"ประเพณีบุญบั้งไฟ "


   "ประเพณีบุญบั้งไฟ ของคนอีสาน"   

  เป็นวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีต่อประเพณีบั้งไฟของคนอีสาน ที่เรียกว่า “บุญบั้งไฟ”หรือ“บุญเดือนหก” ซึ่งสรุปได้ 2 ประการคือ 

   1) เป็นเดือนที่เป็นวันคล้ายวัน “ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน”ของพุทธเจ้า องค์ประกอบหลักในบุญเดือนหกนี้ จึงเกี่ยวข้องอยู่กับพระพุทธศาสนา “บั้งไฟ” คือความดีเชิงอุปกรณ์ที่ชาวพุทธใช้บูชาคุณของพระพุทธเจ้า ดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมอีสานเรื่อง“ผาแดง–นางไอ่” ที่ได้ปรากฏกำหนดการจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และเรื่อง“พญาคันคาก ” ที่ปรากฏว่าเป็นตำนานชาดกอีสานที่เล่าถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ 

   2) เป็นช่วงที่ชาวอีสานกำลัง จะะเข้าสู่ฤดูลงนา และเลยเดือนหกไปคือเดือนเจ็ดก็เป็นเดือนที่ชาวอีสานจะต้องเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ตา เพราะความที่ชาวอีสานเคยนับถือลัทธิถือผี ได้แก่  “ลัทธิผีแถน”มาก่อนนั้น การบูชาผีด้วยบั้งไฟก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ “ไฟ” คือวัตถุที่ใช้เป็นองค์ประกอบของเครื่องบวงสรวง บูชา ที่เรียกว่า “อามิสทาน” มีดอกไม้ ธูปเทียน ของหอม และน้ำมัน เป็นต้น       - ความเชื่อลัทธิถือผีในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา จึงมีความสัมพันธ์กันบนพื้นฐานธรรมชาติเรื่องน้ำฝน จนก่อให้เกิดพิธีกรรมและกิจกรรมบุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟตามความเข้าใจของคนอีสานจึงหมายถึง ดอกไม้ไฟที่มีขนาด สัดส่วนตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน ทั้งจุดขึ้นฟ้าและจุดให้เสียงดัง เป็นต้น 

   ด้วยเหตุนี้ จึงมีพิธีบูชาแถนเพราะเป็นการแสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณไปยังแถน และมีบทบาทต่อวิถีชีวิตแบบผสมผสานของการบรวงสรวงแถน และบูชาคุณของพระพุทธเจ้าในที่สุด"

“บรรยากาศ ขบวนแห่บั้งไฟ”(ระดับหมู่บ้าน)

“บรรยากาศ..ความพร้อมใจกัน ของชาวบ้าน”

  ชาวบ้าน ได้พากันออกมาเล่นสนุกสนาน เล่นโคลนตม (ไม่ว่าจะเป็นเด็กและผู้ใหญ่) ภายใน"งานจุดบั้งไฟขอฝน บูชาพญาแถน"(ตามความเชื่อ) .

หมายเลขบันทึก: 718318เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2024 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2024 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท