117 แนวทางการเขียนความสำคัญของปัญหาการวิจัย


เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจนสามารถสรุปได้ว่าอะไรที่เป็นปัญหาวิกฤติหรือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วนเพื่อนำมาสรุปเป็น “ปัญหาการวิจัย” (Research Problem หรือ Statement of the Problem) ถ้าปัญหาการวิจัยไม่ได้รับการแก้ไขจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไร มีผลกระทบต่อหน่วยงาน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์หรือผู้เกี่ยวข้องอย่างไร

ความสำคัญของปัญหาการวิจัยจะแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมีความรู้ ความเข้าในใจปัญหา อธิบายให้ได้ว่าทำไมปัญหาการวิจัยถึงมีความสำคัญและถ้าปัญหาไม่ได้รับแก้ไขจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไร

เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจนสามารถสรุปได้ว่าอะไรที่เป็นปัญหาวิกฤติหรือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วนเพื่อนำมาสรุปเป็น “ปัญหาการวิจัย” (Research Problem หรือ Statement of the Problem) ซึ่งปัญหาการวิจัยที่จะต้องได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาต้องสอดคล้องกับตัวแปรตามที่ปรากฏในชื่องานวิจัย จากนั้นก็เป็นการสร้างเหตุผลสนับสนุนให้เห็นถึงความสำคัญของโครงการวิจัย มีหลักในการเขียนความสำคัญของปัญหาการวิจัยไว้ดังนี้

  1. เขียนนำเพื่อให้เห็นความจำเป็น ความสำคัญและสภาพของปัญหาที่จะทำวิจัยว่าเรื่องที่ทำสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี กลยุทธ์ศาสตร์ขององค์การหรือไม่
  2. ถ้าปัญหาการวิจัย (Research Problem หรือ Statement of the Problem) ดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไร มีผลกระทบต่อหน่วยงาน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์หรือผู้เกี่ยวข้องอย่างไร แนวทางการเขียนอาจใช้ความคิดเห็นของผู้วิจัยก่อนแล้วนำแนวคิดของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นมาให้การสนับสนุนยืนยันก็ทำให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
  3. การเขียนความสั้น กะชับ ชัดเจนและใช้ข้อมูลอ้างอิงสนับสนุนถูกต้อง
  4. เขียนให้เข้าเป้า ตรงจุด เขียนให้เห็นถึงความสำคัญของตัวแปรตามว่าทำไมต้องการได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาและใช้วิธีอะไรในการแก้ปัญหา เมื่อแก้ปัญหาแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาอะไร
  5. ในส่วนท้ายของความสำคัญของปัญหาควรเขียนขมวดท้ายหรือสรุปเพื่อให้มีเชื่อมโยงกับ

หัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) หรือคำถามการวิจัย (Research Questions) ในลำดับต่อไปด้วย โดยชี้ให้เห็นว่าทำไมต้องนำกระบวนการหรือรูปแบบนั้น ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหา

 

 

 

 

 

ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเขียนความสำคัญของปัญหาคือส่วนใหญ่ไม่มีการเขียนความสำคัญของปัญหาไว้ในส่วนของปัญหาและความสำคัญของปัญหา หรือไม่ก็เขียนในลักษณะของประโยชน์ที่ได้รับ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 717490เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2024 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2024 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท