[บันทึกที่ 5] วิถีแห่ง Spiritual : จาก Spiritual Leader สู่ Spiritual Influencer ตามความคิดและมุมมองของฉัน


ตอนแรกว่าจะเขียนเล่น ๆ ลง Facebook ส่วนตัวไว้อย่างเดียว แต่พอยิ่งเขียนยิ่งมันเลยหยิบมาเขียนลงในบล็อกดีกว่าได้เขียนอะไรยาว ๆ ได้เต็มที่หน่อย 55555 (คนรอบตัวหลายคนแอบแซวว่า… เดี๋ยวนี้ Post อะไรสั้น ๆ ไม่เป็นแล้วดิ ต้องเขียนอะไรยาว ๆ เป็นเพราะอายุหรือเปล่านะ เราก็ตอบอย่างมั่นใจว่า… อื้ม… น่าจะใช่ 55555)

เมื่อนั่งไถ่ Feed Facebook แล้วไปสะดุดกับคำว่า “Spiritual Influencer” เห็นว่าน่าสนใจดีเลยหยิบคำนี้มาเป็นตัวตั้งตนในการเขียนและใคร่ครวญ จริง ๆ ก็พยายามเข้าไปหานิยามของคำว่า “Spiritual Influencer” ว่าในความหมายของเขาแปลว่าอะไร แต่อาจเป็นความตาถั่วของเราเองที่หายังไงก็ไม่เจอ แต่ไปเจอนิยามของคำนี้เวอร์ชั่ภาษาอังกฤษใน Linkin และคิดเอาว่าคงความหมายใกล้เคียงละมั้งเลยขออนุญาตนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นก่อนจะเขียนเล่าเรื่องราวต่อไป

ใน Linkin ให้ความหมายคำว่า “Spiritual Influencer” ไว้ว่า…
Spiritual influencers involve your purpose, beliefs, values, gifts, desires, and goals about what you specifically want to do and how you want to do it. These influencers detract from energy when whatever you are doing causes you to question, or come into conflict with, your values, purpose, goals, connections, and beliefs.

โดยสรุปคือ “Spiritual Influencer” คือ คนที่มาแนะให้คุณได้พบกับเป้าประสงค์, ความเชื่อ, ค่านิยม, พรสวรรค์, ความปรารถนา และเป้าหมายของตัวคุณเองว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการและอะไรเป็นสิ่งที่คุณควรจะทำ และพวกเขายังค่อยเสริมพลังใจให้กับคุณในยามเมื่อคุณพบเจอกับปัญหา ความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อให้คุณได้กลับมาเชื่อมโยงกับเป้าประสงค์, ความเชื่อ, ค่านิยม, พรสวรรค์, ความปรารถนา และเป้าหมายของตัวคุณอีกครั้ง

ขอย้ำอีกครั้งว่านี้คือคำนิยามภาษาอังกฤษที่เราได้มาจาก Linkin และการทำความเข้าใจผ่านการแปลภาษาอังกฤษอย่างกระท่อนกระแท่นของเราเอง ไม่ใช่ความหมายที่มาจากต้นทางจริง ๆ ผู้นำคำนี้มาใช้อาจมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่านี้ก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีเราก็เห็นว่าสิ่งนี้มันก็มีประโยชน์ต่อผู้คนนะ เพราะการที่เราช่วยใครคนหนึ่งให้เขานั้นสามารถกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเองและคนอื่นได้ เชื่อมโยงกับงาน และค้นพบเป้าประสงค์, ความเชื่อ, ค่านิยม, พรสวรรค์, ความปรารถนา และเป้าหมายของตัวเองได้นั้น มันก็ทำให้คนคนนั้นมีพลังแห่งชีวิตเพิ่มขึ้น และเป็นต้นทุนที่ดีแห่งการพัฒนาตนเองต่อเนื่องไป และเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ให้และผู้รับด้วย อันนี้ก็ขออนุโมทนาไว้ ณ ตรงนี้เลย

คราวนี้มาเข้าสู่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสะดุดใจและทำให้จุดประกายมาเขียนบล็อกในวันนี้ก็คือ หากเราลองนึกย้อนกลับซักในปี 2006 - 2010 เราจะได้ยินคำในลักษณะใกล้เคียงกันคือคำว่า “Spiritual Leader” หรือ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ซึ่งจริง ๆ คำคำนี้มีมานานกว่านั้นมา โดยแต่เก่าก่อนเราจะหมายถึงผู้ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน ผู้นำทางจิตใจให้ผู้ออกมาสร้างสิ่งดีงามที่เป็นประโยชน์ต่อโลกใบนี้ อย่างเช่น ท่านทะไลลามะ, ท่านมหาตมา คานธี, เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) เป็นต้น ต่อมาคำคำนี้เริ่มถูกนำใช้กับผู้คนที่นำเรื่องศาสนา ปรัชญา และความเชื่อต่าง ๆ มาใช้ในการทำงาน และมาถึงเหล่าบรรดานักพูดสร้างแรงบันดาลใจหลายคนที่มักนำเรื่องเหล่านี้มาออกมาพูดกันบางคนก็ถูกเรียกด้วยคำคำนี้เช่นกัน นี่คือภาพกว้าง ๆ ตามทัศนะของเราที่รู้จักกับคำคำนี้ และคำคำนี้ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจนกระทั่งโลกก้าวเข้าสู่ยุค Influencer ยุคผู้คนต่างออกมาสร้าง Content ในรูปแบบต่าง ๆ จนมีผู้ติดตามและมีชื่อเสียงในด้านนั้น ๆ และนี่เป็นประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของคำ 2 คำที่มีความใกล้เคียงกันในมุมมองของเรา

อะไรที่ทำให้เราสะดุดกับคำคำนี้ขึ้นมานะ ?
เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของคำและการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย การมีคำใหม่เกิดขึ้น การมีวิถีใหม่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่สิ่งที่น่าสนใจสนใจสำหรับเราคือวิถีความเป็นไปของปรากฏการณ์เหล่านี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และสิ่งเหล่านี้มีวิถีการดำเนินไปอย่างไรในอนาคต และสิ่งหนึ่งที่ผมเองได้เรียนรู้มาอย่างเข้มข้นในช่วงระยะเวลา 1 - 2 ปีที่ผ่านมานี้คือ “เมื่อเรานิยามตัวเองด้วยคำใดคำหนึ่ง คำนั้นจะเริ่มสร้างกรอบความคิด มุมมอง และแนวทางบางอย่างให้กับเราทีละเล็กทีน้อย และหากเราดำเนินทางไปตามกรอบนั้นอย่างไม่รู้เท่าทัน กรอบความคิดและแนวทางนั้นจะกลืนกินและจำกัดความเป็นเราไปอย่างไม่รู้ตัว” นี่แหละคือสิ่งที่เราเฝ้าดูและสังเกต ไม่เฉพาะแต่ผู้ใช้คำคำนี้นะ แม้แต่เราเองที่หลัง ๆ ก็นิยามตัวเองด้วยคำว่า “Buddy” หรือ “เพื่อนร่วมทาง” เราก็สังเกตตัวเองไปด้วยว่า “เรากำลังจำกัดกรอบตัวเองอยู่หรือเปล่า” 

และเมื่อพูดถึงคำว่า “จิตวิญญาณ (Spiritual)” สำหรับเราแล้วคำคำนี้มันมีหลายแง่มุมและหลายมิติที่เราจำเป็นที่จะต้องใคร่ครวญกับมันอย่างลึกซึ้ง เพราะคำคำนี้มันไม่ได้มีความแค่ตัวเราเท่านั้น หากเราได้อ่านหนังสือสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ เขียนโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านจะกล่าวถึง 3 แดนที่มีอยู่ในชีวิตของเราอันได้แก่แดนความสัมพันธ์ แดนแห่งจิต และแดนแห่งปัญญา ซึ่งเมื่อดูจากตรงนี้แล้วทำให้เห็นได้ชัดว่า “คำว่า ‘จิตวิญญาณ (Spiritual)’ นั้น เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งและจำเป็นที่ต้องฝึกฝน ใคร่ครวญ และพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง” คำถามสำคัญคือ… เราจะทำอย่างไรให้เราสามารถที่จะฝึกฝนและปฏิบัติวิถีนี้ได้อย่างมีคุณภาพและลึกซึ้งมากพอ และอีกประการที่สำคัญคือ… การฝึกฝนทางจิตวิญญาณ (Spiritual) จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตร หรือเพื่อนร่วมเดินทางด้วย แม้คุณจะเป็นสายไหนอย่างไร การได้มีกัลยาณมิตร การได้กลับมารวมกลุ่มบ้างเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเสมอ ดังหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “ปรโตโฆสะ” นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่เราสนใจในเรื่องนี้คือ… เมื่อพูดถึงเรื่องการฝึกฝนทางจิตวิญญาณแล้ว การฝึกฝนแบบนี้มันไม่มีการประเมินวัดผลเหมือนการฝึกฝนในทักษะอื่น ๆ หรือบางครั้งอาจจะไม่สามารถที่จะบอกด้ด้วยซ้ำว่าอะไรเป็นเรื่องพื้นฐานหรือขั้นสูง เพราะในเรื่องระดับเหล่านี้สำหรับบางคนเขาอาจมีพื้นฐานแบบหนึ่ง แต่ขาดแบบหนึ่ง และก็ไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคลด้วย ตัวอย่างเช่น นายเอ มีพื้นฐานเรื่องการฟังที่ดี อันเนื่องมาจากนายเอเป็นคนที่มีความจดจ่อและโอบอ้อมเป็นทุน ขณะที่นายบี มีพื้นฐานการฟังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่เป็นที่สามารถมองเห็นบางจุดที่น่าสนใจได้อย่างชัดเจน นั้นอาจเพราะนายบีเป็นคนมีพื้นฐานเรื่องการมองภาพกว้างและการจับประเด็นที่ดีก็ได้ นี่แหละคือความท้าทายในเรื่องการฝึกฝนสิ่งเหล่านี้เพราะแต่ละคนมีคุณสมบัติและความพร้อมที่แต่ต่างกัน และนั้นจึงทำให้วิธีการฝึกฝนของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไปตามจริตของตน รวมไปถึงการประเมินวัดผลทางจิตวิญญาณนั้นก็ไม่ได้การประเมินเป็นเกรด หรือ ผ่าน/ไม่ผ่าน แต่มันถูกประเมินด้วยความรู้สึกเปิดรับและเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่เฉพาะตัวมาก ๆ มันไม่มีตัวชี้วัดอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา นี่แหละคือความท้าทายของเรื่องนี้

พอเขียนถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่มันปรากฏขึ้นมาและรู้สึกว่าน่าสนใจก็คือ… เมื่อเราค่อย ๆ ฝึกฝนบางเรื่องบางอย่างความเป็น Influence มันก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นตามโดยธรรมชาติ เมื่อรายปีก่อนเรามีอาการแพ้อากาศอย่างหนักมาก หนักแบบกินยาอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น อากาศเปลี่ยนนิดหน่อยเดี๋ยวจาม เดี๋ยวหวัด หนัก ๆ ก็เป็นไข้ขึ้นมาซะดื้อเลย จนกระทั่งได้ไปเรียนรู้กับแม่ใหญ่ (อาจารย์ของเราท่านหนึ่ง) เราได้เรียนรู้เรื่องการหายใจและการปรับเปลี่ยนการกินอาหาร และนำวิธีการเหล่านั้นมาฝึกอย่างต่อเนื่องทำให้อาการแพ้อากาศของเราลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อเกิดสิ่งนี้คนรอบตัวทั้งแม่ พี่สาว (ลูกพี่ลูกน้อง) หรือญาติก็เข้ามาถามเราว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมช่วงนี้อาการแพ้อากาศของเราค่อย ๆ ลดลง และเมื่อเราบอกเล่าก็เกิดคนติดตาม และเมื่อได้เล่าบ่อย ๆ ได้ใคร่ครวญกับเรื่องราวก็พบความน่าสนใจที่ลึกลงไปเรื่อย ๆ ได้สังเกตมากขึ้น เรียนรู้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นี่เป็นวิถี Influencer ตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้วหรือเปล่า (นอกเรื่องนิดหนึ่งเขียนเรื่องเพื่อบอกตัวเองให้กลับไปอยู่ในวิถีนั้นด้วยนะ 55555) 

เราฝึกฝนเรื่องราวทางจิตวิญญาณเหล่านี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต คุณภาพแห่งจิต และคุณภาพในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งเราได้เดินทางสู่อิสรภาพทางจิตวิญญาณที่แท้จริง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเรียกตัวเองว่าอย่างไรก็ตามการฝึกฝนและบ่มเพาะตัวเองตัววิถีทางต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องเรียนรู้ ดูแล จัดการ และรับมือให้ทันกับทั้งความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์ในแต่ละขณะ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ และเมื่อเกิดความผิดพลาดก็พร้อมให้อภัยตนเองและเริ่มต้นใหม่ได้ นี่อาจจะเป็นคุณสมบัติแรก ๆ ที่ผู้เรียนรู้และเดินทางสายนี้จำเป็นต้องมีก็ได้

และไม่ว่าจะเราจะนิยามตัวเองอย่างไรก็ตามการได้กลับมาทบทวน ใคร่ครวญ วิถีการเดินทาง และคำนิยามของตัวเราแต่ละขณะนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพราะมันทำให้เราได้มองเห็นบทเรียนบางอย่างที่สำคัญจากเรื่องราวที่ผ่านมา การมีกัลยาณมิตรเป็นเรื่องสำคัญ เราจำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรภายในตน และกัลยาณมิตรที่เป็นบุคคล เป็นเพื่อนร่วมทาง เพราะพวกเขา คือ กระจกที่ค่อยส่องสะท้อนบางสิ่งให้เราเรียนรู้และเห็นตัวเองได้เห็นเจนมากขึ้น การทำงานและเรียนรู้กับเรื่องทางจิตวิญญาณไม่อาจแยกขาดจากเรื่องการทำหน้าที่และชีวิตชีวิตปกติ ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม” ดังนั้นการฝึกฝนวิถีทางจิตวิญญาณจึงอยู่ในงานและวิถีชีวิตของเราด้วย ขอเพียงเราทำงานและใช้ชีวิตอยู่รู้ตัว รู้ทัน และสังเกตมันอยู่เรื่อย ๆ และเมื่อมีเวลาการได้กลับมาทบทวนและใคร่ครวญซ้ำ เพื่อยกประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้นมาเป็นการเรียนรู้สำคัญได้ก็ยังช่วยให้ชีวิตเราได้พัฒนามากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิญญาณ (Spiritual)
หมายเลขบันทึก: 717417เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2024 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2024 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมชอบในส่ิ่งที่นำเสนอทั้งในเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆ แต่สำหรับเรื่องนี้ ท่ี่มีความรู้สึกแตกต่างแค่ในคำว่า buddy คำเดียวจริงๆ เพราะคิดว่า เวลาผมจะไปบอกเขาว่า ผมเป็น buddy ของเพื่อนคนหนึ่ง ผมจะรู้สึกว่า ไม่ใช่ผมท่ี่จะเป็นฝ่ายพูด ว่าฉันเป้นบั้ดดี้ของคุณ แต่หากน่าจะเป็นคุณค่าที่เขาจะเป็นผู้รู้สึกว่าเราเป็นเช่นนั้นมากกว่าครับ อย่างนี้จะถูกต้องไหมครับ…วิโรจน์ ครับ

ที่ผมใช้คำว่า “Buddy” ในการนิยามตัวเอง มันมาจากการที่ผมได้สำรวจค่านิยมส่วนตัว (Personal Values) หรือสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมาก ๆ มีเรื่องอะไรบ้าง และอะไรเป็นความเชื่อหลัก ๆ (Core Belief) ที่อยู่เบื้องหลัง Personal Values เหล่านั้นคืออะไร ? เมื่อผมพบเจอทั้งสองส่วนแล้ว ผมก็ลองหาคำนิยามง่าย ๆ ที่ใช้บอกกับตัวเองในการทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งแต่ละคนอาจจะค้นพบคำอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน หรือพบคำเดียวกันแต่รู้สึกคนละแบบ หรือให้ความหมายคนละอย่างกับผมก็ได้ซึ่งไม่ได้ผิดหรือถูก เพราะคือการค้นพบของแต่ละบุคคล สิ่งที่ผมให้ข้อสังเกตต่อคือเมื่อเรานิยามตัวเองว่าเป็นอย่างไรก็ตาม เราถูกจำกัดกรอบด้วยคำคำนั้นมากเกินไปไหม หรือคำคำนั้นมันกว้างเกินไปสำหรับเราจนยากจะยึดเกาะหรือเปล่าอันนี้คือสิ่งที่เองค่อยสังเกต และทบทวนอยู่บ่อย ๆ ครับ… ขอบคุณคุณวิโรจน์ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันนะครับ และขอโทษด้วที่ตอบช้าไปมาก ๆ เพราะผมไม่ชำนาญกับการใช้ Gotoknow เท่าไหร่ และพึ่งรู้วิธีการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ตอบข้อความ (Comment) วันนี้เองครับ ต้องขอโทษจริง ๆ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท