาธารณสุข และกศน.  เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง   ดังนั้นบรรยากาศนี้เป็นภาพหนึ่งที่ทีมงานรู้สึกเป็นแรงขับ ที่ทำให้อยากทำงาน รู้สึกสนุกกับงานได้มากมาย             สำหรับเรื่องเล่าที่ประทับใจ เป็นการคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้นำชุมชน ที่ท่านวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ยกตัวอย่างว่า กิจกรรมแม่ของแผ่นดิน มีการมอบเงินขวัญถุงให้กับชุมชน  จำนวน 8,000 บาท  มีบางแห่งที่สามารถคิดในเชิงสร้างสรรค์และต่อยอดโดยการเพิ่มคุณค่าของเงินก้นถุงที่ได้รับ  โดยนำเงินดังกล่าวไปแลกที่ธนาคาร และเปลี่ยนเป็นธนบัตรใบละ 20 บาท นำมาทำเป็นถุงสวยงามให้สมาชิกในชุมชนรับไป เพื่อเป็นศิริมงคล แลกกับเงินจำนวนเท่าใดก็ได้  ปรากฏสมาชิกในชุมชนได้รับเงินขวัญถุงกันครบถ้วนทุกครัวเรือน และจำนวนเงินจากเดิมได้เพิ่มจำนวนขึ้น เป็น 20,000 กว่าบาท  สามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมตามโครงการได้โดยทุกคนเกิดความรู้สึกที่ดี และชุมชนก็ยังคงมีเงินก้นถุงไปต่อยอดในการจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย                 ประสบการณ์จากการเป็นผู้บันทึกในการจัดวงเรียนรู้คุณเอื้อในวันนั้น ทำให้พบมุมมองอีกมุมในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ร่วมใจสานฝันต้านยาเสพติด  ณ ค่ายฝึกรบพิเศษ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2550  การทำกิจกรรมในวันสุดท้ายก่อนรับวุฒิบัตร คณะทำงานได้ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดเห็นจากการเข้าร่วมโครงการ  มีหลายคนที่กล่าวถึงประโยชน์     คุณค่าที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งได้ความรู้ ได้ทราบพิษภัยของยาเสพติด  แต่มีอยู่คนหนึ่ง ที่ตอบว่า การเข้าค่ายครั้งนี้ ช่วยหล่อหลอมให้เขาเป็นคนดี   ดิฉันได้นั่งฟัง รู้สึกสะดุดใจว่าทำไมนักศึกษาคนนี้จึงพูดคำว่า หล่อหลอม ซึ่งดูเหมือนว่านักศึกษาหลาย ๆ คน สรุปได้ว่าการเข้าค่ายเกิดขึ้นสิ่งที่เขาได้รับมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพียง 2 อย่าง  คือ บางคนได้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด  บางคนได้เพิ่มทักษะการพูด การนำเสนอความคิดเห็น  บางคนได้เจตคติที่ดีต่อเพื่อน  แต่คำว่า หล่อหลอม น่าจะเป็นผลทั้ง 3 ด้าน  เป็นการสรุปที่ชัดเจนและทำให้คณะทำงานของศบอ. ทุกคนได้ชื่นใจ ว่ามีนักศึกษาที่จะเป็นแกนนำหลักของชุมชนเกิดขึ้นแน่นอน หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการดูแลทั้งกลางวันและกลางคืน                 สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่ทำให้เกิดกำลังใจในวันต่อๆ ไปได้ค่ะ                         
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 73316เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท