สรุปความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์


สรุปความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์


สวัสดีค่ะ ดิฉันฮูดาซามีลา ดาโอ๊ะ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

     วันที่ 5 มีนาคม 2567 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มานำเสนออุปกรณ์ช่วยที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาของรายวิชา PTOT 366 และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ผู้สอน นักกิจกรรมประจำศูนย์อุปกรณ์ช่วย และเพื่อนนักศึกษา รวมถึงได้ศึกษาอุปกรณ์ช่วยมากมายที่อยู่ในสถาบันสิรินธร

     ในช่วงเช้าถึงเที่ยง นักศึกษาได้นำเสนออุปกรณ์ช่วยที่ทางกลุ่มของตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้นมา ในส่วนของกลุ่มดิฉัน คือ อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า No more drop!! Holding aids ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายเครื่องครัว ทำจากเทอร์โมพลาสติกอีลาสโตเมอร์ มีการใช้ความแข็งแรงของปลายแขนในการจับเครื่องครัว มีตะขอสำหรับแขวนถุง และอุปกรณ์ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยกระจายน้ำหนักของเครื่องครัวทั่วทั้งปลายแขน โดยมีการใส่ cushion pad เพื่อลดแรงกด อุปกรณ์นี้ตอบโจทย์สำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหาเรื่องข้อ เช่น รูมาตอยด์ ผู้รับบริการ SCI ระดับ C5 C6 เพื่อที่จะสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องครัวได้ อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสงวนพลังงานได้ (Energy conservation)



     หลังจากนำเสนออาจารย์ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะถึงการพัฒนาต่อยอดของอุปกรณ์ได้ เช่น ตัวตะขอเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการรับน้ำหนักมากขึ้น วัสดุที่ใช้ในการทำสามารถเปลี่ยนเป็นท่อ PVC เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความแข็งแรงของอุปกรณ์ได้ด้วย แต่อาจมีความยากลำบากในการหล่อมันขึ้นมาให้เป็นทรง

     สำหรับช่วงบ่ายเป็นช่วงของการเรียนรู้อุปกรณ์ช่วยในสถาบันสิรินธร โดยนักกิจกรรมบำบัดที่ศูนย์อุปกรณ์เครื่องช่วย ในสถาบัน ดังนี้
* Standard wheelchair 
* Motor wheelchair จะมี 2 ประเภท ล้อหน้าใหญ่สำหรับกิจกรรม outdoor ล้อหน้าเล็กสำหรับกิจกรรม indoor อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับผู้รับบริการ paraplegic, tetraplegia, stroke แต่ต้องระวังหรือไม่ควรใช้ในผู้รับบริการที่มีปัญหาสายตา(unilateral neglect), cognitive, environment ที่ไม่เอื้อ
* Standing wheelchair สำหรับผู้รับบริการ SCI tetraplegia ผู้รับบริการที่เสี่ยงกระดูกพรุน ไม่แนะนำสำหรับผู้รับบริการที่มี contracture ที่เท้า/เข่า 
* Tilt in space 
* Hoist เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลได้ เหมาะสำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหา trunk control

คาบนี้เป็นคาบสุดท้ายของรายวิชา PTOT 366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับนัก กิจกรรมบําบัด พวกเราจะเอาความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคาบนี้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกงานและการทำงานในฐานะนักกิจกรรมบำบัดต่อไปในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 717597เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2024 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2024 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท