พระพิรุณทรงนาค ปางแม่โจ้ 2566 : ฤดูกาลสุขภาวะนิเวศการกสิกรรม รมณียภูมิชีวิต ฐานศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์


Title/Theme :  พระพิรุณทรงนาค ปางแม่โจ้ 2566 
                         Maejo Art-Agri Science Integrated Culture 2566
                    
Artist / Author : วิรัตน์ คำศรีจันทร์  Wirat Kamsrichan 
Size and Dimension :  46.00 x 61.00 เซนติเมตร
Date / Time : 14 สิงหาคม 2566
Technic / Methodology : 

สีน้ำ บนกระดาษ Bao Hong 300 แกรม เทคินคิวิธีการเนื้อหา Creative Manifestation of Grand Conceptual Wisdoms บูรณาการ ผสมผสานพหุวิทยาการ พหุลักษณ์ข้อมูล พหุลักษณ์ระบบสัญญะและชุดความหมาย บูรณาการเทคนิควิธีการพหุปัญญา นิเทศศิลป์ การปฏิบัติการเชิงวิจัยสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้มวลชน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การพัฒนามิติสารัตถะวิเคราะห์ สร้างบทสรุปกรอบพัฒนาสุนทรียปัญญา สุนทรียพลานามัย สุนทรียปัญญากร ศักยภาพและสมรรถนะบูรณาการ ยกระดับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากฐานประสบการณ์เชิงประจักษ์ ที่เหมาะสมกับบริบทการพลวัตพหุลักษณ์สังคมจากฐานราก การยกระดับศักยภาพพลเมืองและบุคลากรขั้นสูงที่เหมาะสมกับพลวัตสังคมในยุคผสานและบูรณาการเสริมสร้างกันของศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์ สะท้อนยึดโยงกับภูมิชีวิตและองค์ประกอบรากฐานของสังคมและมวลมนุษย์ เช่น สุขภาพ การพัฒนาคุณภาพแห่งชีวิตบนปัจจัยพื้นฐาน การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ การจัดระบบสังคม การผูกพันและปฏิสัมพันธ์กับถิ่นฐาน ถิ่นอาศัย เมือง ชุมชน และโลกเสมือนจริง

โครงสร้าง ประเด็นใคร่ครวญสนทนา
เสวนา ศึกษาค้นคว้า พลวัตพหุปัญญา
Theme / Prompt to Trans Dialogue / Integrated and Trans-Participatory 
Creating Critical Content and Wisdom of Practice  :

  • การสนทนาสรรมุขปาฐะศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์ องค์ประกอบพื้นฐาน อณุจุลภาค Mini-Content แผ่ขยายรอบด้าน พลวัตความหมายร่วมกันได้อย่างไม่จำกัด และเป็นฐานยึดโยงพหุลักษณ์สังคมได้ระดับลึกหยั่งประมาณถึงภูมิชีวิตและภูมิสังคมฐานรากมีชีวิต เปลี่ยนผ่านความแตกต่างหลากหลายเชิงปะทะสู่การร่วมสร้างคุณค่าและความหมาย เกื้อหนุนส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยพหุมิติและพหุปัจจจัย ลดการทำลายล้าง เพิ่มพูนการจรรโลงและประกอบสร้างโอกาสความเจริญงอกงาม มีเหตุมีผลบนความเป็นตัวของตัวเองในทุกความแตกต่าง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบเนื้อหา ได้แก่ (1) พหุลักษณ์ข้อมูล ศิลปะ สิ่งสร้างสรรค์ สิ่งแสดง ให้ประสบการณ์เชิงประจักษ์ (2) แนวคิด ความบันดาลใจ หลักทฤษฎี การแบ่งปันวิทยาการและความรู้เบื้องหลังที่เกี่ยวข้อง (3) บทสรุปและการแบ่งปันความบันดาลใจ ส่องสะท้อน การเติบโตงอกงามบนความเป็นตัวของตัวเองและการยึดโยง สำนักผูกพันต่อสังคมและโลกกว้าง ผ่านปัญญาปฏิบัติ 
  • การพัฒนาวิจัยเชิงปฏิบัติการบนแกนการวิจัยเชิงคุณภาพทางศิลปะ มานุษยวิทยา ระบบภูมิปัญญามุขปาฐะในสังคมร่วมสมัย 
  • การผสานและบูรณาการพหุปัญญาวิทยาการฐานราก ชุดมโนทัศน์พหุลักษณ์ 
  • การสังเคราะห์และสร้างสรรค์มิติสุนทรียปัญญาในพหุวิทยาการ 
  • การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิธีการพหุลักษณ์ข้อมูล ผสมผสานองค์ประกอบ CER ที่เหมาะสมเพียงพอ สอดคล้องความเป็นจริงของการปฏิบัติ สอดคล้องความเป็นจริงของสังคม
  • วงจรเชิงปฏิบัติการ นำการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในมณฑลพหุลักษณ์ปัญญาวิทยาการ และมณฑลผสานยึดโยงส่วนรวมทุกคนระดับสุขภาวะมูลฐาน สุขภาวะนิเวศ คุณภาพแห่งชีวิต ตลอดห้วงชีวิตและทุกกลุ่มวัยของพลเมืองประชากร
  • การจัดแสดงและการจัดองค์ประกอบสร้างเสริมการก่อเกิดห้วงความสนใจ ห้วงความสงบศานติ ก่อเกิดกระบวนการภาวนา ใคร่ครวญ สนทนาภายใน สังเคราะห์เรียบเรียงระบบข้อมูล มวลประสบการณ์ และมวลควาหมายหยั่งรู้ ภายในปัจเจก ชุมชน กลุ่มองค์กร และภายในสังคม ก่อนเสริมพลังการสะท้อนสู่การสร้างสรรค์ความเคลื่อนไหว  งอกงาม ของปัญญาปฏิบัติ บนกิจกรรมชีวิตและมีนัยสำคัญต่อระบบปัญญา สื่อ การสื่อสาร เสริมพลังพหุปัญญาสังคมจากภูมิชีวิต
  • การพัฒนาการสื่อสาร การเรียนรู้มวลชน เสริมพลังกระบวนการตื่นตัว งอกงามทางจิตวิญญาณ สะท้อนกระบวนการมุ่งศานติ สะอาด บริสุทธิ์ ลดการเบียดเบียน ไร้โทษภัยคุกคามต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และธรรมชาติ จากภายใน

การประยุกต์ใช้ : 

(1) การวิพากษ์พัฒนาการสื่อสารเรียนรู้ (2) การพัฒนาระบบวิธีคิดและแนวปฏิบัติการเชิงนโยบายระดับผู้นำเชิงปัญญา (3) การพัฒนาประเด็นและโจทย์การวิจัยจากฐานความเป็นจริงปฏิบัติ พหุระดับ ระดับบุคคล กลุ่มและองค์กร ชุมชน เครือข่าย และระบบความเชื่อมโยงหลากหลาย (4) การพัฒนานักวิจัย ผู้นำเชิงปฏิบัติการ ผู้นำเชิงเกื้อหนุนกระบวนการเรียนรู้ (5) การออกแบบและปฏิรูปวงจรสื่อสารเรียนรู้ในเครื่องมือเชิงกระบวนการจัดการความรู้ (6) การพัฒนาการวิจัยบูรณาการและยกระดับประเด็นการมีส่วนร่วมให้ก่อเกิดมณฑลส่วนรวมเหนือกรอบจำกัดส่วนย่อย (7) การถอดบทเรียนเสริมพลังการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์วิพากษ์พหุปัญญา (8) การพัฒนาวิธีเรียนรู้ อ่าน วิเคราะห์ สังเคราะห์ ศึกษาปรากฏการณ์ (9) การพัฒนาศิลปะและกระบวนการทางการศึกษา ศิลปวิทยวัฒนธรรมวิวัฒน์ พัฒนาการเรียนรู้มวลชน เสริมพลังปัญญาปฏิบัติบนความเป็นจริงรอบด้าน เพื่อพื้นฐานของสังคมร่วมสมัยสู่อนาคตที่ยั่งยืน (10) การพัฒนามิติการกระจายตัวและกระจายโอกาสก่อเกิดการพัฒนาบนฐานตนเองไร้ขีดจำกัดสู่ทุกพื้นถิ่นและบริบทแวดล้อม  (11) การสร้าง Local Content พัฒนาบทเรียนเชิงประสบการณ์และระบบพหุปัญญามุขปาฐะของสังคมไทยและสังคมพัฒนาทีหลังประเทศก้าวหน้า สู่ระบบภูมิปัญญาและฐานข้อมูลเชิงประจักษ์บูรณาการวิทยาการสมัยใหม่ (12) การถอดบทเรียนเสริมพลังและพัฒนาพหุลักษณ์ข้อมูลเพื่อยกระดับแผนเชิงยุทธศาสตร์สุขภาวะสังคมจากฐานรากและยึดโยงภูมิชีวิต

Key Word และงานเชิงทฤษฎีแนะนำ : ทฤษฎีฐานราก การวิจัยเชิงปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม ศิลปะและสื่อในฐานะกระบวนการวิจัยและกระบวนการทางการศึกษา Reflexive Methodology Research / การวิเคราะห์พหุเชิงคุณภาพ / กระบวนการเทีเชิงปฏิบัติการวิจัยพัฒนากระบวนการศึกษาและสื่อสาร / ทฤษฎีวิพากษ์ / ทฤษฎีเชิงสะท้อนคิดระบบ / ทฤษฎีเชิงวิพากษ์สัญญวิทยา / ทฤษฎีการศึกษาเชิงประสบการณ์ / ปรัชญามนุษยนิยมเชิงสารัตถะวิพากษ์ / กระบวนคิดเชิงระบบพหุปัจจัยสัมพันธ์ในงานนิพนธ์พุทธธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารยฺ (ป.ปยุตโต)  

กรณีตัวอย่างเพื่อถอดบทเรียนเสริมพลัง
พัฒนาการศึกษาเรียนรู้ พัฒนาพหุปัจจัยการบกระดับ
ตามบริบทจำเพาะและฐานพหุปัญญาของตน :

เครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมประชาคมกาญจนบุรีจัดการประเด็นร่วมท้องถิ่น / กระบวนการกรณีศึกษาชุมชนชาวนาบัว พัฒนากรอบการศึกษาและวิเคราะห์สภาวการณ์จากฐานราก ประชาคมเรียนรู้สร้างสุขภาวะท้องถิ่น University-Community Engagement อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม / หลักสูตรพัฒนาเครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติการ CO-PAR ฝ่ายเผยแพร่และพัฒนาสื่อสาธารณสุข สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล / เครือข่ายกลุ่มประชาคมสุขภาพ 17 เทศบาลพัฒนาโมเดลปฏิบัติการเชิงรุกสุขศึกษาชุมชน สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล / การพัฒนาทีมและระบบปฏิบัติการชุมชน CoP พัฒนาการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วมสหวิทยาการและพหุสาขาวิชาชีพ การพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐาน เครือข่ายมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาไทย / การพัฒนาโมเดล GGM : Grass Green Move บูรณาการและผสานพหุภาคส่วน University-Multi-Professional Community-Co-Education Engagement และจัดแสดงมหรสพการศึกษา GGM ครั้งที่ 1 ประเทศไทยและนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี 2561 / ‘เมืองคาวบอย’ การพัฒนารูปแบบเชิงปฏิบัติการและสื่อสิ่งแสดงบูรณาการฐานรากพหุปัญญาวิทยาการเกษตร ในงานเกษตรแห่งชาติ 90 ปีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ลานเสริมพลังจัดการองค์ประกอบศิลปะสุนทรียพลานามัย สู่สุขภาวะเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมฐานสุนทรียพลานามัย การนัดหนองสะเรียม อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ / ชุดโครงการศิลปะสุนทรียปัญญา พัฒนาวงจรถอดบทเรียนและยกระดับพลวัตการจัดการ แนวคิด องค์ประกอบ มิติสุนทรียพลานามัย สุนทรียปัญญาวิจัย สุขภาวะมูลฐาน สุขภาวะนิเวศ วิธีวิทยาเชิงปฏิบัติการพหุปัญญา เวชนิทัศน์ศิลปกรรม เวชศิลปกรรม จากฐานประสบการณ์เชิงประจักษ์และสิ่งรองรับที่มีอยู่จริงเป้นพื้นฐานในรอบ 100 ปีของสังคมไทย

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท