ตัวชี้วัดสุขภาพ สุขภาวะ ชุมชนเข็มแข็ง เชิงบวก มากกว่าเน้นลดโรค


ในอดีต การทำงานทางด้านสุขภาพ นิยมวัดผลกระทบ โดยวัดการเกิดโรค  การป่วย  นี้เป็นหลักการมาตลอด

มุมมองจากผู้อาวุโสทางการแพทย์และสาธารณสุข  ได้แนะนำว่า ควรพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพ มากกว่า การเน้นการลดโรค

 

ผมมีแนวคิดผสมผสาน เชิงบวก    สนับสนุน ว่า อาจจะต้องผสมผสานทั้ง ตัวชี้วัดการป่วย และตาย   ร่วมกับตัวชี้วัดระดับ สุขภาวะ  หรือ ระดับการเข้มแข็งของชุมชน

แต่ทำอย่างไร ตัวชี้วัด จะเป็นของจริง มากกว่าของเทียม

ยกตัวอย่าง  กลุ่มจิตอาสาในชุมชน ที่มีจริง จดทะเบียนกับ กระทรวง พม  จะเป็นของจริงได้มั้ย  ดีกว่า แม่นยำกว่า ชมรมสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ที่พวกเราอาจจะปรุงแต่ง สร้างยอดจำนวนขึ้น

การวัดระดับการเข้มแข็งของชุมชน และ การสร้างสุขภาวะ   วัดจาก สัดส่วนของพื้นที่สาธารณะ  เช่น สวนสาธารณะ สวนป่า สนามกีฬา  ต่อประชากร  ต่อพื้นที่ในเขตของการปกครองท้องถิ่น   เช่น  ระดับตำบล     ระดับ จังหวัด      จังหวัดใดมีพื้นที่สวนสาธารณะน้อย ก็ควรรีบปรับปรุง

เรื่องทำนองนี้ มีการจัดทำในระดับจังหวัด เปรียบเทียบกัน ในรายงานการพัฒนาคน ประจำปี

หมายเลขบันทึก: 72276เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท