สรุปการเรียนรู้ Assistive Technology for Hearing and Communication @สถาบันสิรินธร


บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาบันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT 366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด (Assistive Technology for Occupational therapist) โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อศึกษาเรื่อง Assistive technology For hearing and communication บรรยายโดย นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายชำนาญการพิเศษ สมจิต รวมสุข

  1. ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้ รู้สึกประทับใจในการสอนของอาจารย์ผู้บรรยาย สามารถสอนให้นักศึกษาเข้าใจใน AT (Assistive technology) มากขึ้น โดยรูปแบบการสอนจะมีทั้งแบบสไลด์เนื้อหา และการได้เห็น และสัมผัสของจริงในอุปกรณ์บางชิ้น ในระหว่างการสอนอาจารย์มีการแทรกภาพประกอบของอุปกรณ์ชิ้นต่างๆสำหรับผู้รับบริการแต่ละประเภทที่เยอะและหลากหลาย ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพว่าอุปกรณ์ที่อาจารย์หมายถึงหรือกล่าวถึงคืออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร ใช้กับกลุ่มคนกลุ่มใด รวมถึงในคาบเรียนนี้นักศึกษารู้สึกเข้าใจและเห็นถึงบทบาทหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดในการใช้อุปกรณ์ช่วยมากขึ้น เข้าใจถึงความเกี่ยวข้อง ว่านักกิจกรรมบำบัดใช้ไปอุปกรณ์เหล่านี้เพื่ออะไร และอุปกรณ์แต่ละอย่างเหมาะสมกับผู้รับบริการแบบไหน

  2. สิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Assistive technology (AT) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้รับบริการที่เกิดพยาธิสภาพต่างๆ โดยในวันนี้นักศึกษาได้เรียนรู้ การใช้ AT สำหรับผู้ที่มีพยาธิสภาพในด้านการได้ยินและสื่อสาร หรืออีกอย่างโดยเข้าใจง่ายว่า “ผู้พิการทางการได้ยินและผู้พิการทางการสื่อสาร” ซึ่งอุปกรณ์ AT ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้พิการเหล่านี้ ได้แบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกคืออุปกรณ์ช่วยสำหรับการได้ยิน (Hearing aids) เช่น เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง ทั้งระบบดิจิตอลและระบบอนาล็อก เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู ซึ่งเป็นรุ่นนิยมสำหรับผู้รับบริการกลุ่มนี้ และเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู เป็นต้น แบบที่สองคืออุปกรณ์ช่วยสำหรับการสื่อสาร เช่น กระดานสื่อสาร, บัตรคำ, และเครื่องสื่อสารโดยใช้วิธีการอัดบันทึกเสียงแล้วเล่นเสียง เป็นต้น นอกจากนี้นักศึกษายังเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารทางเลือก หรือ ACC (Augumentative alternative communication) ซึ่งเป็นการสื่อสารทดแทนความสามารถในการสื่อสารที่เสียไป การสื่อสารทดแทนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ไม่มีเทคโนโลยี (No-tech), เทคโนโลยีต่ำ (Low-tech), และ เทคโนโลยีสูง (High-tech) ตามลำดับ ตัวอย่างสำหรับ No-tech เช่น ท่าทาง ภาษากาย การแสดงสีหน้าท่าทาง การกระพริบตา การใช่ภาษามือเป็นต้น ถ้าในกรณีเป็น Low-tech เช่น การใช้รูปภาพ(PECS) หนังสือ กระดาน เพื่อประกอบการสื่อสารให้เข้าใจขึ้น และในขั้นสูงสุดของเทคโนโลยีเผื่อการสื่อสารทดแทน เช่น การใช้ Application (POODDAI) หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น สิ่งสุดท้ายที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานที่สถาบันสิรินธร คือ นักศึกษาได้เรียนรู้และได้คิดออกแบบการให้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆกับเคสผู้รับบริการตัวอย่างจากอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดมาให้ ซึ่งการเรียนรู้นี้จะทำให้นักศึกษาสามารถต่อยอดนำวิธีการและรูปแบบของอุปกรณ์ที่ได้คิดค้นนั้น ไปพัฒนาต่อกับผู้รับบริการของนักศึกษาในอนาคตที่มีพยาธิสภาพคล้ายคลึงกับผู้รับบริการตัวอย่างที่นักศึกษาได้เจอ

  3. ความรู้ที่ได้จะนำไปพัฒนาต่อยอดทางกิจกรรมบำบัดอย่างไร? หลังจากที่นักศึกษาผ่านการศึกษาเรียนรู้ที่สถาบันสิริธร ได้รับความรู้มากมาย โดยความรู้ทั้งหมดที่ได้รับนี้ จะนำไปใช้กับผู้รับบริการจริงหลังจากที่นักศึกษาจบการศึกษา จะนำความรู้ไปออกแบบพัฒนา แนะนำ และใช้ในการรักษาผู้รับบริการแต่ละคนอย่างเหมาะสมต่อไป

พีระยุทธ สะอาดเอี่ยม นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 717212เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2024 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2024 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท