สรุปการศึกษาดูงานดูงาน เรื่อง AT For hearing and communication


 

สรุปการศึกษาดูงานดูงาน เรื่อง AT For hearing and communication

สวัสดีค่ะ ดิฉันฮูดาซามีลา ดาโอ๊ะ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT 366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้เดินทางไปที่ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อศึกษาเรื่อง AT For hearing and communication บรรยายโดย นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ สมจิต รวมสุข

 

ความรู้สึกที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน

    ความรู้สึกที่ได้ไปศึกษาที่สถาบันสิรินธร รู้สึกดีใจและมีความสุขมากๆที่ได้ไปศึกษาในสถานที่ที่มีความพร้อมในด้านการให้บริการอุปกรณ์ช่วยแก่ผู้รับบริการ ทำให้นักศึกษาได้ดูอุปกรณ์ช่วยจริงๆ รู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์ผู้สอนมากๆที่สามารถบรรยายและให้เห็นภาพว่าในฐานะนักกิจกรรมบำบัดหรือในบทบาทนักแก้ไขการพูดเอง จะสามารถทำอะไรได้บ้างแก่ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร ถือเป็นการเรียนนอกสถานที่ที่มีความสุขอีกครั้งหนึ่ง และได้ไปดูสถานที่จริงๆที่พี่ๆทำงาน ต้องขอขอบคุณอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาที่พานักศึกษาได้มาเรียนและศึกษาดูงานในสถาบันสิรินธรแห่งนี้

 

ความรู้ที่ได้รับ

   สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้เกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วย (Assistive device) ต่างๆในผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทั้งด้านการได้ยินและการสื่อสาร มีตั้งแต่ อุปกรณ์ช่วย low technology เช่น บัตรการ์ดคำศัพท์ รูปภาพ หนังสือคำศัพท์ กระดานสื่อสาร (picture board) ไปจนถึง High technology เช่น application ต่างๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ที่ช่วยในการฟังต่างๆ ในราคาที่หลากหลาย ผู้สอนได้ให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลอุปกรณ์ช่วยเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการได้ และอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือสิทธิ์ต่างๆที่ผู้ที่มีความบกพร่องจะสามารถได้รับตามที่กฎหมายของประเทศไทยกำหนด เป็นสิ่งที่เรานักกิจกรรมบำบัดก็จะต้องรู้เช่นกัน

จะนำความรู้ไปต่อยอดทางกิจกรรมบำบัด

   จะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับงานทางกิจกรรมบำบัดดังนี้ เนื่องจากอาชีพนักกิจกรรมบำบัดไม่ได้มีเพียงแค่การให้การบำบัดรักษา ฟื้นฟูเพียงอย่างเดียว แต่เรายังมีหน้าที่ในการให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการอีกด้วย ดังนั้นในกรณีเคสที่มีปัญหาในด้านการสื่อสารและการได้ยิน โดยทั่วไปแล้วการให้การฟื้นฟูรักษาจะเป็นหน้าที่ของนักแก้ไขการพูดหรือนักแก้ไขการได้ยิน แต่ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดเราสามารถให้คำแนะนำในเรื่องของอุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารหรือการได้ยินได้ แนะนำการดูแลการรักษาอุปกรณ์ช่วย รวมถึงให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงสวัสดิการตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้อีกด้วย

 


 

หมายเลขบันทึก: 717220เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2024 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2024 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท