การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ; กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชบุรี ทั้งที่เป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และที่บ้านในเขต อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี


บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ , กรรณิการณ์ ภาวะไพบูลย์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาหารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

ผลการศึกษา
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 59-60 ปี สถานภาพสมรสคู่ การศึกษาระดับมัธยมถึงปริญญาตรี ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภายใต้โครงการ 30 บาทหรือเบิกจากต้นสังกัด มีความต้องการแรงสนับสนุนจากชุมชนและเพื่อนบ้าน ปัจจุบันรักษาโดยการฉายรังสีและการใช้ยา การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 5 ด้าน ได้แก่ ทางด้านร่างกาย มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด และมีอาการป่วยทางด้านจิตใจ ต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับโรคเพื่อการตัดสินใจ
ทาง ด้านจิตและสังคมต้องการการดูแลแบบคงเส้นคงวา ทางด้านทีมสุขภาพต้องการความเห็นใจและร่วมรู้ ส่วนรูปแบบความต้องการการรับบริการ ต้องการการให้ความมั่นใจและการให้กำลังใจ ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละด้านพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบความต้องการการรับบริการมากที่สุด คือ ด้านจิตสังคมและสังคม รองลงมาคือด้านทีมสุขภาพ จากการเทียบค่า t-test พบว่า ทั้ง 5 ด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การวิเคราะห์เนื้อหาพบรูปแบบในการดูแลตนเองมากที่สุด คือ เรื่องใจต้องเข้มแข็งยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ สามารถดูแลตนเองได้ โดยการรับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้อง การได้อยู่กับครอบครัวและมีคนที่รักคอยช่วยเหลือให้กำลังใจ มีความสุขมากกว่าอยู่โรงพยาบาล นอกจากนี้ยังต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและชุมชนในการจัดอบรมผู้ดูแลผู้ ป่วยที่บ้าน การได้ทำงานที่บ้าน มีการเยี่ยมบ้านขจากทีมสุขภาพ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 72037เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นวิจัยที่ดี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท