ประเภทของความรู้ (Knowledge)


ความรู้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร  สามารถจำแนกออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ

1.  ความรู้แบบที่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้  (Explicit knowledge)  หมายถึง  ความรู้ที่บุคลากรในองค์กรสามารถที่จะสังเกตเห็นได้ง่ายและสามารถจะจัดเก็บเป็นข้อมูล  เอกสาร หรือเก็บไว้ในแหล่งที่เก็บข้อมูล  หรือคลังเก็บข้อมูล  ความรู้แบบนี้เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ  พนักงานในองค์กรสามารถที่จะเรียกหรือนำเอาความรู้เหล่านี้มาใช้  หรือนำมาประยุกต์ใช้งานได้โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล  หรือการเรียกมาใช้

2.  ความรู้แบบนัยหรือแบบซ่อนเร้น (Implicit knowledge) ความรู้แบบนี้ส่วนมากมักจะซ่อนเร้นอยู่ในสมองของพนักงานแต่ละคนในองค์กร  ซึ่งเป็นการยากที่จะแสดงหรือถ่ายทอดออกมา  และเป็นการยากที่จะบอกว่าความรู้อันไหนคือความรู้ที่ซ่อนอยู่  สิ่งที่ท้าทายผู้บริหารแต่ละคน  คือ  จะทำอย่างไรที่จึงจะนำความรู้  เรียกความรู้หรือบริหารความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์  ดังเช่น  การที่หลายองค์กรได้นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ  เช่น  อีเมล  กรุ๊ปแวร์  และการส่งข้อมูลแบบเร่งด่วน  อาทิ  MSN  Skype หรือโปรแกรมแชตต่าง ๆ  มากมายในปัจจุบันนี้  มาช่วยในการบริหารความรู้   และการกระจายความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ เป็นต้น

   

อ้างอิงมาจาก : ดร.เจนเนตร  มณีนาค และคณะฯ.    สร้างองค์กรอัจฉริยะในยุคโลกาภิวัฒน์.   212  หน้า.   สเสริมมิตร  การพิมพ์.

คำสำคัญ (Tags): #sara
หมายเลขบันทึก: 73040เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท