ตีความหนังสือ : Social Intelligence ตอนที่ 1 ความสนใจของคนเรา


ที่มา : หนังสือ Social Intelligence by Daniel Goleman

วันนี้เป็นคิวของผมที่ต้องนำเสนอประเด็นที่ได้จากการอ่านหนังสือในที่ประชุมประจำสัปดาห์  ของ สคส.  

ผมได้รับ บทที่ 4 An Instinct for Altruism  และ บทที่ 5  The Neuroanatomy of a Kiss    ซึ่งทั้ง 2 บทนี้อยู่ใน part 1 Wired to Connect

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นหลาย part  แต่ที่ผมได้  part แรก  ผมอ่านแล้วตั้งชื่อว่า  "ต่อสาย" หมายถึงระบบเส้นสายในระบบประสาทของมนุษย์เรา     แต่ใน part ที่ 2  ผมดูชื่อแล้วตีความว่า  "สลายขั้ว"  (Broken Bond)  ซึ่งน่าจะประมาณว่า  การปลดปล่อยพันธนาการตัวเองเปิดตัวสู่การสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นให้แนบแน่นยิ่งขึ้น   

จึงขออนุญาตลงเป็นตอนสั้นๆ นะครับ  เพื่อความน่าอ่าน จะได้ไม่ยาวเกินไป

ความสนใจของคนเรา

การที่คนเราจะเปิดประตูใจรับใครสักคนนั้น  จำเป็นต้องผ่านด่านแรกให้ได้ก่อน  ก้อคือ ด่าน   "สะกิดความสนใจ" ของเขาคนนั้นให้ได้ก่อน

เมื่อคลื่นความสนใจถูจับสัญญาณได้   เมื่อนั้นปฏิกิริยาการสนองตอบอย่างอื่นถึงจะตามมา

ผู้เขียน  ยกเรื่องเล่า กรณี "ภวังค์ของคนเมือง"   (urban trance)  ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใน New York City  ในเวลาหลังเลิกงาน  ผู้คนทุกคนต่างเร่งรีบกลับบ้าน   ความสนใจของเขาเหล่านั้น ก็ค่อนข้างจะมีจำกัด   ถึงแม้ได้ยินเสียงบางอย่าง ก็ไม่สนใจ   ได้เห็นอะไรบางอย่าง ก็เหมือนไม่เห็น    อาการนี้จะเห็นได้ง่ายในสังคมเมือง    ผู้เขียนเล่าต่อว่าในชานชลานั่นเอง  มีชายคนหนึ่งนอนแน่นิ่งแบบไร้อารมณ์ อยู่บนพื้นชานชลา   ผู้คนก็ต่างก้าวเท้าเร่งรีบไปขึ้นรถไฟ  ทั้งๆที่เห็นร่างของชายคนหนึ่งนอนอยู่     แต่ทันทีที่มีชายอีกคนหยุดมองดูร่างที่นอนแน่นิ่ง   กลับเริ่มมีคนที่ 2   คนที่ 3  คนที่ 4  หยุดมองให้ความสนใจ   จนค่อยๆกลายเป็นวงอเมริกันมุง    เริ่มมีสตรียื่นขวดน้ำให้  พร้อมเรียกชายคนที่นอนอยู่     บางคนก็หยิบ hot dog ที่ติดตัวมายื่นให้ตามมา    บางคนวิ่งไปหา รปภ.  เพื่อให้วิทยุเรียกตำรวจ  หรือหน่วยช่วยเหลือมารับชายผู้นี้    จน 1 นาทีหลังจากนั้น  ก็กลายเป็นภาพชายคนนั้น ลุกขึ้นนั่งทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อยระหว่างที่รอรถมารับ

ความสนใจนี่เอง  ที่จะนำความรู้สึกของเราไปสู่การพัฒนาจนถึงขั้น  การเข้าถึงความรู้สึกของผู้อื่น  และแสดงออกมาในรูปแบบของความช่วยเหลือรูปแบบใด  รูปแบบหนึ่งในที่สุด     อาการเช่นนี้เอง  ที่ผู้เขียน  กล่าวว่ามันเป็น  "สัญชาติญาณของการเข้าถึงใจผู้อื่น"  (An Instinct for Altruism)  

และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ   เมื่อคนที่มีสัญชาติญาณกรุณาเมตตาต่อคนอื่น   แสดงความช่วยเหลือออกมา    ระบบประสาทในสมองของคนอื่นๆที่เห็นภาพเหตุการณ์นั้น  ก็จะถูกกระตุ้นให้ลุกขึ้นมาทำอย่างนั้นเช่นกัน   

ตรงนี้  ทำให้ผมนึกไปถึง   เครื่องมือ KM ที่เราใช้อยู่  อาทิ  เรื่องเล่าความสำเร็จ     การฟังแบบลึกซึ้ง   และ ข่าวดี  

หากมีเรื่องเล่าความดีของใครคนใด คนหนึ่งออกมาให้คนอื่นๆได้รับรู้   โดยที่คนเหล่านั้น  ต้องไม่ตกอยู่ในภวังค์ของตัวเอง  ก็น่าจะมีพลังพอที่จะไปฉุดระบบสัญญาณสมองของคนอื่นให้อยากทำอย่างนั้นบ้าง

 

 

หมายเลขบันทึก: 71886เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท