[บันทึกที่ 8] จากภาพวาดลายเส้น (Zentangle) สู่ Learning Style และการต่อยอดการเรียนรู้


วันนี้ในห้องเรียน Zentangle ของครูยงยศเราวาดภาพลายเส้นง่าย ๆ 3 ลาย คือ Slooploop Tamis Star และ Zen wheel และนำมาประกอบกัน เป็นการวาด 3 ลายเส้นที่เราวาดไปสนุกไป บันเทิงกับความพริ้วไหวของลายเส้น เพลิดเพลินกับการใส่ลวดลายต่าง ๆ ลงในภาพ ได้เปลี่ยนมุมมองและต่อยอดจากสิ่งที่ "เคยคิด" ว่า "ไม่สวย" ให้กลายเป็นสิ่งที่เรา "พอใจ" ได้ Happy มาก ๆ เลย

ในช่วง Shared เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในขณะที่วาดภาพ เชื่อมโยงกับสภาวะภายใน และเรื่องราวสดใหม่ที่นึกถึง ณ ขณะนั้น ประเด็นหนึ่งที่สะดุดใจเราก็คือเรื่อง Learning Style หรือรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนว่า “ถ้าคุณครูสามารถสังเกตเห็นรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนได้ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบการสอนที่ครอบคลุมมากขึ้น (ซึ่งแน่นอนมันไม่ได้ทั้ง 100 % แน่ ๆ) ก็ช่วยให้ห้องเรียนกลายเป็นพื้นที่ที่สนุกได้มากขึ้น เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม”

เมื่อจบวงเรื่องราวเหล่านี้ยังคงวนเวียนอยู่ในหีวของเรา และมันเกิดแว้บขึ้นมาว่า... รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแม้จะเป็นคนคนเดียวกัน แต่เรียนคนละวิชาเขาก็อาจจะมีวิชาการเรียนรู้ที่ต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ตัวเราเองที่เรียนวาดลายเส้นกับครูยง บางเราต้องวาดตามครูยงแบบขั้นต่อขั้นถึงจะทำได้ บางรายเราต้องดูภาพรวมทั้งหมดก็แล้วค่อยวาด หรือบางลายเราอาจจะต้องให้ครูช่วยจับมือวาดก็ได้ เด็ก ๆ เองก็ไม่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งในวิชาเดียวกัน แต่เรื่องที่เรียนต่างกันรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กก็อาจจะต่างออกไป ทั้งนี้คำถามสำคัญคือ "ครูผู้สอนสังเกตสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า ?" ถ้าเห็น... มีวิธีการออกแบบและจัดการการเรียนรู้ต่อไปอย่างไร ถ้าไม่เห็น... อะไรที่จะช่วยให้คุณครูสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น นี่คือคำถามสำคัญที่เรา

อีกหนึ่งอย่างที่เชื่อมโยงกับเรื่องรูปแบบการเรียนรู้คือ... เรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้และส่งผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของเด็ก ๆ อย่างมาก ขณะเดียวกันก็ส่งผลกับครูผู้สอนไม่น้อย ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้กลับมาสังเกตเห็นสภาวะอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้ ในปัจจุบันหลายคนพูดถึงเรื่องการ Check-in สำหรับเราก็เห็นด้วยว่าสิ่งนี้จำเป็นและช่วยให้การเรียนรู้เกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น เพียงแต่วิ่งที่น่าสังเกตต่อมาคือ "เรา Check-in ด้วยท่าทีแบบไหน" เพราะหลายครั้งที่แม้ต่อตัวเราเอง (ผู้เขียน) ก็พลาดเรื่องง่าย ๆ แบบนี้คือเรา Check-in เพราะรู้ว่าต้องทำ เมื่อทำด้วยความรู้สึกแบบนี้ก็มักจะทำแบบส่ง ๆ ให้จบ ๆ ไป ผลลัพธ์ไม่ได้อะไร

แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่... ถ้าเราชวนให้ทั้งตัวเราและเด็ก ๆ ได้กลับมา Check-in ด้วยความใส่ใจท่าทีของเราและวิธีการในการเชิญชวน Check-in ก็จะเปลี่ยนไป เราจะให้ความสนใจและใส่ใจว่าการ Check-in คือการที่เราได้ค่อย ๆ ชวนตัวเองและเด็ก ๆ วางเรื่องอื่น ๆ ลงนำพาพวกเรากลับมาสู่ห้องเรียนห้องนี้ด้วยกัน ตั้งคำถามง่ายเพื่อสร้างการเชื่อมโยงให้ได้รับรู้สภาวะในกันและกัน และค่อย ๆ เจรียมความพร้อมเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนการทำแบบนี้นอกจากเป็นนำเข้าสู่บทเรียนแล้ว ยังเป็นการค่อย ๆ เสกสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียน ปรับอุณหภูมิ อารมณ์และความรู้สึกของทั้งผู้สอนและผู้เรียน พร้อมทั้งเป็นการปรับจูนเข้าหากันและกันก่อนทำการเรียนรู้ได้ด้วย

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่เทคนิคหรือวิธีการ แต่มันอยู่สภาวะภายในของคุณครูแต่ละคนที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ และยิ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย หากคุณครูเติมทักษะการสังเกตและดูแลสภาวะภายในของตัวเองได้ ผมว่ามันมีส่วนมาก ๆ ที่จะช่วยสร้างห้องเรียนหรือพื้นที่การเรียนรู้ให้สนุกมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 717860เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2024 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2024 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท