Capturing tacit knowledge


What's tacit knowledge ?
ประเภทของความรู้ -->
เราสามารถแบ่งประเภทของความรู้ตามรูปแบบที่ “มองเห็นได้” 2 ประเภท คือ
1.ความรู้โดยนัยหรือความรู้มองเห็นไม่ชัดเจน (Tacit Knowledge) – เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายใน
อาจเกิดจากประสบการณ์ หรือสัญชาติญาณ ของแต่ละบุคคล และสื่อสารออกมาเป็นคำพูด หรือตัวหนังสือได้ยาก เช่น ทักษะการทำงาน กระบวนการในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น
2. ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit Knowledge) – เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรตามสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น คู่มือการทำงานของพนักงานใหม่ หนังสือสัญญา MOU ระหว่างบริษัท ข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
            แต่ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) จะมีประมาณ 80% ของความรู้ที่องค์กรมี ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายกับผู้บริหารที่จะดึงส่วนที่อยู่ภายในของแต่ละคน ออกมาให้อยู่ในรูปของความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรให้มากที่สุด
           
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 728เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2005 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับเรื่อง Tacit Knowledge ที่กล่าวว่าซึ่งมีประมาณ 80% ของความรู้ในองค์กรนั้น ดิฉันคิดว่าหลักการของผู้บริหารในการจะดึงส่วนที่อยู่ภายในของคนๆนั้นออกมาอาจจะเป็น  1. พยายามหารูปแบบการดำเนินงานที่เป็นส่วนผลักดันให้เขาต้องพยายามบันทึก แสดงทักษะกระบวนการทำงาน หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าออกมา ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่อยู่ใน line ผลิตซึ่งพบเจอปัญหาเกี่ยวกับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละวัน ซึ่งใน WI(Work Instruction)อาจไม่ได้ระบุเทคนิคการแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด ดังนั้นเมื่อเขาใช้ทักษะในการแก้ปัญหาก็อาจให้เขาทำการบันทึกไว้ในสมุด ดังเช่นในบริษัทจะใช้สมุดส่งกะ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาของการทำงานในกะหนึ่งเช่นกะเช้าก็จะถูกบันทึกให้พนักงานในกะต่อไปได้ศึกษา กรณีที่วิธีการแก้ไขนั้นมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องก็อาจมีการเพิ่มรายละเอียดลงไปใน WI เพื่อการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานต่อไป ถ้ากระทำดังเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความรู้ ประสบการณ์ที่เป็น Tacit knowledge ในตัวบุคคลถูกดึงออกมาจนกลายเป็นแหล่งคลังความรู้ที่ดีมากๆขององค์กรได้  2. อาจมีการป้อนคำถาม/ ป้อนปัญหาหรือให้งาน / project แก่พนักงานหรือผู้ที่เราคิดว่ามีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ดี เพื่อให้เขานำคำถามหรือหัวข้องานนั้นๆไปคิดหาแนวทางการแก้ไขหรือแนวทางการจัดการ หลังจากนั้นก็ให้เขานำเสนอหัวหน้างานหรือทีมงานอาจะเสนอด้วยการปฏิบัติให้เห็นจริงหรือชี้แจงทางคำพูด แล้วแต่ความเหมาะสม  ดังนั้นหัวหน้างานหรือทีมงานก็จะได้เรียนรู้และสรุปแนวทางต่างๆเหล่านั้นเป็นคลังความรู้ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท