kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ ชนิดรับประทาน (Systemic)


การใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ

บันทึกครั้งก่อน ได้กล่าวถึงการใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ และได้แบ่งชนิดการใช้ฟลูออไรด์ออกเป็น 2 อย่างคือการใช้ฟลูออไรด์ทาง System และการใช้ฟลูออไรด์ชนิด topical

บันทึกฉบับนี้จะกล่าวถึงการใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุทาง Systemic ก่อน ซึ่งเราเรียกง่าย ๆ ว่า การใช้ฟลูออไรด์ชนิดกิน  ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งบางครั้งเรานึกไม่ถึง  เช่น

1. การรับประทานฟลูออไรด์ชนิดเม็ด  การใช้ฟลูออไรด์ชนิดนี้ มีข้อจำกัดต้องดูปริมาณฟลูไรด์ในน้ำดื่มที่กินกันอยู่ทุก ๆ วันด้วยว่ามีมากน้อยเท่าไร และดูอายุหรือน้ำหนักของเด็กด้วยว่ามากน้อยเท่าไร โดยทั่วไป หากปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมีมากกว่า 0.06 PPM (ส่วนในล้านส่วน) แล้ว ทันตแพทย์จะไม่ให้ฟลูออไรด์เพิ่ม (ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม สามารถตรวจสอบได้จากกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย)  ส่วนอายุใช้ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 13 ปี โดยสมาคมทันตกรรมสำหรับเด็กแห่งอเมริกา ได้กำหนดการใช้ฟลูออไรด์ชนิดกินดังนี้คือ     

เด็กอายุ 6 เดือน-3 ปี มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มน้อยกว่า 0.03 ppm จะให้กินฟลูออไรด์ทุกวัน 0.25 mg/วัน

                       มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม 0.03 - 0.06 ppm จะให้กินฟลูออไรด์ทุกวัน 0.50 mg/วัน

เด็กอายุ 3-6 ปี     มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มน้อยกว่า 0.03 ppm จะให้กินฟลูออไรด์ทุกวัน 0.50 mg/วัน

                     มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม 0.03 - 0.06 ppm จะให้กินฟลูออไรด์ทุกวัน 1.00 mg/วัน

เด็กอายุ 6-13 ปี    มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มน้อยกว่า 0.03 ppm จะให้กินฟลูออไรด์ทุกวัน 1.00 mg/วัน

แต่อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีนิสัยรับประทานยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หรือกินนมที่ผสมฟลูออไรด์ (ดูที่สลากข้างกระป๋อง ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ดูกัน)  ก็จะต้องมีข้อจำกัดในการใช้ฟลูออไรด์ด้วย

2. การใช้ฟลูออไรด์ในน้ำปะปา  ในต่างประเทศ มีการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำปะปา ในปริมาณที่พอเหมาะต่อการสร้างฟันให้แข็งแรง ส่วนในเมืองไทยยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย

3. การเติมฟลูออไรด์ในเครื่องดื่มบางประเภท เช่นนม น้ำดื่มบางชนิด

อย่างไรก็ตามการใช้ฟลูออไรด์ ต้องมีความระมัดระวัง  เพราะถ้าใช้ด้วยปริมาณที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดพิษของฟลูออไรด์ ซึ่งมีตั้งแต่ฟันตกกระ จนถึงเป็นพิษเฉียบพลันก่อให้เกิดอันตรายถึงตายได้

อีกประการหนึ่งถึงแม้ว่าจะใช้ฟลูออไรด์เป็นอย่างดี การแปรงฟันให้สะอาด ก็ยังมีความจำเป็นต่อการป้องกันฟันผุที่สำคัญที่สุด  การใช้ฟลูออไรด์จึงเป็นกลวิธีที่ใช้เสริม ให้ฟันผุได้ยากยิ่งขึ้นเท่านั้น มิใช้เป็นการทำให้ฟันไม่ผุ  และที่สำคัญการใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ ต้องใช้ในลักษณะใช้ในปริมาณที่น้อย ๆ แต่พอเหมาะ และต้องใช้ด้วยความถี่ที่เหมาะสมและเป็นประจำ เช่นการกินยาเม็ดฟลูออไรด์ ต้องกินทุก ๆ วัน หากกินบ้างไม่กินบ้าง ก็ควรจะใช้วิธีอื่น ๆ ดีกว่า เพราะเท่ากับเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ แต่ไม่ได้ประโยชน์อไรเลย      

                        

 
    
 
    
 
หมายเลขบันทึก: 73247เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
หมอค่ะ แล้วปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มในศูนย์อนามัยมีมากกว่า 0.06 PPM หรือเปล่าคะ
ปริมาณฟลูออไรด์ในเขตอำเภอเมือง ของทุกจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 มีไม่เกิน 0.03 ppm ครับ 

ถ้าให้เด็กกินฟูลออไรด์ก่อนนอน (หลังแปรงฟัน) จะได้ไหมค่ะ อายุ 1.9 ปีค่ะ

  • ทานตอนไหนก็ได้ครับ วันละครั้งเท่านั้น
  • หากลืม ไม่ต้องทานชดเชยนะครับ แต่ก็จะได้ผลไม่ดี

 

ขอบคุณหมอก้องมากค่ะ ได้ความรู้ดีๆๆๆๆ จากคุณหมอเยอะมากๆๆๆ เลยค่ะ อ่านบันทึกคุณหมอทุกวันตั้งแต่รู้ว่าลูกฟันผุ (ตอนที่รู้เครียดมาก)จนตอนนี้อุดฟันเรียบร้อยแล้ว เป็นฟันข้างหน้าบน 4 ซี่ ไม่ได้ใช้ยาค่ะ คุณหมอให้ใส่เสื้อที่รัดตัวไว้สำหรับทำฟันนะค่ะ มีร้องบ้างแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อยากให้เมืองไทยมีหมอดีๆ แบบหมอก้องอีกเยอะ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท