สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ในรายวิชา PTOT366


การศึกษาดูงาน ณ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

ในรายวิชา PTOT366

 

ความรู้สึกต่อการไปดูงาน

รู้สึกถึงความแตกต่างทางการเรียนการสอนที่มีคำกล่าวว่า “เด็กมหิดลเป็นแบบนี้เองหรอ” ทำให้น่าคิดต่อถึงความแตกต่าง และข้อดีข้อเสียด้านสื่อการเรียนการสอน……รู้สึกถึงการทำงานที่เป็นระบบ มีการส่งต่อประสานงานกับ ทีมสหวิชาชีพ เพื่อการได้มาซึ่งอุปกรณ์ช่วย ให้มีประสทิธิภาพมากที่สุดสำหรับคนไทย รู้สึกว่าแอร์เย็นมาก ไม่ร้อนเลย และมีที่ทานข้าวจำกัด

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

แนวทางการขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูง

เกณฑ์ของผู้ป่วยเพื่อขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูง 

1. คนพิการที่มีสิทธิรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูง ต้องขึ้นทะเบียนคนพิการ และมีบัตร ประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น

 2. คนพิการได้รับการพิจารณาให้อุปกรณ์แต่ละรายการ ตามข้อบ่งชี้ที่กำหนด* 

3. คนพิการต้องไม่ได้รับอุปกรณ์ชนิดที่ซ้ำจากกองทุนอื่นหรือสิทธิอื่นจากหน่วยงานอื่นใด เช่น กองทุนค่า อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน

หมวดที่ 1 หมวดกายอุปกรณ์ 

- รายการ แขนเทียมไฟฟ้าชนิดมือควบคุม 2 ช่องทาง (Transradial prosthesis with myoelectric hand) และ ข้อเข่าไฮโดริค (Hydraulic knee) ต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีทีมประเมิน ได้แก่ แพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูและ นักกายอุปกรณ์ หรือ ช่างกายอุปกรณ์ และเป็นรพ.ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในระดับ A/S และ รพ.ในสังกัดมหาวิทยาลัย 

 

หมวดที่ 2 หมวดรถนั่งคนพิการ 

- รายการ รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ แบบเคลื่อนที่ได้โดยระบบไฟฟ้า (Basic motorized wheelchair) รถนั่งคนพิการแบบเคลื่อนที่ได้โดยระบบไฟฟ้า ชนิดปรับเอนนอนได้ (Reclining motorized wheelchair) ต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีทีมประเมิน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและ นักกายภาพบ าบัด และเป็นรพ.ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข ในระดับ A/S หรือ รพ.ในสังกัดมหาวิทยาลัย หรือ รพ.ที่เป็นสถานพยาบาลเครือข่าย (Node) ของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ 

 

หมวดที่ 3 หมวดอุปกรณ์ทางการเห็น ทุกรายการต้องมีจักษุแพทย์เป็นผู้ประเมิน

 

หมวดที่ 4 หมวดสื่อส่งเสริมพัฒนาการ สถานพยาบาลที่ขอรับต้องมีบุคลากรที่ผ่านการอบรมการใช้งานที่ ได้รับการรับรองมาตราฐาน 

 

หมวดที่ 5 หมวดอุปกรณ์ช่วยการเดิน ตามข้อบ่งชี้อุปกรณ์นั้นๆ 

 

หมวดที่ 6 หมวดอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้อุปกรณ์นั้นๆ

 

อ้างอิงจาก : https://www.snmri.go.th/excellent-equipment/

 

ตัวอย่างหลักการพิจารณาเบื้องต้นสำหรับ motor wheelcahir

  • ผู้รับบริการไม่สามารถใช้รถเข็นคนพิการปกติได้ หรือเข็นได้น้อยกว่า 10 เมตร
  • ผู้รับบริการไม่มีปัญหา Cognition หรือ Visual
  • ผู้รับบริการมีโรคร่วมที่ควรพิจารณา เช่น โรคหัวใจ, โรคไต, SLE
  • คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และการใช้งานเป็นสำคัญ

 

การมีรถนั่งขนพิการที่สามารถปรับ Tilt-in-space ได้จะช่วยลด muscle tone ให้เด็กกลุ่ม CP ได้ เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Hip angle ที่ keep ไว้ที่ 90 องศา รวมถึงมุมของข้อเข่าและเท้าที่งอ 90 องศานั้นเอง ในทางกลับกันหากผู้ใช้งานปรับเฉพาะตัวผนักผิงแบบ Recline จะส่งผลตรงกันข้ามคือ การกระตุ้น Muscle tone โดยแรงโน้มถ่วงของโลก กลุ่ม Spasctic จะยิ่งมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจนทำให้ Posture เด็กโค้งงอคล้ายกุ้งได้นั้นเอง

 

Standing wheelchair

ข้อควรพิจารณาคือ น้ำหนักและส่วนสูงเป็นสำคัญ * 

ข้อควรระวังในกลุ่ม Postural hypotension, Ankle injury/deformity/pain

นวัตกรรมวีลแชร์ปรับยืนฝีมือคนไทย

วีลแชร์ ยืนได้ – รถเข็นที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย และผู้ใช้รถเข็น สามารถเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่งเป็นท่ายืนด้วยตัวเองได้ ( ใช้แรงแขนข้างละ 5 kg ) หรือ กรณีที่ผู้ใช้รถเข็นไม่มีแรงแขน (ผู้ดูแลสามารถช่วยปรับยืนได้ด้วยเช่นกัน)

โดย CMED Medical เป็นบริษัท Startup ที่ได้ร่วมในการพัฒนาจากงานวิจัย ไปสู่การใช้งานจริง

 

https://cmedmedical.com/product/standing-wheelchair/

 

สิ่งที่น่าสนใจและนำไปศึกษาต่อ…..จากผู้เขียน

Conceptual framework of assistive technology and occupational justice.

 

      

 

 

 

 

Article in Canadian Journal of Occupational Therapy · December 2012   Figure 2 - uploaded by C Douglas Simmons (Dec 2012)

 

ขอขอบคุณผู้อ่านบทความนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน

หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้

6423024 พีรพัฒน์ ห่านชัย 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 717552เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2024 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2024 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท